กลับไปหน้าค้นหา

นางลัดดาวรรณ มีลักษณ์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 6 หมู 1 ตำบล : น้ำรอบ อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

ได้รับการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงปลาในกระชังจากบิดา เนื่องจากบ้านอยู่ริมแม่น้ำพุมดวง และก็ได้เลี้ยงสืบทอดต่อมา


ความสำเร็จ :

เลือกพื้นที่ของน้ำ เลือกพันธ์ปลาจากแหล่งที่มีคุณภาพ              


ความชำนาญ : เลี้ยงปลากระชัง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ได้รับการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงปลาในกระชังจากบิดา เนื่องจากบ้านอยู่ริมแม่น้ำพุมดวง และก็ได้เลี้ยงสืบทอดต่อมา

  •         การเลี้ยงปลาในกระชัง      เป็นการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ      อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น สามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ



                    การเลือกสถานที่



                                    ควรเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดี  มีความอุดมสมบูรณ์ น้ำต้องใสสะอาด



    การจัดการเลี้ยงโดยใช้อาหารเป็นหลัก คุณภาพน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชัง



                  การถ่ายเทของกระแสน้ำ



                                การเลี้ยงปลาในกระชังจะอาศัยการถ่ายเทน้ำผ่านกระชังเพื่อพัดเอาน้ำดี เข้ามาและไล่เอาของเสียออกไปนอกกระชัง เสมือนมีการเปลี่ยนน้ำใหม่เพื่อให้น้ำมีคุณภาพตลอดเวลา ดังนั้น บริเวณที่เลี้ยงปลาในกระชังจึงควรมีกระแสน้ำและลม เพื่อช่วยให้การหมุนเวียนของน้ำ บริเวณที่แขวนกระชัง มีการถ่ายเทหมุนเวียนได้ดี                  



     



                             ความลึกของแหล่งน้ำ



                                  ระดับพื้นของกระชังควรสูงจากพื้นน้ำไม่น้อย กว่า 50 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำถ่ายเทได้ดีตลอดเวลา



                             ห่างไกลจากสิ่งรบกวน



                                  สถานที่ตั้งของกระชังควรห่างจากแหล่งชุมชน เพื่อป้องกันการรบกวนเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตตามปกติของปลาที่เลี้ยงหรือเป็น โรคติดเชื้อจากบาดแผลที่เกิดจากปลาว่ายชนกันเกิดขึ้นได้



                              การสร้างกระชัง



                                  กระชังที่ใช้เลี้ยงปลามีรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปกลม เป็นต้น รูปร่างของกระชังจะมีผลต่อการไหลผ่านของกระแสน้ำที่ถ่ายเทเข้าไปในกระชัง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเท่ากันๆ กระชังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะมีพื้นที่ผิวที่ให้กระแสน้ำไหลผ่านได้มากกว่า กระชังรูปแบบอื่นๆ



                                ขนาดกระชัง



                                  ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ขนาดพื้นที่ที่แขวนกระชัง ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ขนาดกระชังที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ กระชังสี่เหลี่ยม ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.5 หรือ 2 x 2 x 2.5 เมตร     กระชังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4 x 2 x 2.5 เมตร



                                  สำหรับต้นทุนค่าสร้างกระชัง ต้นทุนต่อปริมาตรจะลดลงเมื่อขนาดของกระชังใหญ่ขึ้นแต่ผลผลิตต่อปริมาตรก็จะ ลดลงด้วย เนื่องจากกระชังใหญ่กระแสน้ำไม่สามารถหมุนเวียนได้ทั่วถึง ความลึกของกระชังส่วนใหญ่ที่ใช้จะมีความลึก 2.5 เมตร เมื่อลอยกระชังจะให้กระชังจมอยู่ในน้ำเพียง 2.2 เมตร โดยมีส่วนที่โผล่พ้นน้ำประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร ความลึกของกระชังมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาเช่นกัน ปกติระดับออกซิเจนทีละลายในน้ำจะสูงบริเวณผิวน้ำ ที่ระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำเพียง 50 - 70 % ของปริมาณออกซิเจนที่ผิวน้ำเท่านั้น ดังนั้น การสร้างกระชังไม่ควรให้ลึกเกินไป เนื่องจากปลาจะหนีลงไปอยู่ในส่วนที่ลึกซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำ และจะส่งผลให้ปลากินอาหารน้อยมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ       นอกจากนี้บริเวณผนังกระชังด้านบน ควรใช้มุ้งเขียวขนาดความกว้างประมาณ 90 เซนติเมตร ขึงทับไว้เพื่อป้องกันมิให้อาหารหลุดออกนอกกระชังในระหว่างการให้อาหาร



                             การให้อาหาร และการจัดการระหว่างการเลี้ยง



                                      การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลา แบบพัฒนา (intensive) หรือกึ่งพัฒนา (semi - intensive) เน้นการให้อาหารเพื่อเร่งผลผลิตและการเจริญเติบโต จึงควรจะใช้อาหารที่มีคุณค่าทางโปรตีนค่อนข้างสูงและเหมาะสมกับความต้องการ ของปลาแต่ละขนาด ปัจจัยที่สำคัญควรนำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการให้อาหารปลาในกระชัง ได้แก่



                           ระดับโปรตีนในอาหาร ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของปลาที่มีอายุต่างกันจะแตก ต่างกัน สำหรับลูกปลาวัยอ่อน (Juvenile) และลูกปลานิ้ว (Fingerling) จะต้องการอาหารทีมีระดับโปรตีนประมาณ 30 - 40 % แต่ในปลาใหญ่จะต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 25 - 30 %



                           เวลาในการให้อาหาร เนื่องจากปลาจะกินอาหารได้ดี เมื่อมีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูงจะเป็นช่วงเวลากลางวัน ดังนั้นส่วนใหญ่จึงควรให้อาหารในช่วงเวลาดังกล่าว



                          ความถี่ในการให้อาหาร



                          เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารเม็ดสูงสุดจึงควรให้อาหารแต่น้อย แต่ให้บ่อยๆ โดยความถี่ที่เหมาะสมคือ ปริมาร 4 - 5 ครั้งต่อวัน จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตและทำให้ผลตอบแทนในเชิงเศรษฐศาสตร์สูงสุด



                           อัตราการให้อาหาร



                          ปริมาณ อาหารที่ให้ปลากินจะขึ้นอยู่กับขนาดของปลาและอุณหภูมิ หากอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นจะทำให้อัตราการกินอาหารของปลาสูงขึ้นตามไปด้วย อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมประมาณ 25 - 30 องศาเซลเซียส ควรให้อาหาร 20 % ของน้ำหนักปลา สำหรับปลาขนาดเล็กในปลารุ่นอัตราการให้อาหารจะลดลงเหลือ ประมาณ 6 - 8 % และสำหรับปลาใหญ่ อัตราการให้อาหารจะเหลือเพียง ประมาณ 3 - 4 %



                           การจัดการระหว่างการเลี้ยง



                           ควรมีการ ตรวจสอบกระชังเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทุกๆ สัปดาห์ รวมทั้งสุ่มปลามาตรวจสอบน้ำหนักเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ได้อย่างเหมาะสม

  • เลือกพื้นที่ของน้ำ เลือกพันธ์ปลาจากแหล่งที่มีคุณภาพ              

  • -
  • -
  • -