ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยชีวภาพปั้นเม็ด

โดย : นายจีระ มั่นเหมาะ วันที่ : 2017-03-06-16:34:03

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 93 หมู่ที่ 6 ตำบลวังสำโรง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           บ้านบึงน้ำกลัด  หมู่ที่ 6  ตำบลวังสำโรง  อำเภอตะพานหิน  จังหวัดพิจิตร  เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมปลูกผืชผักทั่วไป  และไม้ผล คือ  ส้มโอ  และมะยงชิด  เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมี  ซึ่งมีราคาแพง  ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง  รายจ่ายที่ใช้ในการพื้นที่เกษตรกรรมมีอัตราสูง  และบ้านบึงน้ำกลัด  หมู่ที่  ๖    ได้ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง   โดยนำผลการประเมินวิเคราะห์ร่วมกัน   และร่วมกำหนดวางแผนงาน/โครงการ

กิจกรรมการพัฒนา   คือ

๑.  การส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมี  ไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเพื่อ เป็นรายได้เสริม

๒.  ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพปั้นเม็ดใช้เองเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเกษตร  และลดการใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตรกรรม  งบพัฒนาจังหวัดพิจิตร(หมู่บ้านขยายผลศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตร  สิรินธร)

3.  ดำเนินกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4.  สร้างเครือข่ายและขยายผลตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อลดรายจ่ายในพื้นที่เกษตรกรรม

2. ลดการใช้ปุ๋ยเคมี

3. ผลิตปุ๋ยชีวภาพปั้นเม็ดใช้เอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  มูลสัตว์

2.  รำอ่อน                 

3.  รำหยาบ

4.  แกลบดิบ

5.  แกลบดำ

6.  กากน้ำตาล

7.  ถังผสมหัวเชื้อ

8.  ผ้ายางคลุมปุ๋ย 

อุปกรณ์ ->

1. จานปั้นเม็ดปุ๋ย

2. สายพานลำเลียง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีทำ

1.นำแกลบเผาแกลบดำมูลสัตว์ และ รวมถึงวัสดุอื่น ๆ วางเป็นชั้นตามอัตราส่วน

2.ผสมคลุกเคล้าวัสดุแต่ละชนิดให้เข้ากันรดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ

3.กองวัสดุให้เป็นสี่เหลี่ยมอาจมีท่อพีวีซีเก่าหรือไม้ไผ่ที่ทะลวงข้อออกแทงลงในกองวัสดุเป็นช่วง ๆ เพื่อให้อากาศกับจุลินทรีย์ในการย่อยสลายวัสดุได้เร็วขึ้น

4.กองทิ้งไว้ประมาณ 15-30 วันสามารถนำมาใช้ได้(ขึ้นอยู่กับขนาดความชื้นวัสดุที่ทำ

วิธีการอัดเม็ดปุ๋ย

1.นำปุ๋ยหมักใส่เครื่องบดให้ละเอียดเพื่อคัดขนาดตามที่สะดวกในการปั้นเม็ด 1 ส่วน

2.นำปุ๋ยคอกมูลสัตว์เข้าเครื่องบดให้ละเอียดคัดขนาด 1 ส่วน

3.นำวัสดุกองรวมกันเป็นชั้นตามอัตราส่วนโรยหินบดฟอสเฟต 1 กก.ต่อ 1 ตัน

4.นำวัสดุเข้าเครื่องผสมปุ๋ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน

5.ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำอัตราส่วน 20-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นขณะเครื่องทำงาน

6.นำปุ๋ยที่เป็นเม็ดแล้วไปตากในที่ร่มจนแห้งดี จึงบรรจุกระสอบเก็บไว้หรือนำไปใช้ได้เลย ภาพขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด

ข้อพึงระวัง ->

ในการสเปย์น้ำหมักชีวภาพควรสังเกตดูว่าเนื้อปุ๋ยจับเป็นก้อนเล็กๆสวยงามพอดี  ถ้ามากเกินไปจะทำให้จับเป็นก้อนใหญ่เกินไป

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา