ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำเปลยวน

โดย : นางเสาวภา มีแก้ว วันที่ : 2017-03-21-14:04:39

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 110/1 หมู่ที่ 2 ตำบลวังโมกข์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           ผ้าใยสังเคราะห์เป็นผ้าที่มีความเหนียวและทนทาน สามารถนำมาทำเป็นเปลยวน จึงคิดค้นเอามาดัดแปลงถักเป็นเปลยวน โดยประโยชน์ของเปลยวนนั้นใช้นอนพักผ่อน ใช้นวดตัว มีความเหนียวนุ่มและทนทาน สามารถนำไปซักกับเครื่องซักผ้าก็ได้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำเองแบบง่ายๆ และต่อมาตัวดิฉันนั้นได้ทำการฝึกฝนมีการพัฒนาการทำเปลยวนอย่างต่อเนื่อง จนได้ไปขึ้นทะเบียน OTOP และได้เห็นถึงความสำเร็จของพัฒนาอาชีพของตนเอง ดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาสิ่งใหม่ๆนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและต่อมาได้ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถที่ตนเองมีอยู่ให้กับเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ประชาชนในหมู่บ้าน และผู้สนใจ เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อเกิดการรวมกลุ่ม สร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับครัวเรือน

2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชน เกิดความรัก ความสมัครสมาน สามัคคีและการพัฒนาหมู่บ้านให้เข้มแข็งต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เศษผ้าที่มีความเหนียว นุ่ม ทนทานต่อการใช้งาน

อุปกรณ์ ->

1. ผ้าที่ใช้ถักเปลยวน

2. ไม้จีม

3. ผ้าใยสังเคราะห์สำหรับใช้ทำหูเปล

4. ไม้กระดานทำหูเปลตอกเหล็กสองข้างเพื่อเอาไว้ถักหูเปล

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ม้วนผ้าใส่ไม้ให้เต็ม ให้ได้จำนวน 2 ม้วน จะได้เปล 1 อัน

2. ทำหูเปลให้ได้ 12 รอบ  หรือตามต้องการ และเอาผ้าชิ้นเล็กๆมัดไว้ตรงกลาง เพื่อไม่ให้แตกกระจาย และพันผ้าใส่ศอกให้ได้ 4 ศอก ตัดออกเพื่อทำการถักหูเปล แล้วดึงผ้าให้ตึง

3. เอาหูเปลที่เตรียมไว้มัดกับเสา และคลี่หูเปลออกเพื่อไม่ให้ติดกัน และง่ายต่อการถัก

4. มัดหูเปลไว้กับเสาอีกข้างหนึ่ง และทำการดึงไว้ให้ตึง และถักให้ได้ 7 ตาแล้วทำการถักติดกับหูเปลอีกข้างหนึ่งจนเสร็จ  ได้เปลยวนที่สมบูรณ์พร้อมที่จะบรรจุและจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

         เวลาถักต้องรวบผ้าเปลเข้าหากัน โดยการดึงผ้าเปลต้องดึงให้เสมอกันและตึง 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา