เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

โดย : นายมานพ ภักบุตร ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-30-08:55:06

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 31/6 หมู่ที่ 16 ตำบลเนินปอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน  โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

                   ดังนั้น ทีมวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

หลังจากเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ และสามารถกลับมาทำหน้าที่เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้านได้นั้น ก็ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพและวางแผนปฏิบัติการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน และได้กลับมาดำเนินงานในระดับอำเภอคือโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งถือว่ากระบวนการคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านอีก ๔ คน นั้น มีความสำคัญมากเพราะว่าหากวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านมีทักษะและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายได้ จะทำให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป โดยมีเทคนิคดังนี้

1. รวบรวมรายชื่อปราชญ์ชุมชนทุกคนในหมู่บ้าน พร้อมฐานข้อมูลปราชญ์ชุมชน

2. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนปราชญ์ชุมชนทุกคน เพื่อสอบถามความพร้อม และความร่วมมือในการเป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จัดลำดับปราชญ์ชุมชนที่มีความพร้อมและความร่วมมือที่จะเข้าร่วมโครงการตามลำดับ

3. นำรายชื่อที่จัดอันดับส่งอำเภอ โดยร่วมกับพัฒนากร คัดเลือกปราชญ์ชุมชนอีก 4 คน  

4. โดยคัดเลือกจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ เช่นผู้ที่ทำนาได้ผลผลิตสูง ทำสวนเก่ง หรือเป็นช่างแกะสลัก หรือเป็นผู้ที่แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือแกนนำกลุ่ม OTOP ที่ประสบผลสำเร็จ จากบัญชีรายที่ได้จัดลำดับไว้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑1 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสาร/คู่มือแนวทางการดำเนินงาน ข้อมูลต่าง ๆ

2. เข้าร่วมประชุมฯ ตามโครงการทุกครั้ง

3. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนปราชญ์ชุมชนทุกคน สอบถามความสมัครใจ

4. กระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชุมชน

อุปกรณ์ ->

           การคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ควรคัดเลือกจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ เช่นผู้ที่ทำนาได้ผลผลิตสูง ทำสวนเก่ง หรือเป็นช่างแกะสลัก หรือเป็นผู้ที่แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือแกนนำกลุ่ม OTOP ที่ประสบผลสำเร็จ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

             ควรปลูกฝังจิตสำนึกในการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านว่าเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ถ้าหากวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านมีทักษะและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายได้ จะทำให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา