เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การสร้างอาชีพมะม่วงกวนในหมู่บ้านสัมมาชีพ

โดย : นายสุรินทร์ อินตะมะ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-03-10:37:37

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 60 หมู่ 4 ตำบลวังหว้า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           หมู่บ้านล่องตะแบกประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ปลูกพืช และผลไม้ยืนต้น เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้ และเป็นผลไม้หลักในการเลี้ยงชีพและให้ผลดีมากในการสร้างมูลค่าและรายได้เสริมจากการทำนาเป็นผมไม้ที่นิยมรับประทานกันมากมีรสชาติหอมหวานราคาดี สามารถสร้างรายได้ดีกว่าการปลูกข้าวทั้งในและนอกฤดูกาล    ผลไม้ดิบและสุก สุกงอมและล่วงหล่นลูกไม่สวยจะนำมากวนเป็นส้มแผ่นหรือเรียกว่ามะม่วงกวนและเหลือจากการขายแล้วคัดออกมากวนโดยไม่ต้องใส่น้ำตาลเพราะมะม่วงน้ำดอกไม้มีรสหวานหอมในตัวของมันอยู่แล้ว ทำกันในหมู่บ้านหรือทุกครัวเรือนและแจกเพื่อนบ้านใกล้เคียง กินแล้วว่าอร่อยดีรสชาติอมหวานเลยทำขายก็ขายดีทำไม่ทันเป็นอาชีพเสริมจนถึงทุกวันนี้

วัตถุประสงค์ ->

1. คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. ประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ โดยมีเนื้อหาที่สำคัญในการประชุมเพื่อพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ในการเตรียมความพร้อมให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

3. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านประชุมเตรียมความพร้อมตามกรอบการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอและหน่วยงานภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

4. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 คน ดำเนินการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนรายหมู่บ้านตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยมีทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และภาคีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้การสนับสนุน

5. ส่งเสริม ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ 20 ครัวเรือนสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการรายงานผลการติดตามในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่กำหนดรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน

6. สนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบบริหารการจัดการเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง

7. ดำเนินการประชุมสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. งบประมาณในการสนับสนุนส่งเสริมสัมมาชีพ

2. องค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชน

3. ความร่วมมือจากหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมาย

4. หน่วยงานภาคีและพัฒนากรเป็นพี่เลี้ยงเป็นอย่างดี

อุปกรณ์ ->

1. การคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนควรเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชนได้

2. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนต้องคัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพมีความมุ่งมั่นตั้งใจ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- ควรจะมีงบประมาณในการสนับสนุนให้มากกว่านี้

- อยากให้หน่วยงานต่างๆช่วยเหลือด้านการตลาด

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา