เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

บทบาทของพัฒนากรในการส่งเสริมการขับเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

โดย : นางสาวนิตยา เรืองสุข ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-30-13:28:33

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโพธิ์ประทับช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

               ในปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชนได้ยกระดับรูปการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากการให้พัฒนากรเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก โดยให้ “ปราชญ์ชุมชน” ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน พร้อมมีจิตอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในชุมชน  เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการสร้างสัมมาชีพชุมชน

          “สัมมาชีพชุมชน”เป็นการต่อยอดรูปแบบการทำงานโดยให้ชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนตนเอง เมื่อพัฒนากรต้องส่งเสริมการขับเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชน การต้องแสวงหาความรู้จากคู่มือเป็นเรื่องสำคัญ การรู้จุดยืนของตนเองว่าต้องดำเนินการอย่างไร ในการเป็นผู้อยู่เบื้องหลังปราชญ์ชุมชน ที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”  ที่เป็นกลไกหลักในดำเนินการสร้างสัมมาชีพแก่ครัวเรือนเป้าหมายให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐ  

วัตถุประสงค์ ->

 บทบาทของพัฒนากรในการขับเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชนสามารถแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้

1. ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน "สัมมาชีพชุมชน" จากคู่มือแนวทางการดำเนินการของกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการขับเคลื่อนงานตั้งแต่กระบวนการแรกให้เข้าใจก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตของโครงการตามที่กรมการพัฒนาชุมชนตั้งเป้าหมายไว้

2. การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย “1 ปราชญ์ชุมชน  5 ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 20 ครัวเรือนเป้าหมาย” พัฒนากรต้องสร้างความเข้าใจกับชุมชนให้ชัดเจนโดยเริ่มจาก ปราชญ์ชุมชน ที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ในการเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ และสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ พัฒนากรร่วมกับปราชญ์ชุมชนคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน รวมจำนวน 5 คน จากฐานข้อมูลปราชญ์ของหมู่บ้าน และประชุมเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการ เนื้อหาในการประชุมที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

     การคัดเลือก 20 ครัวเรือนเป้าหมาย เน้นผู้แทนจากครัวเรือนยากจนตามเกณฑ์ จปฐ. เป็นกลุ่มเป้าหมายแรก  และพิจารณาความสนใจอาชีพ ความพร้อม ความสมัครใจของครัวเรือนเป็นสำคัญ โดยพัฒนากรเป็นผู้สนับสนุนฐานข้อมูลรายได้ของครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมาย

3. การส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน พัฒนากรเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลอาชีพ สถานที่ฝึกอาชีพที่เหมาะสมเพื่อฝึกอาชีพตามที่ครัวเรือนเป้าหมายร่วมกันกำหนด พร้อมทั้งจัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับฝึกอาชีพตามงบประมาณที่รับจัดสรร    มีการติดตามและให้กำลังใจในการฝึกอาชีพ 

4. พัฒนากรร่วมกับทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ ติดตามเยี่ยมเยียนครัวเรือนเป้าหมายที่ฝึกอาชีพ เกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความร่วมมือจากหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมาย

2. การส่งเสริมและติดตามจากทีมสนับสนุนฯระดับอำเภอ หน่วยงานภาคีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

1. การทำเวทีควรใช้ภาษาที่ชาวบ้านสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่เป็นศัพท์ทางวิชาการมากเกินไป

2. ไม่พูดขัด หรือแทรกกลางคัน เพื่อให้เวทีมีความลื่นไหลและไม่เป็นการลดความมั่นใจของทีมปราชญ์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การคัดเลือกปราชญ์ชุมชน ทีมวิทยากรสัมมาชีพ ควรเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความเสียสละ สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดีในระดับหนึ่ง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา