ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำนา

โดย : นายเฉลิมชาติ อินเภา วันที่ : 2017-03-01-16:27:02

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 38/2 หมู่ 2 ตำบลโพทะเล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            ความเป็นมา/ข้าวเป็นผลผลิตเกษตรหลักของประเทศไทย มีการปลูกข้าวกระจายทั่วทุกภาค แหล่งผลิตข้าวหลักส่วนใหญ่ผลิตเป็นข้าวเจ้า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก แต่ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตอื่น ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่มีความเข้าใจเล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของการใช้เมล็ดพันธ์ดี ในการผลิตพืชเพราะการผลิตโดยใช้เมล็ดพันธ์ดีมีคุณภาพ จะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง รายได้เพิ่ม ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม

แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ

                จากประสบการณ์การทำอาชีพทำนา เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี ครอบครัวพ่อและแม่มีอาชีพทำนา ได้เคยช่วยงานในด้านนี้ในยุกต์นั้นจาใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ การทำนาปีในแต่ละครั้งผลผลิตที่ได้จะต่ำ ราคาผลผลิตต่ำ และสามารถทำได้ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ต่อมาครอบครัวเลิกอาชีพทำนา และได้หางานทำที่ต่างจังหวัด แลละในช่วงระยะเวลาหนึ่งมีความคิดที่จะกลับมาอยู่ที่บ้านและประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตนเอง นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ จึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่นาและเริ่มทำนาปรังขึ้นถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่อพัฒนาความรู้ในการทำนา
  2. เพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิตในการประกอบอาชีพ
  3. มีรายได้เพิ่มขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

- การเตรียมเมล็ดพันธุ์  ใช่เมล็ดเป็นพันธ์ที่ต้านทานต่อโรคและแมลง
- การเตรียมปุ๋ยชีวภาพ/เคมี

- สารไล่แมลงที่ทำจากพืช

- ฮอร์โมนสำหรับบำรุงต้นข้าว ที่จัดทำเอง

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ส่วนประกอบ

1.      เคียวสำหรับเกี่ยวข้าว

2.      จอบใช้สำหรับการปรับพื้นที่

3.      ภาชนะสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว สำหรับหว่านข้าว

4.      เครื่องมือฉีดพ่นยา/ฮอร์โมน/ปุ๋ย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมเมล็ดพันธุ์  ใช่เมล็ดพันธ์ที่ต้านทานต่อโรคและแมลง อัตราการใช้ จำนวน 20-25 กิโลกรัม/ไร่ การใช้เมล็ดมากเกินไป จะทำให้ต้นข้าวหนาแน่น การถ่ายเทอากาศและความชื้นไม่ดี โรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย

2. การเตรียมดิน ข้าวเป็นพืชตระกูลหญ้า มีระบบรากเป็นระบบรากฝอย กระจายหาอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นข้าว  จำเป็นต้องทำให้ดินร่วนซย โดยไถพรวนเพื่อกลบตอซัง และหมักตอซังเพื่อให้ยิ่ยสลายซึ่งจะเป็นปุ๋ยอย่างดี หมักทิ้งไว้ 3-5 วัน แล้วทำการย้ำดินให้เป็นดินเลน หรือย้ำเทือก และทำการรีดเทือก (การทำให้แปลงนานั้นเรียบและเสมอกันเพื่อสะดวกในการปล่อยน้ำออกจากแปลงนา) 

3. การหว่านเมล็ดพันธ์ข้าวหรือหว่านน้ำตม หลังจากเตรียมดินแล้ว ทิ้งไว้ สัก 1 วันเพื่อให้โคลนเลนตกตะกอน จากนั้นก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว  การหว่านมี 2 แบบ คือหว่านแบบใช้แรงงานคน  และหว่านโดยใช้เครื่องมือทุ่นแรง

4. การให้อาหารกับพืช มี 2 วิธี คือ การฉีดพ่น และการหว่าน

การฉีดพ่น เป็นการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในปัจจุบันทำการฉีดพ่นในแปลงนา โดยการใช้ฮอร์โมนผสมกับน้ำในอัตราที่เหมาะสมโดยฉีดพ่นทางใบ เพื่อเพิ่มอาหารและเร่งการเจริญเติบโต

การหว่าน หมายถึง การนำปุ๋ยที่เป็นเม็ดมาหว่าให้ทั่วแปลงนาเพื่อเพิ่มอาหารทางรากให้กับต้นข้าว เร่งการเจริญเติบโต ก่อนการหว่านปุ๋ยควรควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้เหมาะสมกับอายุของข้าว อย่าให้มีน้ำมากเกินหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าน้ำมากเกินไปจะทำให้ต้นข้าวยืดตัวหรือย่างปล้อง

การหว่านปุ๋ย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1  อายุข้าว 15-20 วัน อัตราที่ใช้ 5-10 กิโลกรัม/ไร่

ระยะที่ 2  อายุข้าว 70-75 วัน อัตราที่ใช้ 5-10 กิโลกรัม/ไร่

          ปัจจุบันมีปุ๋ยสูตรต่างๆ ตามท้องตลาด ร้านค้า มากมายมีทั้งปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ    ควรเลือกใช้อย่างระมัดระวัง

          ประโยชน์ของปุ๋ย ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำนม การใช้ในอัตราที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสียหายจาการทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชข้าวได้

5. การเก็บเกี่ยว

          ในอดีตการเก็บเกี่ยวข้าวจะใช้แรงงานคน มีการช่วยกันเรียกว่า ลงแขกเกี่ยวข้าว หรือจ้างแรงงาน

ปัจจุบันการเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าว การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ โดยใช้รถเกี่ยวใช้เวลาไม่มากนักเพียงวันสองวันก็เกี่ยวเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านเรียก รถงับ หรืออุ้มข้าว

ข้อพึงระวัง ->

การใส่ปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ จำนวนที่พอเหมาะ  

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา