ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การคัดเมล็ดข้าวคุณภาพ

โดย : นายวินัย วงค์จะมาศ วันที่ : 2017-03-24-11:54:55

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 21/4 หมู่ที่ 16 ตำบลหนองโสน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

      ด้วยจากการก่อตั้งสถาบันการเงินชุมชนตำบลหนองโสนเมื่อ วันที่ 4  มิถุนายน  2548 ธนาคาร ธ.ก.ส.ได้สนับสนุน ให้กองทุนหมู่บ้านหมู่ที่ 16 ให้ยกฐานะเป็นสถาบันการเงินชุมชนระดับตำบลขึ้น   โดยการประชาคมและคัดสรรค์ผู้นำชุมชนกลุ่มและองค์กรในระดับตำบลขึ้นเป็นกรรมการและคณะที่ปรึกษา  พร้อมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้ให้การสนับสนุน  จึงทำให้เกิดสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง   ในระดับตำบลแห่งแรกของจังหวัดพิจิตรขึ้นที่ตำบลหนองโสนแห่งนี้และต่อมาคณะกรรมการบริหารได้รวบรวมกลุ่ม   และองค์กรในตำบลเข้ามาร่วมกิจกรรมและปรึกษาหาแนวทางในการจัดตั้งเครือข่ายระดับตำบลขึ้น  เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นระบบถูกต้องเป็นธรรมและโปร่งใสแก่   สมาชิกกลุ่ม  และองค์กรจึงได้จัดตั้งเครือข่ายระดับตำบล  ขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2549 และดำเนินกิจกรรมมาโดยตลอด  โดยมี นายอิน   สงคราม  เป็นประธานเครือข่ายและมีคณะกรรมการจากกลุ่มองค์กรในชุมชนเป็นกรรมการร่วม และได้ดำเนินกิจกรรมเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มต่อกลุ่มสู่ระบบเครือข่ายทั้งในด้านกิจกรรมสาธารณะและกิจกรรม ที่ก่อรายได้สู่ระบบการตลาด การแปรรูป ในเชิงสร้างมูลค่าเพิ่ม  สร้างงานสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม และองค์กร ปัจจุบันมีสำนักงานที่ทำการอยู่ 11 หมู่ที่ 17 ตำบลหนองโสน  อำเภอสามง่าม  จังหวัดพิจิตร

-         ข้าวกล้อง  จำหน่ายกิโลกรัมละ 40 – 60 บาท

-         ข้าวสาร  ราคาตามคุณภาพของข้าวแต่ละชนิด

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อให้เกิดการตลาดซื้อขายร่วมกัน  พึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2.  เพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านคุณภาพสินค้าทั้งในด้านการผลิตและแปรรูป

3.  เพื่อให้เกิดการลงทุนร่วมกันทั้งทุนที่เป็นสินทรัพย์ ทุนทางสังคมและทุนทางจิตใจ

4.  เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในการที่จะแก้ไข  ปรับปรุงพัฒนาศักยภาพของชุมชน

5.  เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี  มีเหตุผลขึ้นภายในชุมชนและองค์กร

6.  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงรักษาสิ่งแวดล้อม  รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี  ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

7.  เพื่อให้เกิดจิตสำนึก  ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  ระบบนิเวศ  มลภาวะที่ได้รับผลกระทบ  จากการกระทำของกลุ่มสมาชิก

8.  เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิด  คุณธรรมความรู้สิ่งแวดล้อม  นำสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนและพอเพียง

9.  เพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ในด้านการตลาด  การผลิต  การแปรรูปอย่างมีคุณภาพ  เข้าใจและเข้าถึง

10.   เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายให้มีระบบการดำเนินงานที่ดีขึ้น  มีการทำงานเป็นทีมรับฟัง  เชื่อฟัง  มีเหตุผลต่อหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย  

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ข้าวเปลือกทั้งข้าวจ้าวและข้าวเหนียว

อุปกรณ์ ->

1. หัวคัดข้าวเปลือก

2. หัวกระเทาะข้าวเปลือก

3. หัวคัดข้าวกล้อง

4. หัวคัดข้าวขาว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.  นำข้าวเปลือกที่แห้งและปราศจากสิ่งเจือปนเทลงกระบะ ข้าวเปลือกจะไหลลงสู่ตะแกงที่คัดข้าว หัวกะเทาะ  สำหรับสิ่งเจือปนต่าง ๆ เช่น ดิน หิน และเศษฟางก็จะแยกออกไปอีกทางหนึ่ง

2.  หัวกระเทาะมีหน้าที่ กระเทาะข้าวซึ่งเป็นลักษณะลูกยางซึ่งหมุนประกบกันสำหรับกระเทาะให้ข้าวแตกเป็นข้าวกล้องแล้วจะไหลออกโดยมีลมของพัดลมดูดเอาแกลบแยกไปอีกทางหนึ่ง

3.  ข้าวกล้องที่กระเทาะแล้วจะไหลลงสู่ตะแกรง ตะแกรงก็จะร่อนคัดแยก  สำหรับเมล็ดที่ไม่ได้กระเทาะจะกลับคืนสู่ที่เดิม  ส่วนข้าวกล้องก็จะไหลไปสู่หัวขัดขาวต่อไป

4.  หัวขัดขาว คือ ขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวสารขาว โดยจะมีพัดลมดูดเอาฝุ่นหรือกากข้าวและอื่น ๆ แยกออกไป ส่วนหนึ่งไปเป็นรำ  และอีกส่วนหนึ่งแยกออกไปเป็นปลายข้าว ส่วนที่เหลือก็จะเป็นข้าวสารขาว ซึ่งเราสามารถจะขัดให้ขาวมากน้อยแล้วแต่ความชอบ

ข้อพึงระวัง ->

1.ต้องระวังเรื่องต้องคัดแยกข้าวที่จะสีเพื่อป้องกันการปน

2.ต้องตรวจสอบเครื่องจักรทุกครั้งก่อนทำงาน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา