เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

โดย : นางสาวจริยา มณีรัตน์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-28-12:00:31

ที่อยู่ : บ้านเลขที่.....121/2...... หมู่ที่.....3.... ตำบล.......บ้านหมอ........อำเภอ......บ้านหมอ......... จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์............18130

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ด้วยกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ 2560 โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน แต่ต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป  โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 23,589 หมู่บ้าน อำเภอบ้านหมอ จำนวน 13 หมู่บ้าน จำนวน  6 ตำบล

วัตถุประสงค์ ->

          1. เตรียมความพร้อมจากการที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่ 1  ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ หมู่ละ 10 คน

           2.  พิจารณาคัดเลือกปราชญ์หมู่บ้านละ 1 คน ที่มีพร้อมเข้ารับการอบรมเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน จนสามารถกลับมาทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”  จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน

         3. วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน ผ่านการอบรมโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 3 วัน

         4. วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน กลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน หมายถึง ทีมปราชญ์ชุมชนของหมู่บ้าน ๆ ละ 5 คนประกอบด้วย วิทยากรผู้นาสัมมาชีพ 1 คน และปราชญ์ชุมชนที่เข้าร่วมเป็นทีมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน

         5. ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ หมายถึง ครัวเรือนในหมู่บ้านตามยุทธศาสตร์ที่ 1 (23,589 หมู่บ้าน) จำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน ที่แสดงความประสงค์ต้องการเข้ารับ การฝึกอาชีพ      ตามแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชน ที่ผ่านการอบรมส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน    ในระดับหมู่บ้าน จานวน 5 วัน พร้อมทั้งศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนอาชีพที่สนใจ

         6. กลุ่มอำชีพ หมายถึง กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นใหม่จากการรวมตัวของผู้แทนครัวเรือนในหมู่บ้านตามยุทธศาสตร์ที่ 1 (23,589 หมู่บ้าน) ตั้งแต่ 5 ครัวเรือนขึ้นไป ซึ่งผ่านการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน  ในระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 วัน ที่มีการประกอบอาชีพเดียวกันหรือประเภทอาชีพเดียวกันมาร่วมกันดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการประกอบอาชีพ 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

   1. การสร้างความเข้าใจให้ความรู้ ปรับทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยคนในชุมชนร่วมกันดำเนินการเอง เพื่อให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างรายได้ในชุมชนผ่านโครงการสัมมาชีพชุมชนเพื่อให้เกิดรายได้เป็นเศรษฐกิจฐานรากโดยแท้จริง

             2. คัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนควรเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ความเข้าใจและมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดวิชาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

  3. เจ้าหน้าที่และทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ 4 องค์กร ทำหน้าที่สนับสนุน และติดตามการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน คือ ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ทุกระดับ คณะกรรมการพัฒนาสตรี  ทุกระดับ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน และเครือข่ายคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ช่วยสนับสนุนส่งเสริมและติดตามความก้าวหน้ากับทีมวิทยากรและครัวเรือนสัมมาชีพ อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นไปตามกระบวนการ การสร้างสัมมาชีพชุมชนให้ประสบความสำเร็จ

อุปกรณ์ ->

 1.  การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเป็นสิ่งสำคัญต้องคัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจตั้งใจในการฝึกอาชีพ ต้องการเรียนรู้จริง

  2. เนื่องจากปราชญ์ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้มีความรู้ และทำงานให้กับหลายหน่วยงานเมื่อมีการประชุมหลายวัน จึงอาจมีปัญหาไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ

          3. การมีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการสัมมาชีพชุมชนมีสำคัญมาก  ต้องฝึกอาชีพให้ตรงตามความต้องการของชุมชน            

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

         เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนต้องส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและกำกับให้ 20 ครัวเรือนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงเพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่มอาชีพได้ สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง จนสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาสู่ OTOP เพื่อขยายตลาดต่อไป

มีปัญหาไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ

          3. การมีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการสัมมาชีพชุมชนมีสำคัญมาก  ต้องฝึกอาชีพให้ตรงตามความต้องการของชุมชน            

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา