ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เทคนิคการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

โดย : นายธานินทร์ จั่นแจ้ง วันที่ : 2017-03-15-15:09:44

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 40/1 หมู่ที่ 8 ตำบลเนินมะกอก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          สืบเนื่องจากโรงเรียนบ้านวังทอง หมู่ที่๘ ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ได้ดำเนินโครงการจุดขยายผลศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร ซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การเพาะพันธุ์ไม้ การเลี้ยงปลา การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน ฯลฯ และได้เปิดให้ประชาชนในหมู่บ้านได้เข้าไปเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆ ข้าพเจ้าจึงมีความสนใจในเรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า ซึ่งสามารถที่จะนำมาเป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำนาได้ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำและสร้างรายได้เป็นอย่างดีลงทุนครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นานหลายเดือน ทำได้ง่าย

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อให้สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้

2. เพื่อก่อให้เกิดอาชีพเสริมที่มีความยั่งยืนและสามารถพัฒนาเป็นอาชีพหลักได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ๑๐๐ กก. ความชื้น ๖๐ – ๗๐ % (ดูตามสภาพของขี้เลื่อย)

2. รำละเอียด ๕ กก.

3. ปูนขาว ๑ กก.

4. ยิปซั่ม ๐.๕ กก.

5. ดีเกลือ ๐.๒ กก.

อุปกรณ์ ->

1. ถุงพลาสติกสำหรับอัดก้อนเห็ด

2. เครื่องอัดก้อนเห็ด

 3. ถังนึ่งก้อนเห็ด

  4. ชั้นวางก้อนเห็ด

                   ๕. คอพลาสติก, สำลี, กระดาษ, ยางวง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ผสมสูตรอาหารทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

2. เพิ่มความชื้นโดยการรดน้ำให้มีความชื้น ๖๐ – ๗๐%

3. อัดถุงขนาด ๖.๕ x ๑๒.๕ น้ำหนัก ๘๐๐ กรัม/ถุง

4. อัดให้แน่นใส่คอพลาสติกจุกด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ

5. นึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งแบบไม่ใช้ความดัน๓ ซม.อุณหภูมิประมาณ ๙๕–๑๐๐ องศาเซลเซียล

6. เมื่อครบตามเวลาปล่อยให้เย็นและทำการใส่เชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง

7. ทำการพักเชื้อประมาณ ๓๐ วัน โดยการเก็บไว้ในโรงพักเชื้อไม่ให้โดนแสงแดดและความชื้น หากพบว่าก้อนเชื้อเกิดราดำหรือราเขียว ให้รีบแยกออกเพื่อทำลายป้องกันการระบาดของเชื้อ

8. ผสมอาหารเพาะเห็ด (ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ๑๐๐ กก. + รำละเอียด ๕ กก. + ยิปซั่ม ๐.๕ กก.  + ปูนขาว ๑ กก. + ดีเกลือ ๐.๒ กก.)

9. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อน

10. รวบปากถุงบีบไล่อากาศออก แล้วอัดถุงให้แน่น

11. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่ง ไม่อัดความดัน อุณหภูมิประมาณ ๙๕ – ๑๐๐ องศาเซลเซียส ประมาณ ๓ ชั่วโมง

12. นำถุงอาหารเพาะเห็ดมาใส่เชื้อเห็ดนางฟ้า

13. นำมาพักเชื้อประมาณ ๓๐ วัน

14. นำไปเปิดดอก โดยการเปิดจุกสำลีออก

15. เก็บผลผลิตและทำการรดน้ำ

ข้อพึงระวัง ->

           โรคของเห็ดนางฟ้าภูฐาน ได้แก่ ราดำ ราเขียว ราจุดไข่ปลาและราส้ม ส่วนมากราดำและราเขียวจะเกิดในช่วงของการพักเชื้อ ทั้งนี้อาจจะติดเชื้อมาจากช่วงของการใส่เชื้อเห็ด เนื่องจากสถานที่ใส่เชื้อมีลมแรงหรือสถานที่ไม่สะอาด อาจเกิดจากขั้นตอนการนึ่งก้อนเชื้อที่ใช้ความร้อนไม่สูงพอ    

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา