โดย :
นางสาวจริยาภรณ์ คำมุงคุณ
2017-03-31-13:18:15
image1

เมื่อระหว่างวันที่ 13 - 17 มีนาคม 2560 บ้านโปร่งสามัคคี ม.5 ต.โคกจาน อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ตามกระบวนการดังนี้                        

กระบวนการ/วิธีการ

๑) ปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบ จำนวน๑ คนเข้ารับการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

2) ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร“วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีก 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  รวม 5 คน

3) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

4) การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอาชีพโดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรกและจากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนจำนวน 20ครัวเรือน

5) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านทำการอบรมครัวเรือนเป้าหมาย  20  ครัวเรือนตามกรอบแนวทางของสัมมาชีพชุมชน  จำนวน  5  วัน

6) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านรวบรวมข้อมูล สอบถามอาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายต้องการ         

7) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ติดตามเยี่ยมเยียน และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และขึ้นทะเบียนกลุ่มอาชีพกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

1) คัดเลือกผู้นำสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย  20  ครัวเรือน

2) สร้างจิตสำนึกให้รักบ้านเกิด กระตุ้นการถ่ายทอดความรู้ของปราชญ์ชุมชนเหมือนระบบพี่สอนน้อง ให้ปราชญ์มีความมั่นใจในตนเองพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย 

3) ติดตามให้การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง

4) พัฒนากรเป็นเพียงพี่เลี้ยงที่คอยติดตาม สนับสนุน ไม่ใช่ผู้ดำเนินการอบรม

ผลของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

1) ปราชญ์ชุมชนสามารถถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน

2) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการสัมมาชีพชุมชนมีอาชีพเสริมและมีการฝึกอาชีพที่มีความเป็นไปได้เหมาะสมกับครัวเรือน

3) มีอาชีพและมีรายได้เสริมของครัวเรือน/ชุมชน มีผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของกลุ่มอาชีพที่สามารถเข้าสู่ตลาด  พร้อมทั้งขึ้นทะเบียน  OTOP

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1) โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านและชุมชน

2) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง

3) การสร้างความเข้าใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และผู้แทนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

4) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

1) ระยะเวลาในการอบรมนานเกินไป ผู้เข้าอบรมเกิดการเบื่อหน่าย เพราะมีภาระในการประกอบกับมีอาชีพหลักและภารกิจส่วนตัวที่ต้องทำ

2)  อาชีพบางอย่างมีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงควรเพิ่มงบประมาณในการฝึกอาชีพให้มากขึ้น

3) ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติ และลดปริมาณขั้นตอนของเอกสารรายงานลง

image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา