กลับไปหน้าค้นหา

นายกิตติพงษ์ มุงธิสาร

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 65 หมู 4 ตำบล : ท่าดอกคำ อำเภอ : บึงโขงหลง จังหวัด: บึงกาฬ
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปริญญาตรี
ประวัติ :

ปราชญ์ เล่าว่าเดิมตนเองชอบการเพาะปลูก พืชผักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  ได้ตระหนักถึงผลกระทบจาการใช้สารเคมี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  และจากประสบการณ์ ที่ได้จบการศึกษาหลักสูตรโภชนาการ จึงได้นำหลักการมาปรับปรุง ประยุกต์ใช้กับการปลูกพืชผัก จนประสบผลสำเร็จ ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่กระบวนการ เตรียมดิน โดยใช้หลักการโภชนาการ ในการดูแล รักษาพืชผักที่



 ปราชญ์ ได้ดำเนินกิจกรรมปลูกผักปลอดภัยสารพิษเป็นกิจกรรมหลักนำองค์ความรู้เทคนิคที่ได้รับจากการศึกษาฯ หลักการของโภชนาการด้านอาหาร มาประยุกต์ใช้ ตลอดจนนำหลักวิชาการสมัยใหม่มาปรับใช้ ได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศักยภาพ การให้ผลผลิตของพืชผักสายพันธุ์ต่างๆ จากบริษัทเมล็ดพันธุ์ผักของเอกชนทำให้เกษตรกรมีความรู้และแนวทางเลือกที่ดี ในการนำพันธุ์พืชมาปลูกในพื้นที่ ร่วมกับการวางแผนการผลิต การคัดเลือกสายพันธุ์ ชนิดพืชที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรค เหมาะสมในแต่ละฤดูกาลสอดคล้องกับความต้องการของตลาด  โดยผลิตเป็นรุ่นๆให้มีความหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงของราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ตลอดจนหลีกเลี่ยงปัญหาผลผลิตล้นตลาด พืชหลักที่ปลูกหมุนเวียนสร้างรายได้ ประกอบด้วย พริก บวบ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บำรุงพืชผักและบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่มาดำเนินการ จัดสรรพื้นที่เพื่อให้มีกิจกรรมเกษตรต่างๆสร้างเป็นแหล่งอาหารและเกื้อกูลประโยชน์ต่อกิจกรรมการเพาะปลูก และที่สำคัญเกษตรกรได้จัดตั้งโรงผลิตปุ๋ยหมักที่มีกำลังการผลิตสามารถใช้ในพื้นที่และจำหน่ายสร้างรายได้เป็นอย่างดี


ความสำเร็จ :

ใช้หลักความเข้าใจ หลักโภชนาการ ในการดูแลบำรุงรักษา พีชผักที่ปลูกใช้อินทรีย์กว่า ๘๐ เปอร์เซ็น 


ความชำนาญ : เพาะปลูก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ปราชญ์ เล่าว่าเดิมตนเองชอบการเพาะปลูก พืชผักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  ได้ตระหนักถึงผลกระทบจาการใช้สารเคมี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  และจากประสบการณ์ ที่ได้จบการศึกษาหลักสูตรโภชนาการ จึงได้นำหลักการมาปรับปรุง ประยุกต์ใช้กับการปลูกพืชผัก จนประสบผลสำเร็จ ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่กระบวนการ เตรียมดิน โดยใช้หลักการโภชนาการ ในการดูแล รักษาพืชผักที่



     ปราชญ์ ได้ดำเนินกิจกรรมปลูกผักปลอดภัยสารพิษเป็นกิจกรรมหลักนำองค์ความรู้เทคนิคที่ได้รับจากการศึกษาฯ หลักการของโภชนาการด้านอาหาร มาประยุกต์ใช้ ตลอดจนนำหลักวิชาการสมัยใหม่มาปรับใช้ ได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศักยภาพ การให้ผลผลิตของพืชผักสายพันธุ์ต่างๆ จากบริษัทเมล็ดพันธุ์ผักของเอกชนทำให้เกษตรกรมีความรู้และแนวทางเลือกที่ดี ในการนำพันธุ์พืชมาปลูกในพื้นที่ ร่วมกับการวางแผนการผลิต การคัดเลือกสายพันธุ์ ชนิดพืชที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรค เหมาะสมในแต่ละฤดูกาลสอดคล้องกับความต้องการของตลาด  โดยผลิตเป็นรุ่นๆให้มีความหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงของราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ตลอดจนหลีกเลี่ยงปัญหาผลผลิตล้นตลาด พืชหลักที่ปลูกหมุนเวียนสร้างรายได้ ประกอบด้วย พริก บวบ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บำรุงพืชผักและบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่มาดำเนินการ จัดสรรพื้นที่เพื่อให้มีกิจกรรมเกษตรต่างๆสร้างเป็นแหล่งอาหารและเกื้อกูลประโยชน์ต่อกิจกรรมการเพาะปลูก และที่สำคัญเกษตรกรได้จัดตั้งโรงผลิตปุ๋ยหมักที่มีกำลังการผลิตสามารถใช้ในพื้นที่และจำหน่ายสร้างรายได้เป็นอย่างดี

  • การปลูกผักในแปลงปลูก



                มีขั้นตอน คือ



                1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินและตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน



                1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง



                1.3การปรับปรุงเนื้อดินเนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพ ดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดิน ทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน



                1.4การกำหนดหลุมปลูกจะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิด ผักต่างๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่ต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75*100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5*5 เซนติเมตร เป็นต้น

  • ใช้หลักความเข้าใจ หลักโภชนาการ ในการดูแลบำรุงรักษา พีชผักที่ปลูกใช้อินทรีย์กว่า ๘๐ เปอร์เซ็น 

  • -
  • -
  • -