กลับไปหน้าค้นหา

นายลำเนา พรหมขุนทอง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 80/1 หมู 1 ตำบล : วิสัยเหนือ อำเภอ : เมืองชุมพร จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

แต่เดิมไม่เคยคิดว่าจะเป็นนายหนังตะลุง เมื่ออายุ 14 ปี เกิดไม่สบายอยู่ประมาณ 2 ปีเต็ม บังเอิญบิดาซื้อที่ดินสวน 1 แปลง พ่อให้ไปนอนเฝ้าไฟ สมัยนั้น เพราะไฟติดสวนบ่อยมากตอนกลางวัน เลยไปนอนเฝ้าดูไฟในสวน เมื่อหลับ ฝันว่ามีคนร่างใหญ่มาบอกว่าให้หัดหนังตะลุงแล้วจะหายจากที่ไม่สบาย  เมื่อตื่นขึ้นมาจึงได้นำมาเล่าให้พ่อฟัง และมีความรู้สึกว่าถ้าจะทำตามความฝัน เผื่อว่าอาจจะทำให้หายป่วย และเริ่มหัดเล่นฝึกหัดเมื่อตอนอายุ 16 ปี พออายุ 17 ปี อาจารย์เตื้อม ปุนจุบัน พาไปฝากอาจารย์เชษฐทหาร ตำบลทุ่งคา ก็พยายามฝึกฝนเรื่อยมาจนสำเร็จ ตอนนี้มีลูกศิษย์หลายคนที่มาเรียนรู้เรื่องหนังตะลุง


ความสำเร็จ :

1. คิดดี ทำดี จะสำเร็จ 



2. ต้องมีการอนุรักษ์งานหนังตะลุงไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ศึกษา ศิลปะวัฒนธรรม



3. มีความตั้งใจอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ เด็กรุ่นใหม่



 


ความชำนาญ : ด้านหนังตะลุง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • แต่เดิมไม่เคยคิดว่าจะเป็นนายหนังตะลุง เมื่ออายุ 14 ปี เกิดไม่สบายอยู่ประมาณ 2 ปีเต็ม บังเอิญบิดาซื้อที่ดินสวน 1 แปลง พ่อให้ไปนอนเฝ้าไฟ สมัยนั้น เพราะไฟติดสวนบ่อยมากตอนกลางวัน เลยไปนอนเฝ้าดูไฟในสวน เมื่อหลับ ฝันว่ามีคนร่างใหญ่มาบอกว่าให้หัดหนังตะลุงแล้วจะหายจากที่ไม่สบาย  เมื่อตื่นขึ้นมาจึงได้นำมาเล่าให้พ่อฟัง และมีความรู้สึกว่าถ้าจะทำตามความฝัน เผื่อว่าอาจจะทำให้หายป่วย และเริ่มหัดเล่นฝึกหัดเมื่อตอนอายุ 16 ปี พออายุ 17 ปี อาจารย์เตื้อม ปุนจุบัน พาไปฝากอาจารย์เชษฐทหาร ตำบลทุ่งคา ก็พยายามฝึกฝนเรื่อยมาจนสำเร็จ ตอนนี้มีลูกศิษย์หลายคนที่มาเรียนรู้เรื่องหนังตะลุง

  • 1. ต้องมีความพร้อมด้านจิตใจ มึความมั่นคง ความสามารถพอ ความรู้พอประมาณ



    2. ต้องลำดับเรื่องราว ขั้นตอน ให้ถูกต้อง 



    3. สร้างความสัมพันธ์ของเรื่องราวให้กลมกลืนกับฉากหนัง 



    4. ออกรูปหนัง ลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง ชัดเจน



    5. ฝึกภาษาคำพูด คำกลอนหนัง ทุกคำพูดมีสาระ และกลอนต้องมีสัมผัส การผ้องเสียง มีเนื่้อหา ตลกแทรก แต่ตลกในเรื่องหรือนอกเรื่องต้องอยู่ในความเหมาะสม ไม่หยาบเกินไป 



    6. ประสานบทบาทของตัวหนัง บทรัก รักให้จริง บทโกรธให้จริง บทร้องให้จริง 



    7. ประสานตัวหนังตะลุง บท ปาก เสียง มือให้ตรงกัน รูปหนังทุกตัว นายหนังต้องสวมวิญญาณใส่ในตัวหนังและบทบาทในแต่ละช่วงเวลาในการแสดงให้ได้

  • 1. คิดดี ทำดี จะสำเร็จ 



    2. ต้องมีการอนุรักษ์งานหนังตะลุงไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ศึกษา ศิลปะวัฒนธรรม



    3. มีความตั้งใจอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ เด็กรุ่นใหม่



     

  • -
  • 1. รางวัลชนะเลิศ ปี 2553   อำเภอหลังสวน



    2. ได้ร่วมแสดงถวายเป็นพระราชกุศลฯ   จังหวัดชุมพร

  • -