ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทอผ้า

โดย : นางมณี น้อยบัวทิพย์ วันที่ : 2017-03-21-13:04:16

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 10 ตำบลเนินสว่าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ตนเองเป็นชาวอีสาน มีความรู้พื้นฐานการทอผ้าจากบรรพบุรุษอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะทอผ้าไว้ใช้เองในครัวเรือน ต่อมาปี ๒๕๔๗ ตนเองเกิดความคิดว่า อยากให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และที่สำคัญยังเป็นการอนุรักษ์               ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ประกอบกับ กศน.อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้จัดทำแผนสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพในแต่ละตำบล โดยตำบลเนินสว่าง หมู่ที่ 10 เรื่องการทอผ้าเบื้องต้น จึงเริ่มเติบโตขึ้นเป็นระยะๆ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนฟื้นฟู การทอผ้าและการซ่อมแซม กี่กระตุกที่ชำรุด จากหน่วยงานต่างๆ จนเกิดการรวมกลุ่มทอผ้าขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อรักษาการทอผ้าและแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

3. เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เส้นไหม

2. ด้ายประดิษฐ์เบอร์ 40/2

อุปกรณ์ ->

1. ด้ายยืน

2. ด้ายพุ่ง

3. กี่กระตุก

4. เครื่องค้นด้าย

5. ฟันฟืม หรือฟันหวี

6. ไม้ม้วน

7. ตะกอ (มีไว้สำหรับให้เส้นด้ายสอดขึ้นลง)

8. กรรไกร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เตรียมด้ายยืน โดยใช้ด้ายประดิษฐ์เบอร์ 40/2 ที่ย้อมสำเร็จแล้วนำมาปั่นเข้าหลอด   เมื่อเข้าหลอดเรียบร้อยแล้วก็เตรียมตั้งเป็นร้านเพื่อเดินด้ายเข้ารูปโครง

2. ขั้นตอนการเตรียมด้ายพุ่ง โดยการเข้ารูปโครงให้เสร็จก่อน และต้องคำนวณดูว่าจะใช้กี่เมตร เมื่อคำนวณได้แล้วก็จะหาความกว้าง ความยาว ได้ความยาว ความกว้างแล้วก็จะเตรียมเข้าฟันหวีต่อไป

3. การจัดเส้นด้ายเข้ารูปโครง เมื่อได้ความกว้าง ความยาวแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เตรียมด้ายเข้าฟันหวีหรือเรียกอีกอย่างว่าฟันฟืม

4. การเก็บตะกอ ต้องตรวจเส้นด้ายที่ม้วนม้าว่าไม่ผิด คือต้องมีเส้นบน เส้นล่าง และ เส้นบนต้องอยู่บนเส้นล่างต้องอยู่ล่าง ตะกออันนี้เวลาเหยียบเส้นด้ายจะมีการขับกันขึ้นลงที่จะทออกมาเป็นผืนผ้า 

5. การนำเข้ากี่  จะใช้ม้วนด้ายที่ได้เตรียมไว้ นำเข้าไปในกี่ประกอบให้เรียบร้อย ผูกตะกอมัดโยงทั้งข้างบน ข้างล่างจนเรียบร้อยก็เตรียมทอได้เลย

6. การเตรียมทอ คือ การเตรียมด้ายพุ่ง นำมาเข้าระวิง เพื่อจะกรอใส่หลอดเล็กๆ เมื่อกรอเสร็จแล้วก็จะนำเข้ากระสวยสำหรับนำมาทอผ้าต่อไป การทอผ้า ถ้าเป็นผ้าสีธรรมดาก็จะพุ่งด้ายได้เร็วมาก แต่ถ้าเป็นการทอผ้ามัดหมี่ ต้องมาเรียง มาจัดลายที่ต้องการ เข้าดอก เข้ารูป เข้าทรง แต่ถ้าเป็นผ้าขาวม้า จะใช้วิธีสลับสี สลับลาย คือ เปลี่ยนกระสวยไปเรื่อย ๆ

7. การค้นด้ายจากหลัก ประกอบด้วยอุปกรณ์ร้านที่ตั้งด้าย ร้านที่เป็นลูกหลักสำหรับพันด้าย จากนั้นดึงเส้นด้ายไปพันกับหลักพันด้ายบนร้านตั้งลูกหลัก

8. สอดฟันฟืม ถ้าใช้ฟืมห่างด้ายเส้นยืนจะบางเนื้อผ้าไม่แน่น ถ้าใช้ฟืมถี่เนื้อผ้าจะแน่นละเอียด การสอดฟันฟืมจะต้องใช้ 2 คน คนแรกเป็นคนส่งด้าย โดยให้ด้ายเกี่ยวกับตะขอส่งให้อีกคน ซึ่งจะเป็นคนนำเส้นด้ายมาสอดดับฟืม จากนั้นส่งกลับให้คนส่งด้าย ทำแบบนี้เรื่อยไปจนกว่าด้ายจะหมด

9. การม้วน ประกอบด้วยอุปกรณ์ ไม้ม้วน 1 อัน ร้านตั้งด้ายที่จะม้วน เอาม้วนด้ายมาวางแล้ว นำฟืมมาคั่น จากนั้นลากฟืมม้วนใส่ไม้ม้วน

10. วิธีตะกอ พันด้ายใส่ไม้เวลาเหยียบทำให้ด้ายสลับขึ้นลงเวลาทอ

11. การทอ เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ การกระทบ ฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา

12. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ

ข้อพึงระวัง ->

1. การนำเข้าม้าม้วนเราต้องตรวจสอบฟันหวีดูว่า ฟันหวีจะต้องครบไม่มีการขาด ไม่มีการเกิน เพราะจะทำให้ผ้าเกิดมีตำหนิได้

2. การตรวจสอบเส้นด้าย เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมคุณภาพของเส้นด้ายให้สม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเส้นด้ายขาดในระหว่างการทอผ้า

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา