เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกระบวนการการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพของครัวเรือนเป้าหมายให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างอาชีพและรายได้

โดย : นางนาวลจิตร สุขประเสริฐชัย ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-08-09:00:01

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตะพานหิน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

         ปัจจุบัน สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะ ความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช  ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพ   ค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน    เป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อย  ที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

        การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

         ดังนั้น จึงจำเป็นที่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ควรที่จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกระบวนการการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพของครัวเรือนเป้าหมายให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้  เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน :

          สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพ ให้กับประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             1.  ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รวบรวมส่งให้กรมฯ เรียบร้อยแล้ว

           2.  ร่วมประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ โดยมีเนื้อหาที่สำคัญในการประชุมเพื่อพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ในการเตรียมความพร้อมให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพต่อไปซึ่งมีกรอบการเรียนรู้

          3.  สร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอาชีพที่ต้องการเรียนรู้ และการสาธิตอาชีพ

           4.  ร่วมศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้

         5.  ร่วมมือกับทีมฯ ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

          6.  ส่งเสริม ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ 20 ครัวเรือนสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการรายงานผลการติดตามในแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่กำหนดรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน เพื่อรองรับการติดตามของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ

          7.  สนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบบริหารการจัดการเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ

          8.  ขั้นติดตามและประเมินผลการติดตามการดำเนินกิจกรรม พัฒนากรต้องติดตามผลการดำเนินงาน  ทุกระยะ และเป็นพี่เลี้ยงของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

          9.  ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์และการตลาด เพื่อการจำหน่ายให้กับครัวเรือนเป้าหามาย

          10. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาอาชีพ และมีรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

         ความสำเร็จในพื้นที่ตำบลเกิดจากภาคีในการพัฒนาร่วมมือกันเป็นอย่างดี มีปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้อง ๓ ประการ คือ (๑) ผู้นำทั้ง ๔ ภาคส่วน  คือ ผู้นำธรรมชาติ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และหน่วยราชการในพื้นที่ ร่วมกันคิดเรื่องการพัฒนา (๒) ใช้ข้อมูลที่คนในชุมชนร่วมกันทำ และ แปลงเป็นแผนในการบริหารการพัฒนาของชุมชน (๓) คนในชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมเรียนรู้ และร่วมตรวจสอบ กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ และทำให้การผสานพลัง สร้างเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนได้จริง คือ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องผ่านการปฏิบัติ เป็นการผสานพลังชุมชน

อุปกรณ์ ->

        1. การคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชุมชนควรเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชนได้

          2. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนต้องคัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพมีความมุ่งมั่นตั้งใจ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

        1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้หมู่บ้าน มีการจัดทำแผนชุมชนให้เป็นปัจจุบัน และให้นำโครงการส่งเสริมการพัฒนาสัมมาชีพชุมชนบรรจุลงในแผนชุมชนเพื่อพัฒนาต่อไป รวมทั้งส่อต่อแผนชุมชน เข้าร่วมบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบลด้วย

        2.ในการส่งเสริมอาชีพควรจะเป็นอาชีพที่เป็นความต้องการของชาวบ้าน และตรงต่อความต้องการของตลาด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพและรายได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา