ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายยงยุทธ จอยเพ็ง วันที่ : 2017-03-22-08:22:22

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 104 หมู่ที่ 4 ตำบลโพธิ์ประทับช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            ปัจจุบันการทำเกษตร มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องหาวิธีลดค่าใช้จ่าย รวมถึงเรื่องผลกระทบที่เกิดกับชาวบ้านในการนำสารเคมีมาใช้กับการทำไร่ ทำนา ทำสวน จนเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านต้องหาทางเลือกใหม่ เมื่อมีโอกาสได้เรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากเกษตรอำเภอ และนำไปทดลองใช้จนเห็นผลด้วยตัวเอง สามารถลดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในการทำไร่ ทำนา ทำให้เกิดการยอมรับและเริ่มใช้กันมากขึ้น การใช้น้ำหมักชีวภาพถึงแม้จะเห็นผลช้า แต่สามารถลดต้นทุนลงได้ และมีความปลอดภัยต่อตนเองและผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อลดต้นทุนการผลิต

2. เพื่อผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี

3. เพื่อสุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงปลอดภัย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. สมุนไพร จำนวน 30 กิโลกรัม ชนิดที่สามารถไล่แมลงศัตรูพืชได้ เช่น ตระไคร้หอม หางไหล บอระเพ็ด ข่า ฟ้าทลายโจร เปลือกแค หนอนตายหยาก หมาก สะเดา ขิง มะกรูด ตะไคร้ พริกไทย พริก เท่าที่หาได้ในท้องถิ่น

2. กากน้ำตาล จำนวน ๑๐ กิโลกรัม

3. น้ำเปล่า จำนวน ๓๐ ลิตร

4. สารเร่ง พด.7 จำนวน ๑ ซอง
 

อุปกรณ์ ->

1. ถังน้ำหมักที่มีฝาปิดสนิท ขนาด  200  ลิตร                                            

2. ไม้สำหรับคน 

3. มีด  

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำสมุนไพรต่างๆ ที่หามาได้ สับ บด หรือทุบให้ละเอียด หรือเป็นชิ้นเล็กๆ

2. ละลายสารเร่ง พด.7 จำนวน 1 ซอง เข้ากับน้ำจำนวน 30 ลิตร ลงในถังหมักคนให้เข้ากันประมาณ 5 นาที

3. นำสมุนไพรที่ทำการสับ หรือบดไว้แล้ว และกากน้ำตาล ใส่ลงไปในถังหมัก แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดี

4. ปิดฝาถังไม่ต้องสนิทมากนัก หมักทิ้งไว้เป็นเวลานาน 1 เดือน      

5. นำน้ำหมักที่ได้ไปใช้ฉีดพ่นต้นพืช โดยจะต้องนำมาเจอจางก่อน สำหรับพืชไร่ ไม้ผล ให้ใช้ในอัตราส่วน 1:200 คือสารป้องกันแมลง 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร สำหรับพืชผัก และไม้ดอก ให้ใช้ในอัตราส่วน 1:500 โดยฉีดให้ทั่วทุก 20 วัน แต่ถ้าช่วงนั้นแมลงระบาดหนัก ให้ฉีดทุก 3 วันติดต่อกัน 3 ครั้ง เพียงเท่านี้แมลงก็จะไม่กล้ามารบกวนพืชให้เสียหายแล้ว

ข้อพึงระวัง ->

1. การทำน้ำหมักชีวภาพควรหมักให้ได้ที่ก่อนนำไปใช้ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดเชื้อรา เพราะน้ำตาลที่เหลืออยู่จุลินทรีย์ใช้ไม่หมด

2. อย่าใช้สารเคมีผสมร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในการฉีดพ่นพืชผัก

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา