กลับไปหน้าค้นหา

นางปนิดา มูลนานัด

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 43 หมู 4 ตำบล : ไร่ใหม่พัฒนา อำเภอ : ชะอำ จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปริญญาตรี
ประวัติ :

     เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาชีพสตรีแม่บ้านวัยหวาน เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านมีอาชีพเสริม และเพิ่มรายได้  ขนมข้าวหมากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านเรา ที่ทำสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่กำลังจะหายไปเพราะคนรุ่นหลังไม่สนใจ เลยศึกษาและเรียนรู้สูตรต่างๆจากคนในชุมชน และพัฒนามาเป็น “ข้าวหมากวัยหวาน” ในปัจจุบัน


ความสำเร็จ :

    เพื่อเป็นการอนุรักษ์ของไทยก่อนเลือนหายไป มีความตั้งใจในการพัฒนากระบวนการผลิตและตัวผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากที่สุด


ความชำนาญ : ข้าวหมาก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •      เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาชีพสตรีแม่บ้านวัยหวาน เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านมีอาชีพเสริม และเพิ่มรายได้  ขนมข้าวหมากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านเรา ที่ทำสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่กำลังจะหายไปเพราะคนรุ่นหลังไม่สนใจ เลยศึกษาและเรียนรู้สูตรต่างๆจากคนในชุมชน และพัฒนามาเป็น “ข้าวหมากวัยหวาน” ในปัจจุบัน

  • เคล็ดลับการทำข้าวหมาก



              -  ล้างข้าวเหนียวให้สะอาดและแช่ทิ้งไว้



              -  ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วผึ่งจนเย็นให้ล้างด้วยน้ำกรอง(ไม่มีคลอรีน)และล้างให้หมดเมือกหรือให้น้ำใส



              -  ความสะอาดสำคัญมากเพราะมีผลต่อรสชาติของข้าวหมาก ถ้ามีสิ่งปนเปื้อนจะทำให้ข้าวหมากมีรสเปรี้ยวปนหวาน



              -  ข้าวเหนียวควรเลือกเมล็ดที่อวบไม่แตกหักเยอะและไม่มีเมล็ดข้าวอื่นปนมาเยอะ เพราะจะทำให้ข้าวเหนียวสุกไม่ทั่วถึงทำให้ข้าวเหนียวบางเมล็ดเป็นไต



              -  ลูกแป้งข้าวหมากที่คุณภาพดีก็มีผลต่อรสชาติของข้าวหมาก ข้าวหมากจะหวานมากหรือหวานน้อย



              -  อุปกรณ์ที่ใช้ทำข้าวหมาก ควรแยกต่างหากจากอุปกรณ์ที่ใช้ประจำทั่วไป และทำความสะอาดโดยใช้น้ำเปล่า



              -  น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้วค่อนข้างมีเมล็ดติดกันน้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี

  •     เพื่อเป็นการอนุรักษ์ของไทยก่อนเลือนหายไป มีความตั้งใจในการพัฒนากระบวนการผลิตและตัวผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากที่สุด

  • -
  • 1. รางวัล สตรีดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน  หน่วยงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี

  • 1) โครงการ/หลักสูตร ผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.) ประจำปี ๒๕๕๙



     2) โครงการ/หลักสูตร ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายนักจัดการความรู้ชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน