กลับไปหน้าค้นหา

นายสุวิทย์ เพชรทองไทย

  • Facebook ID: ไม่มี
  • Line ID: 0648310360
  • Email: ไม่มี

ที่อยู่ 46/1 หมู 1 ตำบล : วิสัยเหนือ อำเภอ : เมืองชุมพร จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปริญญาตรี
ประวัติ :

                การแปรรูป(OTOP/SME) ระบุ ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรสูตรไพล  สูตรผักเสี้ยนผี(คิดค้นและผลิตเป็นคนแรกของประเทศไทย กำลังวิเคราะห์ ศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้และผลกระทบที่อาจเกิดกับผู้บริโภค เนื่องจากเป็นการนำผักเสี้ยนผีมาสกัดประยุกต์ใช้สำหรับทาภายนอก ซึ่งเดิมจะใช้ต้มดื่ม นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์และคิดค้นยาหม่องกันแมลงหวี่ซึ่งรบกวนคนชราเป็นอย่างมากในปัจจุบันโดยใช้สมุนไพรโคกกระออมและใบมะกรูด หากประสบความสำเร็จจะช่วยลดปัญหาและช่วยให้ผู้ชรามีความสุขในการดำรงชีพมากขึ้น) อย่างไรก็ตามการใช้ยาหม่องยังมีข้อจำกัดในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่มองว่าเป็นเรื่องเชยไม่ทันสมัย จึงได้มีการผลิตน้ำมันเหลืองและน้ำมันเขียวขึ้น ใช้สำหรับดมและทา สะดวกต่อการพกพา



ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย โครงสร้างปัจจัยพื้นฐานมีการเปลี่ยงแปลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สังคมชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะภาคการเกษตรยังคงล้าหลังทำให้การได้รับการบริการขั้นพื้นฐานของคนบางกลุ่มยังไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ รัฐต้องแบกรับภาระทางสังคมมากขึ้นในขณะที่ประชาชนมีความอ่อนแออต่อการแสวงหาปัจจัยสี่เนื่องจากร่างกายที่ทรุดโทรมลง หากมองในมุมนี้จะเห็นได้ว่าเมื่อประเทศก้าวสู่สังคมสูงวัยความอ่อนแออทางสังคมของประเทศจะสูงขึ้นในแต่ละปีรัฐจะต้องสูญเสียเงินเพื่อการรักษา บำบัด โรคของคนสูงขึ้น ดังนั้นหากต้องการให้สังคมชุมชนลดการสูญเสียดังกล่าว พืชสมุนไพรจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สังคมไทยผูกพันกับสมุนไพรมาตั้งแต่ครั้งอดีต มีการนำเอาหัว ราก ต้น ใบ ดอก และผลมาต้ม โขลก ตำ คั้น ใช้ดื่ม  ทา  ถู  นวด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย จนเป็นที่ประจักษ์ของคนทั่วโลก  และหากมองย้อนกลับมาที่ผู้สูงวัยหรือผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะพบว่ามีคนจำนวนมากหรือเกือบทั้งหมดต้องประสบกับปัญหากับโรคข้อ กระดูก เส้น เอ็น เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ดังนั้นการผลิตยาหม่องสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการที่จะช่วยให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีความสุขในการใช้ชีวิตและลดอาการเจ็บปวดด้วยโรคดังกล่าวลงด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงและเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัยและทุกระดับของคนในชุมชน



        ในการผลิตยาหม่องสมุนไพรนั้นไม่ได้มองในเชิงพานิชมากนัก ในตอนต้นเพียงแต่ทำเพื่อใช้เองประกอบการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน(ตัวผู้ผลิตมีปัญหาด้านข้อและกระดูกแขนขา) และได้นำยาหม่องสมุนไพรที่ทำขึ้นเองมาให้คุณพ่อคุณแม่ทดลองใช้และแจกจ่ายให้กับญาตมิตรในชุมชน และปฏิบัติต่อเนื่องเรื่อยมา โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่ว่า “ผลิตเพื่อใช้ เหลือแจกจ่าย จากนั้นจึงค่อยขาย” ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้ยากจน พระภิกษุ หรือผู้ชรา ในชุมชนท้องถิ่นมาติดต่อรับผลิตภัณฑ์ฟรี ที่บ้าน


ความสำเร็จ :

                ๑) จริงจัง จริงใจ และไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์



                ๒) ทานคือการให้ที่ยิ่งใหญ่ ผู้ผลิตต้องไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ต้องรู้จักการให้ ต้องมีเมตตา ไม่เห็นแก่เงิน แจกทุกครั้งที่มีโอกาส ให้ทุกอย่างที่รู้โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่มี ไม่หมกเม็ดเก็บงำ ไม่อิจฉากลัวบุคคลอื่นทำได้ดีกว่าเรา



                ๓) ประสานความสัมพันธ์กับบุคคลในชุมชนท้องถิ่น ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน



                ๔) ประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ


ความชำนาญ : ยาหม่องสมุนไพร


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •                 การแปรรูป(OTOP/SME) ระบุ ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรสูตรไพล  สูตรผักเสี้ยนผี(คิดค้นและผลิตเป็นคนแรกของประเทศไทย กำลังวิเคราะห์ ศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้และผลกระทบที่อาจเกิดกับผู้บริโภค เนื่องจากเป็นการนำผักเสี้ยนผีมาสกัดประยุกต์ใช้สำหรับทาภายนอก ซึ่งเดิมจะใช้ต้มดื่ม นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์และคิดค้นยาหม่องกันแมลงหวี่ซึ่งรบกวนคนชราเป็นอย่างมากในปัจจุบันโดยใช้สมุนไพรโคกกระออมและใบมะกรูด หากประสบความสำเร็จจะช่วยลดปัญหาและช่วยให้ผู้ชรามีความสุขในการดำรงชีพมากขึ้น) อย่างไรก็ตามการใช้ยาหม่องยังมีข้อจำกัดในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่มองว่าเป็นเรื่องเชยไม่ทันสมัย จึงได้มีการผลิตน้ำมันเหลืองและน้ำมันเขียวขึ้น ใช้สำหรับดมและทา สะดวกต่อการพกพา



    ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย โครงสร้างปัจจัยพื้นฐานมีการเปลี่ยงแปลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สังคมชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะภาคการเกษตรยังคงล้าหลังทำให้การได้รับการบริการขั้นพื้นฐานของคนบางกลุ่มยังไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ รัฐต้องแบกรับภาระทางสังคมมากขึ้นในขณะที่ประชาชนมีความอ่อนแออต่อการแสวงหาปัจจัยสี่เนื่องจากร่างกายที่ทรุดโทรมลง หากมองในมุมนี้จะเห็นได้ว่าเมื่อประเทศก้าวสู่สังคมสูงวัยความอ่อนแออทางสังคมของประเทศจะสูงขึ้นในแต่ละปีรัฐจะต้องสูญเสียเงินเพื่อการรักษา บำบัด โรคของคนสูงขึ้น ดังนั้นหากต้องการให้สังคมชุมชนลดการสูญเสียดังกล่าว พืชสมุนไพรจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สังคมไทยผูกพันกับสมุนไพรมาตั้งแต่ครั้งอดีต มีการนำเอาหัว ราก ต้น ใบ ดอก และผลมาต้ม โขลก ตำ คั้น ใช้ดื่ม  ทา  ถู  นวด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย จนเป็นที่ประจักษ์ของคนทั่วโลก  และหากมองย้อนกลับมาที่ผู้สูงวัยหรือผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะพบว่ามีคนจำนวนมากหรือเกือบทั้งหมดต้องประสบกับปัญหากับโรคข้อ กระดูก เส้น เอ็น เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ดังนั้นการผลิตยาหม่องสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการที่จะช่วยให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีความสุขในการใช้ชีวิตและลดอาการเจ็บปวดด้วยโรคดังกล่าวลงด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงและเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัยและทุกระดับของคนในชุมชน



            ในการผลิตยาหม่องสมุนไพรนั้นไม่ได้มองในเชิงพานิชมากนัก ในตอนต้นเพียงแต่ทำเพื่อใช้เองประกอบการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน(ตัวผู้ผลิตมีปัญหาด้านข้อและกระดูกแขนขา) และได้นำยาหม่องสมุนไพรที่ทำขึ้นเองมาให้คุณพ่อคุณแม่ทดลองใช้และแจกจ่ายให้กับญาตมิตรในชุมชน และปฏิบัติต่อเนื่องเรื่อยมา โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่ว่า “ผลิตเพื่อใช้ เหลือแจกจ่าย จากนั้นจึงค่อยขาย” ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้ยากจน พระภิกษุ หรือผู้ชรา ในชุมชนท้องถิ่นมาติดต่อรับผลิตภัณฑ์ฟรี ที่บ้าน

  •                  กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค



                    ๑) ศึกษาและค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในแต่ละชนิดจากผู้รู้ ภูมิปัญญา รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้และนำมาจัดระเบียบความคิดจนได้องค์ความรู้ใหม่



                    ๒) ศึกษาทิศทางความเป็นไปได้ในอนาคตและกำหนดตัวผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบโดยรวม ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อดี จุดควรพัฒนา จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการผลิตโดยใช้มือและแรงงานตนเองเป็นหลัก



                    ๓) คัดสรรสมุนไพรที่มีคุณค่าและสรรพคุณทางยาที่เป็นที่ยอมรับ 5-10 ชนิด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ว่านนาคำ ว่านเอ็นเหลือง ผักเสี้ยนผี เป็นต้น นำมาสกัดโดยวิธีโบราณ (นำสมุนไพรสดมาทอดในน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์)



                    ๔) นำส่วนประกอบมาผสมโดยใช้ไฟอ่อนๆ เพื่อใช้สำหรับทำเนื้อยาหม่องได้แก่ วาสลีน  และพาราฟินตุ่นจนกว่าจะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน   



                    ๕) เมื่อได้เนื้อยาหม่องที่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำสมุนไพรที่เตรียมไว้มาเทผสมลงไปในเนื้อยา โดยใช้อัตราส่วน วาสลีน 1 กก. ต่อ พาราฟิน 500 กรัม ต่อสมุนไพร 1 ปอนด์ กวนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ในขั้นตอนนี้หากพบว่าเนื้อยาหม่องมีสีอ่อนไม่สวยงามอาจเพิ่มสีลงไปตามพอใจโดยใช้ช้อนตวงและควรใช้ในปริมาตรเดียวกันตลอดจะช่วยให้ยาหม่องมีสีที่สม่ำเสมอกัน



                    ๖) เพิ่มเติมสารประกอบบางชนิดที่ทำให้ยาหม่องมีสรรพคุณแตกต่างจากของผู้ผลิตรายอื่นๆ  เช่น เมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันเขียว น้ำมันสารแหน่  น้ำมันระกำ เป็นต้น โดยนำสารประกอบดังกล่าวมาผสมในขวดแก้วและเขย่าให้เข้ากันจากนั้นเทใส่ลงไปในเนื้อยาหม่องในขณะที่ยังอุ่นอยู่คนให้เข้ากัน จากนั้นหรี่ไฟ ใช้วัสดุแก้วตักยาหม่องใส่ภาชนะที่เตรียมไว้วางให้เย็นจึงปิดผา



                    ๗) นำสติ๊กเกอร์ที่เตรียมไว้มาติดโดยเฉพาะแบรนด์ และสรรพคุณของยาหม่องจากนั้นนำไปสู่ตลาดตามช่องทางต่างๆ ตามความเหมาะสม นำไปแจกจ่าย หรือเก็บไว้ใช้เอง (แต่หากทำเพื่อใช้เองควรคำนวนสูตรโดยย่อส่วนให้น้อยลงตามต้องการ)

  •                 ๑) จริงจัง จริงใจ และไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์



                    ๒) ทานคือการให้ที่ยิ่งใหญ่ ผู้ผลิตต้องไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ต้องรู้จักการให้ ต้องมีเมตตา ไม่เห็นแก่เงิน แจกทุกครั้งที่มีโอกาส ให้ทุกอย่างที่รู้โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่มี ไม่หมกเม็ดเก็บงำ ไม่อิจฉากลัวบุคคลอื่นทำได้ดีกว่าเรา



                    ๓) ประสานความสัมพันธ์กับบุคคลในชุมชนท้องถิ่น ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน



                    ๔) ประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ

  • -
  • -
  • นักวิจัยอิสระ 25 ปี  ผุู้ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา (สมศ) 13 ปี



    นักวิชาการแผนที่ กรมพัฒนาที่ดิน  5 ปี



    ครูสอนวิชาชีพ  23 ปี