เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ส่งเสริมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

โดย : นางรินรดา คชรีย์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-01-09:57:59

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๙๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลเมืองเก่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ปัจจุบันการประกอบอาชีพของประชาชนในการเกษตรมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูกาลผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ประชาชนเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง ประกอบกับในชุมชนมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพในการประกอบอาชีพต่างๆ ในหมู่บ้าน แต่ไม่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปตามให้สำเร็จได้

           การส่งเสริมวิทยากรการสร้างสัมมาชีพ เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้ปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

๑.เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร“วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก จำนวน ๔ วัน เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชนและสามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ

๒.คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับ หมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยคัดเลือกจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๓. ประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ เพื่อพัฒนาความรู้ การทำหน้าที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ในการเตรียมความพร้อมให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

๔. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านประชุมเตรียมความพร้อมตามกรอบการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอและหน่วยงานภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

๕. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 คน ดำเนินการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนรายหมู่บ้านตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยมีทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และภาคีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้การสนับสนุน

๖. ส่งเสริม ติดตามสนับสนุน 20 ครัวเรือนสามารถในการประกอบอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้ส่งเสริมและสนับสนุน

๒. งบประมาณส่งเสริมการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน

๓.องค์ความรู้จากปราชญ์ชุมชน

๔. ความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและครัวเรือนเป้าหมาย

อุปกรณ์ ->

          การเลือกพัฒนาอาชีพของครัวเรือนในชุมชนควรตรงต่อความต้องการของครัวเรือน และเป็นอาชีพที่คนในชุมชนเคยทำและประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างที่ชัดเจน 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

        ควรมีงบประมาณและเจ้าหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา