กลับไปหน้าค้นหา

นายมานพ จุ้ยแดง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 548 หมู 18 ตำบล : รับร่อ อำเภอ : ท่าแซะ จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปวส.
ประวัติ :

บ้านบางฝนตก  เป็นชุมชนหนึ่งในเขตตำบลรับร่อ  อำเภอท่าแซะ  จังหวัดชุมพร  มีพื้นที่ตั้งใกล้หมู่บ้านชายแดนไทย – พม่า  อาชีพหลักของประชาชน  คือ ทำสวนกาแฟ  สวนทุเรียน  ซึ่งได้รับผลผลิตเพียงปีละ  1  ครั้ง  เมื่อเกษตรกรว่างเว้นจากการทำสวนกาแฟ  ทุเรียน  จึงเกิดปัญหาการว่างงานทำให้ประชาชนต้องออกไปรับจ้างนอกพื้นที่  ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่าง ๆ  อีกทั้งบ้านบางฝนตก  หมู่ที่  18  เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  “ระดับพออยู่  พอกิน”  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนใกล้เคียง  ประชาชนจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยหมักจากเปลือกกาแฟ  เพื่อลดรายจ่ายในการผลิต  ส่วนที่เหลือจึงไว้จำหน่าย


ความสำเร็จ :

ความขยันและอดทน


ความชำนาญ : การทำปุ๋ยหมักจากเปลือกกาแฟ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • บ้านบางฝนตก  เป็นชุมชนหนึ่งในเขตตำบลรับร่อ  อำเภอท่าแซะ  จังหวัดชุมพร  มีพื้นที่ตั้งใกล้หมู่บ้านชายแดนไทย – พม่า  อาชีพหลักของประชาชน  คือ ทำสวนกาแฟ  สวนทุเรียน  ซึ่งได้รับผลผลิตเพียงปีละ  1  ครั้ง  เมื่อเกษตรกรว่างเว้นจากการทำสวนกาแฟ  ทุเรียน  จึงเกิดปัญหาการว่างงานทำให้ประชาชนต้องออกไปรับจ้างนอกพื้นที่  ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่าง ๆ  อีกทั้งบ้านบางฝนตก  หมู่ที่  18  เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  “ระดับพออยู่  พอกิน”  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนใกล้เคียง  ประชาชนจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยหมักจากเปลือกกาแฟ  เพื่อลดรายจ่ายในการผลิต  ส่วนที่เหลือจึงไว้จำหน่าย

  • อุปกรณ์



    1.  ถุงพลาสติกหรือถุง



    2.  จอบ



    3.  บัวรดน้ำ



    วัตถุดิบ



    1.  เชื้อเร่งปุ๋ยหมัก  พด 1  จำนวน   1  ซอง



    2.  ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์   จำนวน 200  กิโลกรัม



    3.  ปุ๋ยยูเรีย    จำนวน   2   กิโลกรัม



    4.  แกลบกาแฟ   จำนวน   1,000  กิโลกรัม  หรือ    1  ตัน



    ขั้นตอนการผลิต



    1.  เตรียมเปลือกกาแฟแห้ง  ทำให้ชื้นด้วยการรดน้ำและคลุกเคล้าให้ทั่วถึง



    2.  ใส่เชื้อ  พด.1  ลงในถังน้ำ ใส่น้ำ  20  ลิตร  คนและทิ้งไว้  10 - 15  นาที



    3.  นำเปลือกกาแฟที่เตรียมไว้มากองให้กล้าง   2  เมตร  ยาว  2 - 3  เมตร  ย้ำให้แน่นสูง  30 - 40  เซนติเมตร  โดยมูลสัตว์ให้ทั่วบนพื้นผิวแกลบกาแฟ  ถ้ามูลสัตว์แห้งควรรดน้ำให้ทั่วถึง  โดยปู๋ยยูเรียแล้วราดน้ำละลาย  พ.ด. 1  ที่เตียมไว้ให้ทั่วผิวหน้ากอง



    4.  ทำซ้ำจนให้ครบ  4 - 5 ชั้น  หรือสูง  1 - 1.5  เมตร



    5.  ชั้นบนสุดให้ทับด้วยเปลือกกาแฟ



    6.  คลุมผ้าพลาสติก  เพื่อรักษาความชื้นและกันฝนชะล้าง



    7.  ในช่วงเดือนแรกกลับกองปุ๋ยทุก  7 - 10  วัน  ในเดือนที่   2 - 3 กลับเดือนละ  2  ครั้ง  ถ้ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปให้รดน้ำด้วยขณะกลับกอง



    8.  ปุ๋ยหมักเปลือกกาแฟจะใช้ได้ต่อเมื่อปุ๋ยหมักมีสีดำคล้ำ  ไม่มีกลิ่น  ไม่ร้อน  หรือประมาณ  4  เดือน



    ข้อควรระวัง



    1.  ปุ๋ยหมักที่ทำเสร็จแล้ว  ควรรีบนำไปใช้  หรือเก็บไว้ในถุงที่มีการผูกมิดชิด  เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธฺ์ของแมลงศัตรูพืชบางชนิด  เช่น  ด้วงปาล์ม



    2.  การทำปุ๋ยหมักบางพื้นที่มีฝนตกล่อย  กองปุ๋ยจะแฉะและย่อยสลายช้ากว่าปกติ  หากจะทำควรคลุมด้วยพลาสติกไม่ควรทำในที่แจ้ง  หรือทำในโรงเรือนที่ป้องกันฝน

  • ความขยันและอดทน

  • ข้อเสนอแนะ



    ปริมาณการใช้ปุ๋ยหมัก  ใช้ประมาณ  3 - 5  กิโลกรัม/ต้น    ใช้ปีละ  1  ครั้ง  และสามารถใช้กับผลไม้ยืนต้นทั่วไป

  • -
  • -