กลับไปหน้าค้นหา

นายประสงค์ คอนกำลัง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 32/2 หมู 6 ตำบล : บางหมาก อำเภอ : เมืองชุมพร จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปวส.
ประวัติ :

 จากการที่บริบทชุมชนเปลี่ยนไปจากการทำนามาเป็นทำสวนปาล์ม ประสบปัญหาในเรื่องดิน คือดินจะเป็นดินเปรี้ยว ทำให้ผลผลิตน้อย และมีค่าใช้จ่ายสูง ประกอบกับสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดชุมพร ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยการสอนให้ทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง เมื่อใช้แล้วเห็นว่าดินมีสภาพดีขึ้น และยังลดต้นทุน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้รณรงค์ให้คนในชุมชนได้มาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ และรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน 


ความสำเร็จ :

จากการนำปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้ผลิตใช้เอง ทำให้คนในชุมชนสามารถลดต้นทุนการผลิต สามารถลดรายจ่าย และทำให้ดินดีขึ้น จนเป็นที่นิยมของคนในหมู่บ้านและภายในตำบล


ความชำนาญ : ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •  จากการที่บริบทชุมชนเปลี่ยนไปจากการทำนามาเป็นทำสวนปาล์ม ประสบปัญหาในเรื่องดิน คือดินจะเป็นดินเปรี้ยว ทำให้ผลผลิตน้อย และมีค่าใช้จ่ายสูง ประกอบกับสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดชุมพร ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยการสอนให้ทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง เมื่อใช้แล้วเห็นว่าดินมีสภาพดีขึ้น และยังลดต้นทุน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้รณรงค์ให้คนในชุมชนได้มาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ และรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน 

  • ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ 1 ตัน ประกอบด้วย




    1. มูลไก่ 500  กก.

    2. หินฟอสเฟต  500 กก.

    3. รำ 100 กก.

    4. ปลาป่น 100 กก.

    5. กากน้ำตาล  30  กก.

    6. สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 จำนวน 1 ซอง

    7. สารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 จำนวน 1 ซอง



    ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพคุณภาพสูง



              1) ผสมวัตถุดิบให้เข้ากัน ตามอัตราส่วน



              2) นำสารเร่งซุปเปอร์ พอ.1 มาละลายน้ำ จำนวน 200 ลิตร เทลงในวัตถุโดยคลุกเคล้าให้ทั่วอย่างสม่ำเสมอ



              3) นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 หมักกับกากน้ำตาล 30 กก. ผสมน้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 3 วัน แล้วนำมาฉีดบนกองปุ๋ยที่กองหมักไว้ ประมาณ 40 – 45 วัน แต่ต้องกลังกองทุก 7 – 10 วัน/ครั้ง กองปุ๋ยไว้จนกระทั่งอุณหภูมิลดลงเท่ากับภายนอกกอง สามารถนำไปใช้ได้



     



     

  • จากการนำปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้ผลิตใช้เอง ทำให้คนในชุมชนสามารถลดต้นทุนการผลิต สามารถลดรายจ่าย และทำให้ดินดีขึ้น จนเป็นที่นิยมของคนในหมู่บ้านและภายในตำบล

  • -
  • รางวัลประเภทกลุ่มองค์กรดีเด่นระดับภาค (ปปส.ภาค 8) กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านดอนไทรงาม



    รางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2558



    รางวัลกลุ่มองค์กรดีเด่นระดับจังหวัด ปี 2559 



     

  • -