กลับไปหน้าค้นหา

นายการันต์ จันทร์แสง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 289 หมู 7 ตำบล : สลุย อำเภอ : ท่าแซะ จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ความเป็นมา เนื่องจากบ้านสวนทรัพย์ หมู่ที่ 7 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี งบประมาณ 2557 โดยได้รับการฝึกอบรมครัวเรือนต้นแบบ และเมื่อดำเนินการแล้วก็จัดเป็นจุดเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ต้องการเรียนรู้ต่อไป


ความสำเร็จ :

การปลูกพืชผสมผสานนั้นมีวิธีการมากมายเพื่อให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตสูงสุด และใช้เนื้อที่เอื้อต่อการปลูกพืชผักได้หลายชนิด เช่นการปลูกกาแฟ ระยะเริ่มแรกสามารถปลูกพืชหมุนเวียนอายุสั้นเสริม เช่น เผือก พริก มะละกอ มะเขือ และปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นเสริมได้ เช่น หมาก ผักเหลียง ซึ่งการปลูกพืชผสมผสานจะต้องเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเสริม การกำจัดแมลงศัตรูพืช การวางระบบน้ำ ดังนั้น ผู้ที่เป็นเกษตรกร ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ ต่อเนื่องไม่มีหลักการที่ตายตัว



 


ความชำนาญ : เลี้ยงปลา ปลูกผัก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ความเป็นมา เนื่องจากบ้านสวนทรัพย์ หมู่ที่ 7 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี งบประมาณ 2557 โดยได้รับการฝึกอบรมครัวเรือนต้นแบบ และเมื่อดำเนินการแล้วก็จัดเป็นจุดเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ต้องการเรียนรู้ต่อไป

  • กิจกรรมที่ดำเนินการ




    • เลี้ยงปลาในบ่อดิน

    • ปลูกผักสวนครัว

    • เลี้ยงไก่พันธ์ไข่



    เตรียมวัสดุสำหรับการเลี้ยงปลาในบ่อดิน




    • พันธ์ปลากินพืชปลานิล

    • บ่อดิน

    • อาหารสำหรับปลากินพืช



    วิธีการเลี้ยง



    1.กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำต่าง ๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวาให้หมดโดยนำมากองสุมไว้แห้ง แล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยง ถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคัดดินที่ชำรุด หรือใช้เป็นปุ๋ยแก่พืช ผัก ผลไม้ พร้อมทั้งตกแต่งเชิงลาดและอัดดินให้แน่น กำจัดศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้ก็มีสัตว์จำพวก กบ เขียด งู เป็นต้น ควรจะทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วัน 



    2.ปล่อยพันธ์ปลาลงบ่ออัตราปล่อยปลาเลี้ยงในบ่อดิน ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อาหาร และการจัดการเป็นสำคัญ โดยทั่วไป จะปล่อยลูกปลาขนาด 3-5 ซม. ลงเลี้ยงในอัตรา 1-3 ตัว/ตารางเมตร หรือ 2,000 - 5,000 ตัว/ไร่



    3.การให้อาหาร การใส่ปุ๋ยเป็นการให้อาหารแก่ปลานิลที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง เพราะจะได้อาหารธรรมชาติ ที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก แต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตขึ้นหรือถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงควรให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทเป็นอาหารสมทบด้วย เช่น รำปลายข้าว กากมะพร้าว มันสำปะหลัง หั่นต้ม ให้สุก และเศษเหลือของอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น กากถั่วเหลืองจากโรงทำเต้าหู้ กากถั่วลิสงอาหารผสมซึ่งมีปลาป่น รำข้าว ปลายข้าว มีจำนวนโปรตีนประมาณ 20% เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัวหรือภัตตาคาร อาหารประเภทพืชผักเช่น แหนเป็น สาหร่าย ผักตบชวาสับให้ละเอียด เป็นต้น อาหารสมทบเหล่านี้ควรเลือกชนิดที่มีราคาถูกและหาได้สะดวกส่วนปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรเป็น 4% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง หรือจะใช้วิธีสังเกตจากปลาที่ขึ้นมากินอาหารจากจุดที่ให้เป็นประจำ คือ ถ้ายังมีปลานิลออกันอยู่มากเพื่อรอกินอาหารก็เพิ่มจำนวนอาหารมากขึ้นตามลำดับทุก 1-2 สัปดาห์ ในการให้อาหารสมทบมีข้อพึงควรระวัง คือ ถ้าปลากินไม่หมด อาหารจมพื้นบ่อ หรือละลายน้ำมากก็ทำให้เกิดน้ำเน่าเสียเป็นอันตรายต่อปลาที่เลี้ยง และ/หรือต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสูบถ่าย เปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ

  • การปลูกพืชผสมผสานนั้นมีวิธีการมากมายเพื่อให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตสูงสุด และใช้เนื้อที่เอื้อต่อการปลูกพืชผักได้หลายชนิด เช่นการปลูกกาแฟ ระยะเริ่มแรกสามารถปลูกพืชหมุนเวียนอายุสั้นเสริม เช่น เผือก พริก มะละกอ มะเขือ และปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นเสริมได้ เช่น หมาก ผักเหลียง ซึ่งการปลูกพืชผสมผสานจะต้องเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเสริม การกำจัดแมลงศัตรูพืช การวางระบบน้ำ ดังนั้น ผู้ที่เป็นเกษตรกร ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ ต่อเนื่องไม่มีหลักการที่ตายตัว



     

  • -
  • เกียรติคุณ/รางวัลที่ได้รับ รางวัล ประกาศนียบัตร มชช.ประเภทผู้นำชุมชน      หน่วยงาน พัฒนาชุมชน

  • ประสบการณ์ถ่ายทอดความรู้ ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการทำปุ๋ยหมักชีวภาพให้กับนักเรียนโรงเรียนในพื้นที่