เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การสร้างวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

โดย : นายจำเนียร เลื่อนลอย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-16-08:50:12

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 5 ตำบลวังโมกข์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              กระผม ได้รับการคัดเลือกจากหมู่บ้านให้เป็นปราชญ์ชุมชนของหมู่บ้าน และเป็นตัวแทนปราชญ์ชุมชน  เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก” เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน และนำกลับไปทำหน้าที่ “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

1. ดำเนินการร่วมกับหมู่บ้านและพัฒนากร  คัดเลือกปราชญ์ชุมชนอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน รวมหมู่บ้านละ 5 คน

2. ดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับ

                   - ถ่ายทอดความรู้ ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ

                   - ฝึกการถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

4. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ จำนวน 20 ครัวเรือน โดยแบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรฯ 1 คนต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพเพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน ทบทวนความต้องการของครัวเรือนฯ ว่ายังสนใจฝึกอาชีพ หรือเปลี่ยนแปลงอาชีพหรือไม่ พร้อมกรอกข้อมูลในแบบติดตามครัวเรือนสัมมาชีพ

5. ดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คนเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ครัวเรือนสนใจ โดยทีมวิทยากรจำนวน ๕ คน พร้อมทั้งได้นำครัวเรือนสัมมาชีพศึกษา  ดูงานกลุ่มอาชีพที่ประสบความสำเร็จ ณ บ้านทับเกวียนทอง หมู่ที่ 13 ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร

6. ติดตามเยี่ยมเยียนครัวเรือนที่ฝึกอาชีพและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดอาชีพโดยสร้างรายได้และลดรายจ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

2. การเข้ารับการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

3. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านมีความตั้งใจ เสียสละเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกัน

4. การร่วมแรง ร่วมมือ ร่วมใจ ของทีมวิทยากรและครัวเรือนสัมมาชีพ

อุปกรณ์ ->

1. ปราชญ์ชุมชนต้องมีการพัฒนาและฝึกฝนทักษะในการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชนและมีความพร้อม เสียสละเวลา เพื่อส่วนรวม

2. ปราชญ์ชุมชนต้องมีทักษะในการสร้างบรรยากาศ ทักษะการสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย เพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ทีมปราชญ์ชุมชนควรได้รับการฝึกอบรมด้านเทคนิค ทักษะการพูด เทคนิคการเป็นวิทยากร อย่างจริงจัง

2. หลักสูตรและระยะเวลาการอบรมไม่ควรนานเกินไป เพราะครัวเรือนมีภารกิจในการประกอบอาชีพ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา