เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพบ้านบัวยาง

โดย : นายบุญเรือง เพชรน้อย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-25-15:06:38

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 8/4 หมู่ที่ 9 ตำบลหนองหลุม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            ด้วยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวชิรบารมี  ดำเนินการร่วมกับหมู่บ้าน  ในการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน จำนวน 1 คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก  แล้วกลับมาถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเทคนิคในการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ  ให้กับทีมวิทยากรผู้นำสัมมาชีพในหมู่บ้านอีก  4  คน  โดยร่วมกันวิเคราะห์อาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายสนใจ  จากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน  ซึ่งครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนบ้านบัวยาง ส่วนใหญ่มีความต้องการฝึกปฏิบัติอาชีพ “การไข่เค็มสมุนไพรใบเตย  เป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรมาต่อยอด/แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน  ทำให้มีการสร้างงาน สร้างรายได้  ให้กับประชาชน  ประกอบกับได้นำครัวเรือนสัมมาชีพไปศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพจากกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ คือบ้านทับเกวียนทอง  หมู่ที่ 13 ตำบลบึงบัว  อำเภอวชิรบารมี  จึงมีความคิดอยากจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นมา

วัตถุประสงค์ ->

1. เริ่มต้นจากการพูดคุยในกลุ่มสมาชิกที่ต้องการประกอบอาชีพเดียวกัน ซึ่งมีแนวคิดตรงกันว่าต้องการจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อสร้างพลังในการช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ให้เกิดประโยชน์ร่วมกันภายในกลุ่ม 

2. แจ้งให้พัฒนากรประสานงานตำบล  ร่วมประชุมสมาชิกและเป็นที่ปรึกษา  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม  ให้เป็นไปตามหลักการ 5 ก ได้แก่

                             1) ก1  :  กลุ่ม/สมาชิก

                              2) ก2  :  กรรมการ

                              3) ก3  :  กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม  

                              4) ก4  :  กองทุน

                              5) ก5  :  กิจกรรม

3. จัดประชุมสมาชิกกลุ่ม  เพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับของกลุ่ม และคัดเลือกตัวแทนกลุ่ม  จำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน เป็นคณะกรรมการ พร้อมกับคัดเลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งตั้งชื่อกลุ่มอย่างเป็นทางการ และตั้งชื่อผลิตภัณฑ์  ให้มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ และทำให้สมาชิกมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน 

4. มีการระดมหุ้นจากสมาชิก  จำนวนหุ้นละ 20 บาท เป็นเป็นเงินทุนของกลุ่มต่อไป 

5. เมื่อจัดตั้งกลุ่มเรียบร้อยแล้ว จะมีการมารวมตัวกันทำไข่แจ๊บเพื่อจำหน่าย  และมาร่วมพูดคุย ปรึกษาหารือกันในเรื่องต่างๆ เช่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ , การตลาด , การจำหน่าย ต้นทุนการผลิต , ค่าตอบแทน , ผลกำไร ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆ  อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  หากสมาชิกท่านใดมาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ  ก็จะได้ส่วนแบ่งกำไรจากการขายสินค้าในสัดส่วนที่มากกว่าสมาชิกที่ไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรม

6. นำสินค้าออกจำหน่ายภายในหมู่บ้าน  และหมู่บ้านข้างเคียง  และตลาดนัดของอำเภอ

7. ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว ทางสื่อออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

8. จดทะเบียนเป็นกลุ่ม OTOP ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวชิรบารมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. องค์ความรู้ของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และองค์ความรู้ของสมาชิกภายในกลุ่ม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง ถ้าสมาชิกมีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ และมีความชำนาญในการบริหารจัดการกลุ่ม จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของกลุ่มให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูงมาก

2. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกได้มีโอกาสฝึกระดมสมอง ในการฝึกคิด ฝึกการแก้ไขปัญหาจริงที่กลุ่มตนเองประสบอยู่

อุปกรณ์ ->

       การทำงานในรูปกลุ่มไม่ควรทำในเรื่องที่กลุ่มของตนไม่ชำนาญหรือเกินกำลังความสามารถของกลุ่ม  และไม่ควรให้กลุ่มเติบโตเร็วเกินไป  ควรจะค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป พัฒนากันไปแบบไม่ก้าวกระโดด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ควรปลูกฝังคุณธรรมในเรื่องของความซื่อสัตย์  และความสามัคคี  เพราะกลุ่มมักแตกแยก แตกความสามัคคี และการแย่งผลประโยชน์ภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึงมากที่สุด

 2. ควรฝึกให้สมาชิกในกลุ่มมีจิตอาสา เสียสละเพื่อส่วนรวม  ไม่ใช่คิดแต่ผลประโยชน์เฉพาะของตนเอง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา