ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกกล้วยน้ำว้า

โดย : นายนิต ทับทอง วันที่ : 2017-03-20-08:41:55

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๒๓๖ หมู่ที่ ๙ ตำบลเนินสว่าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การทำนาเพียงอย่างเดียวขาดทุน รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายของครอบครัว จึงตัดสินใจปลูกกล้วยน้ำว้าควบคู่กับการทำนา เพราะกล้วยเป็นพืชที่มีอายุสั้น ปลูกดูแลง่าย อย่างไรก็ได้กินกล้วยแน่นอน และกล้วยน้ำว้าเป็นที่นิยมกินกัน เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารมาก ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มจากการขายกล้วย “กล้วยน้ำว้า ปลูกกินเองได้ ปลูกขายทำเงิน”

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

2. เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

3. เพื่อครอบครัวและผู้บริโภคได้รับประทานมะเขือที่ปลอดภัยจากสารเคมี
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พื้นที่ปลูกกล้วย

2. หน่อกล้วย

3. ปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยเคมี
 

อุปกรณ์ ->

1. รถไถ                                               

2. จอบ/เสียม/มีด                                              

3. เครื่องสูบน้ำ/ท่อน้ำ                                

4. ไม้ค้ำกล้วย    

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ในระยะที่มีใบแคบ ลำต้นสูง ๓๐ – ๕๐ เซนติเมตร

2. ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น ๒ x ๒ เมตร  หรือ  ๒.๕ x ๒.๕ เมตร

3. ขุดหลุมปลูกขนาด ๕๐ x ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร

4. รองก้นหลุมด้วยดินผสมกับปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา ๕ กิโลกรัมต่อหลุม  โดยสูงจากก้นหลุมประมาณ ๑ ใน ๓ ของหลุม

5. วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุมให้ลึกประมาณ ๒๕ เซนติเมตร  โดยวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน 

6. กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่นและคลุมด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง

7. รดน้ำให้ชุ่ม

8. การดูแลรักษาระหว่างการปลูก ดังนี้

- การให้ปุ๋ย

• ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ๑ ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูก อัตรา ๓ – ๕ กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี ๔ ครั้ง

• ใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ ๑ และ ๒ หลังจากปลูก ๑ เดือน และ ๓ เดือน เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕-๑๕-๑๕  อัตรา ๑๒๕ - ๒๕๐ กรัมต่อต้นต่อครั้ง

• ใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔ หลังจากปลูก ๕ เดือน และ ๗ เดือน  เป็นระยะที่กล้วยเริ่มให้ผลผลิต ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๓-๑๓-๒๑  อัตรา ๑๒๕ - ๒๕๐ กรัมต่อต้นต่อครั้ง

• ปุ๋ยเคมีใส่โดยโรยห่างต้นประมาณ ๓๐ เซนติเมตร หรือใส่ในหลุมลึกประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ทั้ง ๔ ด้าน แล้วพรวนดินกลบ   

- การให้น้ำ

• ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง สังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตกควรรีบให้น้ำ

• ในฤดูแล้ง เริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม – พฤษภาคม

• วิธีการให้น้ำ ปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้ว จึงให้กับแปลงอื่นต่อไป

• ปริมาณน้ำที่ให้ สังเกตดินในแปลงเปียกชื้น แฉะเล็กน้อย จึงหยุดให้ 

9. การเก็บเกี่ยว

- อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

• เก็บเกี่ยวหลังตัดปลีประมาณ ๔๕ วัน

• กล้วยที่ตกเครือช่วงฤดูหนาวผลจะแก่ช้า อายุเก็บเกี่ยวประมาณ ๕๐–๕๕ วัน หลังจากตัดปลี

- วิธีการเก็บเกี่ยว

• ใช้มีดคมตัดเครือกล้วย

ข้อพึงระวัง ->

1. การเลือกต้นพันธุ์ควรเลือกต้นพันธุ์จากการเพาะเนื้อเยื่อ เพราะทำให้กล้วยปลอดโรค และออกลูกได้พร้อมกัน

2. เมื่อปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นเพียงพอ ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา