เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การวิเคราะห์ปัญหาการประกอบอาชีพของชุมชน

โดย : นางบุศย์รินทร์ นามวงษ์ลือ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-25-15:32:24

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทับคล้อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          พัฒนากรยุคนี้ทำงานอยู่ท่ามกลางสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  บทบาทในการเป็นนักขับเคลื่อนชุมชนโดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และกระตุ้นการคิดวิเคราะห์สร้างชุมชนให้เกิดการเรียนรู้   จึงควรใช้ทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ ทักษะการส่งเสริมการมีส่วนร่วม  และทักษะการทำงานร่วมกับกลุ่ม องค์กร เครือข่าย  โดยมีการทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนเพื่อช่วยขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน   เมื่อมีปัญหาชุมชนจักต้องรู้  สามารถวิเคราะห์ได้ และต้องแก้ไขปัญหาเป็น  ดังนั้นพัฒนากร ต้องแนะนำและทำให้ดู  เช่นเรื่องการประกอบอาชีพ ซึ่งในพื้นที่ตำบลท้ายทุ่งส่วนใหญ่จะทำนาและเลี้ยงสัตว์                    และอาชีพอื่นๆบ้าง  และก็จะว่างงานเป็นส่วนใหญ่เมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา เพราะขาดแหล่งน้ำและน้ำในการประกอบอาชีพ  คนวัยแรงงานส่วนใหญ่จะอพยพเข้ากรุงเทพเพื่อหางานทำและกลับมาเมื่อถึงฤดูกาลทำนา จึงเหลือแต่คนสูงวัยเป็นส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่

                   ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมอาชีพประสบความสำเร็จที่มีเปอร์เซ็นสูง ก็ต้องวิเคราะห์เพื่อมองหาความเป็นไปได้  โอกาสเสี่ยงมีน้อย เกิดรายได้อย่างแท้จริง จึงต้องวางแผนโดยการวิเคราะห์ปัญหาการประกอบอาชีพของชุมชน  โดยคนในชุมชน เพื่อประโยชน์ของชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1.วางแผน  ต้องเตรียมคน  เตรียมพื้นที่  เตรียมข้อมูลและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  

2.แจ้งประสานงานผู้นำชุมชนที่ได้คัดเลือกไว้  ปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการหมู่บ้านและผู้สนใจ

3. เปิดเวทีวิเคราะห์ข้อมูลการประกอบอาชีพ โดยการบอกเล่าข้อมูลที่มีอยู่ให้คนที่เข้าร่วมเวทีรับรู้ก่อน เช่นข้อมูลปราชญ์หรือองค์ความรู้ภายในหมู่บ้าน ทรัพยากรของชุมชนหรือต้นทุนชุมชน ข้อมูลรายได้และรายจ่ายครัวเรือนของทั้งหมู่บ้าน ข้อมูลหนี้สิน  ข้อมูลการประกอบอาชีพ  และให้แต่ละคนเสนอปัญหาของตนเอง มาคนละ 1 ปัญหา ห้ามซ้ำกัน จดใส่กระดาษฟาง/ไวท์บอร์ด

4. จัดประเภทปัญหาออกเป็นกลุ่ม 

5. แบ่งเป็นกลุ่มเท่าจำนวนกลุ่มปัญหา แยกกลุ่มวิเคราะห์  หาสาเหตุและหาแนวทางร่วมกัน

6. ผู้แทนกลุ่มนำเสนอทีละกลุ่ม และให้กลุ่มอื่นๆที่ไม่ได้วิเคราะห์ปัญหานี้มาช่วยวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลหลากหลายที่สุด  ทำเช่นนี้จนครบทุกกลุ่ม

7. นำปัญหา  แนวทางแก้ไข  มาสรุปร่วมกัน

8. เปิดโอกาสให้เสนอความต้องการเป็นรายบุคคลและบอกเหตุผลความเป็นไปได้  จนครบทุกคน  และสรุปข้อมูลอีกครั้ง

9. ให้ผู้เข้าร่วมเวทีเรียงลำดับความสำคัญของอาชีพที่คิดว่าน่าจะทำได้มากที่สุด เป็นไปได้มากที่สุด  และคัดเลือกโครงการสัมมาชีพเพื่อรองรับงบประมาณ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.การใส่รายละเอียดข้อมูลแท้จริงให้สมบูรณ์มากที่สุด  จะทำให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้

2.การคัดเลือกผู้เข้าร่วมเวทีควรมีความหลากหลายกลุ่ม องค์กร  หลายภาคส่วนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

อุปกรณ์ ->

1. ไม่ควรชี้นำ

2.  จัดเวลาให้เหมาะสม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

        การจัดเวทีส่วนใหญ่ผู้ดำเนินการมักจะเสร็จตามเวลา ซึ่งบางครั้งข้อมูลก็ไม่มีความสมบูรณ์หรือได้น้อยเกินไป 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา