กลับไปหน้าค้นหา

นายชัยวิชิต เพ็งหัวรอ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 141 หมู 3 ตำบล : วัดพริก อำเภอ : เมืองพิษณุโลก จังหวัด: พิษณุโลก
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปวส.
ประวัติ :

เนื่องมาจากมีความต้องการอยากรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้ และเริ่มศึกษาหาข้อมูลตามช่องทางต่างๆที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง จึงพบว่าการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์และเศษวัชพืชรวมไปถึงเศษอาหารที่กินเหลือในทุกวันสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้จริง โดยค้นหาข้อมูลตามอินเตอร์เน็ต และศึกษาตามแหล่งที่มีการเปิดสอนตามงานต่างๆ เช่น งานนิทรรศการต่างๆ ตามโรงเรียน ตามชุมชน และตามหน่วยงานที่สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นทางภาครัฐหรือภาคเอกชน  และหมู่บ้านยางโทน หมู่ที่ ๓ ตำบลวัดพริก อำเภอเมืองพิษณุโลก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 255๘ (งบเพิ่มเติม) ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองพิษณุโลก      โดยพัฒนากรประจำตำบล ร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัดพิษณุโลก ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้การสนับสนุนในด้านของวัสดุอุปกรณ์พร้อมวิทยากรให้ความรู้/สาธิตในการติดตั้งบ่อก๊าซชีวภาพ จนประสบความสำเร็จ สามารถขยายผลและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนได้อีกด้วย


ความสำเร็จ :

เรื่องเทคนิคต่างๆอยู่ในระดับดีและสามารถแบ่งปันได้ ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของทุกฝ่ายแล้วในเรื่องข้อผิดพลาดน้อยมาก โดยได้เก็บข้อมูลจริงจากการปฏิบัติ เพื่อเป็นเทคนิค/ข้อพึงระวัง ดังนี้



                ข้อดี        -    ก๊าซที่ใช้ไม่สามารถระเบิดติดไฟได้




  • ปริมาณก๊าซมีเพิ่มขึ้นทุกวัน เมื่อเราเติมเชื้อจะมีทันที

  • ช่วยประหยัดในการซื้อก๊าซหุงต้มได้ถึง 5 ปี

  • บ่อล้นที่ดักมูลสัตว์สามารถใช้เป็นปุ๋ยรดน้ำต้นไม้ได้อีกด้วย



ข้อจำกัด -   ในระยะเริ่มแรก จะมีกลิ่นจากเศษอาหาร/มูลสัตว์ ประมาณ 1-2 เดือน




  • ไม่สามารถสังเกตุเห็นเปลวไฟได้ในแสงแดด

  • ตัวบ่อมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการ แต่พื้นที่ในการติดตั้งน้อย


ความชำนาญ : ด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับพลังงานทดแทน


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เนื่องมาจากมีความต้องการอยากรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้ และเริ่มศึกษาหาข้อมูลตามช่องทางต่างๆที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง จึงพบว่าการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์และเศษวัชพืชรวมไปถึงเศษอาหารที่กินเหลือในทุกวันสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้จริง โดยค้นหาข้อมูลตามอินเตอร์เน็ต และศึกษาตามแหล่งที่มีการเปิดสอนตามงานต่างๆ เช่น งานนิทรรศการต่างๆ ตามโรงเรียน ตามชุมชน และตามหน่วยงานที่สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นทางภาครัฐหรือภาคเอกชน  และหมู่บ้านยางโทน หมู่ที่ ๓ ตำบลวัดพริก อำเภอเมืองพิษณุโลก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 255๘ (งบเพิ่มเติม) ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองพิษณุโลก      โดยพัฒนากรประจำตำบล ร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัดพิษณุโลก ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้การสนับสนุนในด้านของวัสดุอุปกรณ์พร้อมวิทยากรให้ความรู้/สาธิตในการติดตั้งบ่อก๊าซชีวภาพ จนประสบความสำเร็จ สามารถขยายผลและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนได้อีกด้วย

  • วิธีการในการเริ่มต้นการทำบ่อก๊าซชีวภาพ



    - เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้โดยมีดังนี้



    ๑. ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ที่มีความหนาสำหลับบรรจุก๊าซ (ที่ใช้เฉพาก๊าซเท่านั้น)



    ๒. บ่อวงซีเมนต์ขนาด ๘๐ - ๑๐๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ วง



    ๓. ปูนซีเมนต์ ๑ ลูก



    ๔. ทรายหยาบ ๒ - ๓ ถังสี



    ๕. ไม้ไผ่สำหรับยึดท่อ ๘ ท่อน โดยมีขนาดความยาว ๖๐ เซนติเมตร ๔ ท่อน ๑๕๐ เซนติเมตร ๔ ท่อน



    ๖. วาล์วเปิด/ปิดขนาด ๔ หุน  ๓ ตัว



    ๗. หัวแก๊สสำหรับต่อก๊าซโดยเฉพาะ ๑หั ว



    ๙. ขวดน้ำดื่มพลาสติก ๑ ใบ



    ๑๐. ท่อพีวีซีสำหรับต่อไปใช้ ขนาด ๔ หุน



     



     



                    - ขนาดความกว้าง,ความยาว,ความลึก



    กว้างเท่ากับ ๑๕๐ เซนติเมตร, ความยาวเท่ากับ ๓๘๐ เซนติเมตร, ความลึกเท่ากับ ๗๐ - ๘๐เซนติเมตร



                    พอได้อุปกรณ์ตามที่ต้องการแล้วให้ขุดดินตามแบบให้ได้ขนาดที่เตรียมไว้ตามรูปภาพประกอบด้านหลัง



                    - ข้อควรระวังในการขุด อย่าขุดบ่อดินใหญ่เกินขนาดเพราะจะทำให้ถุงบรรจุก๊าซออกมาไม่สวยและแบน



                    - บ่อเติมกับบ่อล้นจะต้องถ่ายระดับให้สูงกว่ากันไม่น้อย ๒๐-๓๐ เซนติเมตร



                    - ขวดพลาสติกต้องคอยเติมน้ำไม่ให้ต่ำกว่าระดับที่กำหนด



                    - การเป่าลมใส่ถุงก๊าซในตอนแรกต้องใช้ลมจากท่อไอเสียเท่านั้นเพราะจะทำให้เกิดก๊าซเร็วขึ้น



                    - การเติมมูลสัตว์ให้เติมต้องไม่น้อยกว่า ๒๐-๒๕ ถังสี

  • เรื่องเทคนิคต่างๆอยู่ในระดับดีและสามารถแบ่งปันได้ ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของทุกฝ่ายแล้วในเรื่องข้อผิดพลาดน้อยมาก โดยได้เก็บข้อมูลจริงจากการปฏิบัติ เพื่อเป็นเทคนิค/ข้อพึงระวัง ดังนี้



                    ข้อดี        -    ก๊าซที่ใช้ไม่สามารถระเบิดติดไฟได้




    • ปริมาณก๊าซมีเพิ่มขึ้นทุกวัน เมื่อเราเติมเชื้อจะมีทันที

    • ช่วยประหยัดในการซื้อก๊าซหุงต้มได้ถึง 5 ปี

    • บ่อล้นที่ดักมูลสัตว์สามารถใช้เป็นปุ๋ยรดน้ำต้นไม้ได้อีกด้วย



    ข้อจำกัด -   ในระยะเริ่มแรก จะมีกลิ่นจากเศษอาหาร/มูลสัตว์ ประมาณ 1-2 เดือน




    • ไม่สามารถสังเกตุเห็นเปลวไฟได้ในแสงแดด

    • ตัวบ่อมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการ แต่พื้นที่ในการติดตั้งน้อย

  • -
  • ได้ถูกคัดเลือกที่ปรึกษาของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงตำบล

  • -