เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการเตรียมการสร้างกลุ่มสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายวินัย ชูชื่น ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-16-09:10:16

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 43/2 หมู่ที่ 5 ตำบลบึงบัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวชิรบารมี  แจ้งให้ปราชญ์ชุมชนเป้าหมายในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 ในการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน จำนวน 1 คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก จำนวน 4 วัน เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน และสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ ให้กับทีมวิทยากรผู้นำสัมมาชีพในหมู่บ้านอีก   4  คน โดยร่วมกันวิเคราะห์อาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายสนใจ จากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ซึ่งครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนบ้านหนองขาว ส่วนใหญ่มีความต้องการฝึกปฏิบัติอาชีพ “การทำน้ำพริกแกงเผ็ด”  ซึ่งเป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองมาต่อยอดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้  ทำให้มีการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดรายจ่ายให้กับครัวเรือนและประชาชนในหมู่บ้าน ประกอบกับได้นำครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนไปศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพจากกลุ่มอาชีพที่ประสบความสำเร็จ คือบ้านทับเกวียนทอง หมู่ที่ 13 ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จึงมีความคิดที่อยากจะรวมตัวกันสร้างเป็นกลุ่มอาชีพขึ้นมา

วัตถุประสงค์ ->

1. พูดคุยกับครัวเรือนสัมมาชีพในกลุ่มที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพที่ต้องการประกอบอาชีพเดียวกัน ซึ่งมีแนวคิดตรงกันว่าต้องการที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างรายได้ในครอบครัว และเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนของตนเอง 

2. ประสานพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล เข้าร่วมประชุมสมาชิกและเป็นที่ปรึกษา เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือในการดำเนินงานของการจัดตั้งกลุ่ม ให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางที่ถูกต้อง

3. จัดประชุมสมาชิก สร้างความเข้าใจ หาแนวทางการดำเนินการร่วมกัน โดยการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกลุ่ม ร่างข้อบังคับของกลุ่ม พร้อมทั้งตั้งชื่อกลุ่มอาชีพ และชื่อของผลิตภัณฑ์ 

4. ส่งเสริมการระดมหุ้นจากสมาชิก เพื่อเป็นเงินทุนของกลุ่ม

5. วางแผนกำหนดการทำกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มในเรื่องต่างๆที่จะดำเนินการ เช่น การรวมตัวกันทำน้ำพริกแกงเผ็ดทุกวันศุกร์ เพื่อจำหน่าย การผลิต การตลาด ค่าตอบแทน ผลกำไรที่จะเกิดขึ้นของกลุ่ม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของการการดำเนินงาน การทำงานของกลุ่มก็จะมีการจดบันทึกการทำงานของสมาชิกที่มาเข้าร่วมในการทำน้ำพริกแกงเผ็ด โดยสมาชิกคนใดเข้ามาร่วมทำกิจกรรมมากกว่าคนอื่นก็จะได้ส่วนแบ่งกำไรจากการขายน้ำพริกแกงเผ็ด ในสัดส่วนที่มากกว่าสมาชิกที่เข้ามามีส่วนร่วมน้อยกว่า

6. นำน้ำพริกแกงเผ็ดออกจำหน่ายภายในหมู่บ้าน หมู่บ้านข้างเคียง และตามจำนวนที่ผู้บริโภคสั่งซื้อ

7. มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

8. นำกลุ่มอาชีพจดทะเบียนเป็นกลุ่ม OTOP ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวชิรบารมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การบริหารจัดการกลุ่มต้องเคารพกฎกติกา สมาชิกต้องเข้ามาเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม

2. ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และศึกษาหาความรู้ใหม่ๆเพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา

3. การบริหารจัดการกลุ่ม ต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

4. มีการประชุมกลุ่มอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม

อุปกรณ์ ->

การทำงานในรูปกลุ่มควรให้สมาชิกของกลุ่มเข้ามาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. หน่วยงานภาคีที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

2. สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินกิจกรรม เพื่อการสร้างความเข้มแข็ง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา