กลับไปหน้าค้นหา

นางขวัญจิต ปานมณี

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 2/1 หมู 12 ตำบล : ดอนยาง อำเภอ : เมืองเพชรบุรี จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ความเป็นมา ตำบลดอนยาง อำเภอเมืองเพชรบุรี ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร และมีวิถีชีวิตแบบชนบท ซึ่งแต่เดิม มันทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ได้แก่ การทำนาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นรายได้หลักของทั้งครัวเรือน หรือการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำอาชีพอื่น ต่อมาประสบปัญหาภัยธรรมชาติ เกิดน้ำท่วม หรือบางปี น้ำแล้ง ทำให้ผลผลิต ทางการเกษตรลดลง และประสบปัญหา ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ประชาชนในหมู่บ้าน จึงเริ่มหันมาศึกษาการทำไร่นาส่วนผสม ซึ่งจะเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และความไม่แน่นอนของราคาผลผลิต เพราะเมื่อจับแนวทางทำเกษตรแต่ละชนิดมาทำร่วมกันแล้ว สามารถสร้างมูลค่า เพิ่มระดับรายได้จาพืชผลในแต่ละชนิดหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี


ความสำเร็จ :

เทคนิคความสำเร็จในการทำงาน  



                   1. ที่ดิน เกษตรกรควรมีที่ดินเป็นของตนเองมากกว่าการเช่าเพราะการทำไร่นาสวนผสมมีการปลูกไม้ผล ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลผลิต



                   2. แรงงานเกษตรกรควรใช้แรงงานในครอบครัวอย่างเต็มที่



                   3. ทุน เกษตรกรต้องมีการใช้ทุนในรูปแบบของเงินสดโดยการซื้อปัจจัยการผลิตเท่าที่จำเป็นซึ่งเป็นการเริ่มต้นจากเล็กไปหาใหญ่ มีการหมุนเวียนการใช้ปัจจัยการผลิตจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้



                   4. การจัดการ เกษตรกรต้องมีลักษณะการเป็นผู้จัดการมีหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินใจในระบบการผลิตในไร่นา หมั่นค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะตลาดและราคาเพื่อลดความเสี่ยงถ้าเกษตรกรมีการวางแผนและงบประมาณอย่างดีจะก่อให้เกิดผลตอบแทน กำไรสูงสุด



                   ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน  



                   กรณีปลูกไม้ผลในช่วงระยะ 1 – 3 ปีแรก ยังไม่ให้ผลผลิตและรายได้เกษตรกรควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวในสวนไม้ผล เช่น พืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับหรือไม้ผลบางชนิด เช่น มะละกอ กล้วย



                 ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหายหรือต้องแก้ไข



                   1. เกษตรกรควรมีพื้นที่เป็นของตนเอง



                   2. มีแหล่งน้ำและปริมาณน้ำเพียงพอในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์



                   3. แรงงานครัวเรือนอย่างน้อย 3 คน



                   4. เกษตรกรเป็นคนขยันขันแข็งและมีความสนใจในกิจกรรมของไร่นาสวนผสม



                   5 รูปแบบไร่นาสวนผสมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และความต้องการของตลาด


ความชำนาญ : การทำไร่นาสวนผสม


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ความเป็นมา ตำบลดอนยาง อำเภอเมืองเพชรบุรี ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร และมีวิถีชีวิตแบบชนบท ซึ่งแต่เดิม มันทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ได้แก่ การทำนาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นรายได้หลักของทั้งครัวเรือน หรือการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำอาชีพอื่น ต่อมาประสบปัญหาภัยธรรมชาติ เกิดน้ำท่วม หรือบางปี น้ำแล้ง ทำให้ผลผลิต ทางการเกษตรลดลง และประสบปัญหา ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ประชาชนในหมู่บ้าน จึงเริ่มหันมาศึกษาการทำไร่นาส่วนผสม ซึ่งจะเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และความไม่แน่นอนของราคาผลผลิต เพราะเมื่อจับแนวทางทำเกษตรแต่ละชนิดมาทำร่วมกันแล้ว สามารถสร้างมูลค่า เพิ่มระดับรายได้จาพืชผลในแต่ละชนิดหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี

  •     ไร่นาสวนผสมมีความหลากหลายกิจกรรมการเกษตรสามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นา หรือกิจกรรมการเกษตรในไร่นาได้มากขึ้นเช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด มูลสัตว์เป็นอาหารปลา และยังมีการทำเลี้ยงสัตว์เป็นเสริม เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ได้ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อทดแทนการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกที่มากและเกินขอบเขต ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระบบการผลิต

  • เทคนิคความสำเร็จในการทำงาน  



                       1. ที่ดิน เกษตรกรควรมีที่ดินเป็นของตนเองมากกว่าการเช่าเพราะการทำไร่นาสวนผสมมีการปลูกไม้ผล ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลผลิต



                       2. แรงงานเกษตรกรควรใช้แรงงานในครอบครัวอย่างเต็มที่



                       3. ทุน เกษตรกรต้องมีการใช้ทุนในรูปแบบของเงินสดโดยการซื้อปัจจัยการผลิตเท่าที่จำเป็นซึ่งเป็นการเริ่มต้นจากเล็กไปหาใหญ่ มีการหมุนเวียนการใช้ปัจจัยการผลิตจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้



                       4. การจัดการ เกษตรกรต้องมีลักษณะการเป็นผู้จัดการมีหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินใจในระบบการผลิตในไร่นา หมั่นค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะตลาดและราคาเพื่อลดความเสี่ยงถ้าเกษตรกรมีการวางแผนและงบประมาณอย่างดีจะก่อให้เกิดผลตอบแทน กำไรสูงสุด



                       ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน  



                       กรณีปลูกไม้ผลในช่วงระยะ 1 – 3 ปีแรก ยังไม่ให้ผลผลิตและรายได้เกษตรกรควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวในสวนไม้ผล เช่น พืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับหรือไม้ผลบางชนิด เช่น มะละกอ กล้วย



                     ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหายหรือต้องแก้ไข



                       1. เกษตรกรควรมีพื้นที่เป็นของตนเอง



                       2. มีแหล่งน้ำและปริมาณน้ำเพียงพอในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์



                       3. แรงงานครัวเรือนอย่างน้อย 3 คน



                       4. เกษตรกรเป็นคนขยันขันแข็งและมีความสนใจในกิจกรรมของไร่นาสวนผสม



                       5 รูปแบบไร่นาสวนผสมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และความต้องการของตลาด

  • -
  • 1.  รางวัลสตรีดีเด่น อำเภอเมืองเพชรบุรี ประจำปี 2559

  • -