กลับไปหน้าค้นหา

นางละเมียด โชติเชต

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 62 หมู 2 ตำบล : รับร่อ อำเภอ : ท่าแซะ จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

                  เดิมนั้นเกษตรกรปลูกกล้วยเล็บมือนางเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เพิ่งมีการส่งเสริมกันอย่างจริงจัง



ภายหลังเกิดเหตุพายุเกย์ในปีพ.ศ. 2532 เนื่องจากให้ผลผลิตที่รวดเร็ว ปลูกไว้ไม่นานก็ขายได้ หลังจากนั้น



ก็เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และนิยมรับประทานกันมาจนถึงปัจจุบัน กล้วยเล็บมือนางจะแปลกว่ากล้วยชนิดอื่น



คือ เป็นกล้วยที่ปลูกโดดเดี่ยวไม่ได้ ต้องปลูกพืชชนิดอื่นขึ้นมาแซม ชาวบ้านบอกว่าเป็นกล้วยขี้เหงา ซึ่งจริงๆ แล้ว



กล้วยชนิดนี้ไม่ชอบแดดจัด จำเป็นต้องอาศัยร่มเงาจากไม้ชนิดอื่นจึงจะเจริญเติบโตเต็มที่และให้ผลผลิตดี 



กล้วยเล็บมือนางของจังหวัดชุมพรเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง จากการบอกเล่าของผู้บริโภคว่ากล้วยเล็บมือนาง



ของจังหวัดชุมพร มีรสชาติหอม หวาน อร่อยกว่ากล้วยเล็บมือนางที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ เนื่องจากด้วย



พันธุ์กล้วย ด้วยสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ และจากการที่เกษตรกรจำนวนมากนิยมปลูกกล้วยเล็บมือนาง



 ผลผลิตล้นตลาด จึงนำกล้วยเล็บมือนางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น กล้วยเล็บมือนางอบ



กล้วยเล็บมือนางอบเคลือบคาราเมล กล้วยเล็บมือนางอบกรอบ กล้วยเล็บมือนางอบกวน กล้วยเล็บมือนาง



อบเคลือบช๊อคโกแล็ต ฯลฯ  ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตลอดมา เหมาะที่จะ



เป็นของฝากและของกินเล่น


ความสำเร็จ : -
ความชำนาญ : กล้วยอบเล็บมือนาง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •                   เดิมนั้นเกษตรกรปลูกกล้วยเล็บมือนางเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เพิ่งมีการส่งเสริมกันอย่างจริงจัง



    ภายหลังเกิดเหตุพายุเกย์ในปีพ.ศ. 2532 เนื่องจากให้ผลผลิตที่รวดเร็ว ปลูกไว้ไม่นานก็ขายได้ หลังจากนั้น



    ก็เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และนิยมรับประทานกันมาจนถึงปัจจุบัน กล้วยเล็บมือนางจะแปลกว่ากล้วยชนิดอื่น



    คือ เป็นกล้วยที่ปลูกโดดเดี่ยวไม่ได้ ต้องปลูกพืชชนิดอื่นขึ้นมาแซม ชาวบ้านบอกว่าเป็นกล้วยขี้เหงา ซึ่งจริงๆ แล้ว



    กล้วยชนิดนี้ไม่ชอบแดดจัด จำเป็นต้องอาศัยร่มเงาจากไม้ชนิดอื่นจึงจะเจริญเติบโตเต็มที่และให้ผลผลิตดี 



    กล้วยเล็บมือนางของจังหวัดชุมพรเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง จากการบอกเล่าของผู้บริโภคว่ากล้วยเล็บมือนาง



    ของจังหวัดชุมพร มีรสชาติหอม หวาน อร่อยกว่ากล้วยเล็บมือนางที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ เนื่องจากด้วย



    พันธุ์กล้วย ด้วยสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ และจากการที่เกษตรกรจำนวนมากนิยมปลูกกล้วยเล็บมือนาง



     ผลผลิตล้นตลาด จึงนำกล้วยเล็บมือนางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น กล้วยเล็บมือนางอบ



    กล้วยเล็บมือนางอบเคลือบคาราเมล กล้วยเล็บมือนางอบกรอบ กล้วยเล็บมือนางอบกวน กล้วยเล็บมือนาง



    อบเคลือบช๊อคโกแล็ต ฯลฯ  ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตลอดมา เหมาะที่จะ



    เป็นของฝากและของกินเล่น

  • วัตถุดิบ



                1.  กล้วยเล็มมือนาง



                2.  ตู้อบ



                3.  แผงสำหรับอบกล้วย



     



     



     



     



    ขั้นตอนการผลิต



                  1.  บ่มกล้วยดิบที่แก่จัดใช้เวลา  4  วัน  4  คืน



                  2.  นำกล้วยสุกงอมจัดได้ที่มาปลอกเปลือกตัดหัวตัดท้ายเราเส้นใยออก



                  3.  นำกล้วยปลอกเปลือกแล้วมาใส่กาละมัง  ร่อนกระแทกให้กล้วยมีน้ำหวานออกมาใส่แผงสำหรับ



    อบกล้วยหรือตะแกรง



                  4.  นำกล้วยที่กระแทกแล้วเข้าตู้อบ  ใช้อุณหภูมิ  50 – 60 องศา  ใช้เวลา  3 – 4 ชั่วโมง



                  5.  นำกล้วยออกจากตู้อบ  มาจัดเรียงใส่แผงสำหรับอบกล้วยหรือตะแกรงให้สวยงาม  พักให้เย็น



                  6.  นำกล้วยที่จัดเรียงเรียบร้อยแล้วเข้าตู้อบลมร้อนให้เวลาประมาณ   5 – 6 ชั่วโมง



                  7.  ทำการสนับแผงกล้วยอบเพื่อให้ได้รับความร้อนทั่วทั้งแผงที่อบ



                  8.  ใช้เวลาในการอบอีกประมาณ   10  ชั่วโมง



                  9.  เก็บกล้วยอบที่แห้งดีแล้วใส่ภาชนะ



                  10.  บรรจุกล้วยในบรรจุภัณฑ์ให้ได้น้ำหนักตามกำหนด

  • -
  • เทคนิคและเคล็ดลับการผลิต




    1. ตัดลูกจากปลายหวีมาปาดดูให้มีสีเหลืองเข้ม ถ้ายังเหลืองเรื่อๆหรือขาว แสดงว่ากล้วยยังไม่แก่จัด

    2. สังเกตจากเล็บ (อยู่ส่วนปลายของลูกในแต่ละหวี) ถ้าเล็บดำแห้งใช้ได้ หากยังสดเขียวใช้ไม่ได้

  • -
  • -