เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

โดย : นางสาววิมล ม่วงแก้ว ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-17-09:31:51

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองพิจิตร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           จากนโยบายลดความเลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยได้มอบให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ โดยมีแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำว่า “สัมมาชีพชุมชน” จึงหมายถึง “ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบ ซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน”

วัตถุประสงค์ ->

1. จัดทำทะเบียนปราชญ์ชุมชนเป้าหมายในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ ๑

2. ดำเนินการร่วมกับหมู่บ้านในการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ 1 คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก

3. เตรียมความพร้อมทีมสัมมาชีพชุมชนสร้างความรู้ความเข้าใจ ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

4 .ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพโดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน

5. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดยแบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

6. ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมและส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

7. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด สร้างผลผลิตสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบ OTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐ

8. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยือนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

9. ดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน

10. ติดตามเยี่ยมเยียนครัวเรือนที่ฝึกอาชีพร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพหมู่บ้าน

 11. ประเมินผลและคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง หมู่บ้านละ 1 คน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความร่วมมือจากหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมาย

2. เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของครัวเรือนอย่างแท้จริง

3. องค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชน

อุปกรณ์ ->

การคัดเลือกปราชญ์ชุมชนและทีมวิทยากร จะต้องเกิดจากความสมัครใจ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

           วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ต้องมีการติดตามเยี่ยมเยียนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่รับผิดชอบ โดยติดตามปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข โอกาสความสำเร็จ อย่างต่อเนื่อง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา