ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทอผ้า

โดย : นายไพฑูรย์ บุญคลี่ วันที่ : 2017-03-12-14:26:40

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 430 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองพยอม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              ราษฎรบ้านป่าแดงสืบเชื้อสายมาจากชาวไทยพวน ด้วยความที่ชาวพวนยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณ ราษฎรบ้านป่าแดงจึงนิยมปลูกฝ้าย ทอผ้าลายโบราณ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อใช้ในครัวเรือน โดยยึดอาชีพการทำนาเป็นอาชีพหลัก แต่ประสบปัญหาได้ผลผลิตไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ราษฎรในหมู่บ้านจึงได้เริ่มทอผ้าออกจำหน่ายเป็นรายได้เสริม เพื่อมาจุนเจือครอบครัว และได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านการผลิต การจัดการ รูปแบบ การพัฒนาคุณภาพฝีมือ และให้บริการเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ราษฏร

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ให้ครัวเรือน

 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้บุคคลอื่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นไหมประดิษฐ์

อุปกรณ์ ->

1. กี่ โครงสร้างหลักเป็นรูปทรงไม้สี่เหลี่ยม มีส่วนประกอบให้การทอผ้าตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จหลายอย่าง เช่น

2. ไม้กี่พั้น ไม้สำหรับขึงเส้นด้ายตั้งแต่เริ่มทอ และพันผ้าที่ทอได้เก็บไว้ เมื่อได้ความยาวตามที่ต้องการแล้วจะตัดผ้าออกไม้กี่พั้น

3.ไม้หาบเหา ไม้ไผ่แห้งสำหรับหาบฟืมและเหาใช้เชือกคล้องให้โยงกับคานกี่ทั้ง 2 คาน ทั้งทางด้านซ้ายและขวาของกี่ทอผ้า

4. ไม้เหยียบตีน ไม้ไผ่แห้งความยาวประมาณ ๑.๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ อัน อยู่ทางด้านล่างของเครือ หูกผูกมัดกับเชือกเหา เหยียบให้เส้นด้ายของเครือหูกยกขึ้นลงสลับกันแล้วพุ่งกระสวยสลับกันไปมาจากซ้ายไปขวา จากขวากลับไปซ้ายจะได้เนื้อผ้าตามต้องการ ถ้าเป็นการทอผ้าของลายใช้ไม้ไผ่ ๔ อัน สำหรับลายมุกจะใช้ไม้ไผ่ ๕ อัน

5. ไม้ป๊องแป๊ง หลอดไม้ไผ่ขนาดเล็กใช้รัอยเหาหรือเขาให้ขนานกัน

6. ไม้หัวหุ ไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่มีขนาดพอประมาณกับความกว้างของหน้าผ้า ใช้สำหรับสอดใส่เส้นด้ายยืนที่ทอใกล้เสร็จ แล้วใช้เส้นเชือกที่ล้อพันเส้นด้ายขนาดเท่ากับเชือกไนลอนขึงมัดกับคานกี่แทนเส้นด้าย

 7. ไม้แป๊นกี่ ไม้กระดานเนื้อแข็งพาดกับกี่ สามารถนั่งทอผ้าได้ ไม้ขี้ผึ้ง    ไม้ขี้ผึ้ง ไม้เนื้อแข็งกลึงให้กลมเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ความยาวประมาณ ๑.๒๐ เซนติเมตร ขัดให้เกลี้ยงทาด้วยแว่นขี้ผึ้งที่แห้งแล้วนำไปถูกับเครือหูกเพื่อให้เส้นด้ายเหนียวไม่ขาดง่าย สางด้วยหวีหนหมู (ขนหมูป่า) ในขั้นตอนต่อไป

8.หวีหนหมู     หวีหนหมู (ขนหมูป่า) คือ หวีหรือเแปรงที่ใช้สำหรับสางเส้นด้ายหลังจากถูด้วยไม้ขี้ผึ้งไม่ให้ด้ายติดกันเพื่อสะดวกต่อการทอ

 9. ผัง ไม้ขึงเนื้อผ้าให้ตึงเพื่อความสะดวกระหว่างการทอ ทำด้วยไม้ไผ่เหลาให้หนา (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร ให้พอโค้งได้ไม่หัก) ความยาวมากกว่าหน้ากว้างของผ้าเพื่อให้โค้งได้ ส่วนปลายจะเหลาควั่นให้แหลม หรือใช้ทองเหลืองตีให้ปลายแหลมเล็กขึงหน้าผ้าทั้งซ้ายขวาได้

10. ก๊อหลอด (หลอดไม้ไผ่ขนาดเล็ก) ทำจากหลอดไม้ไผ่ที่แห้งแล้ว ขนาดเล็ก ความยาวประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร ใช้เสียบกับเหล็กแหลมของหลาสำหรับปั่นด้ายใส่ แล้วจึงนำไปใส่กระสวยทอผ้า

 11. กระสวย เครื่องมือในการพุ่งเส้นดายสำหรับทอผ้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเจาะรูตรงกลางลำกระสวยเพื่อใส่หลอดด้ายที่ทำจากไม้ไผ่ (ก๊อหลอด) ในปัจจุบันหลอดด้ายอาจใช้หลอดที่ทำด้วยเหล็กขนาดใกล้เคียงกับหลอดไม้ไผ่แต่เดิม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืนและร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะกอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่งปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง 
2.  เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอเส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยกออกและเกิดช่องว่างสอดกระสวยด้ายพุ่งผ่านสลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวีเพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกันได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้าเมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้าโดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ

ข้อพึงระวัง ->

1. ถ้าใช้ด้ายเส้นเดียว  ผ้าจะเละ

2. ต้องทอด้วยความปราณีต 

3. ต้องมีการตรวจสอบทุกครั้ง ก่อนจะไปจำหน่าย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา