กลับไปหน้าค้นหา

นายทองเตือน อินแผง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 46 หมู 11 ตำบล : นาบัว อำเภอ : นครไทย จังหวัด: พิษณุโลก
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ จากการจัดทำเวทีชุมชน ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาดูงาน และการอบรม  


ความสำเร็จ :

          : ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและขยายผลหมู่บ้านใกล้เคียง และควบคุม บริหารจัดการจุดคอขวดใน       ด้านต่างๆ ดังนี้




  1. การใช้ปุ๋ย

  2. การปรับปรุงบำรุงดิน

  3. การใช้สารเคมี

  4. การควบคุมวัชพืช

  5. การคัดเมล็ดพันธุ์


ความชำนาญ : ทำนา


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ จากการจัดทำเวทีชุมชน ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาดูงาน และการอบรม  

  •           หลักคิด



              1. การผลิตที่ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก



              2. การผลิตที่คำนึงถึงต้นทุนการผลิต



              3. การผลิตที่คำนึงถึงความปลอดภัยในวิถีชีวิตและธรรมชาติ



              หลักวิชาการ 



              1. การปรับปรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุ



              2. การนำระบบ IPM มาดำเนินการ



              3. การป้องกันและกำจัดวัชพืชโดยวิธีกล



              4. การทำแปลงขยายพันธุ์และใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้



    หลักปฏิบัติ




    1. การเตรียมดิน ควรใช้มูลสัตว์หมักแห้ง หว่านในนาข้าวก่อนการไถครั้งแรก โดยใช้อัตรามูลสัตว์หมักแห้ง 200 กก./ไร่ และควรหมักดินหลังจากไถไว้อย่างน้อย 5 วัน เพื่อลดจำนวนวัชพืช

    2. การปรับปรุงดิน ไม่เผาตอซังเพราะจะเป็นการทำลายอินทรีวัตถุ ระบายน้ำเข้านาแล้วใช้น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 2 ลิตต่อน้ำ 20 ลิตร ราดในนาข้าวทิ้งไว้ 1 คืน จึงใช้รถเหยียบย่ำ ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ ควรเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่นาเพื่อถ่ายมูล นอกจากนี้ควรปลูกต้นงิ้วเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินจากส่วนใบและดอกงิ้ว ควรปลูก 4-5 ต้น/ไร่

    3. การคัดพันธุ์ข้าว ใช้พันธุ์จากแหล่งของทางราชการ ควรมีการจัดทำแปลงพันธุ์เพื่อเตรียมพันธุ์ในฤดูการเพาะปลูกต่อไป นอกจากนี้ควรมีการคัดเลือกจุดเพื่อกำหนดเอาไว้สำหรับทำพันธุ์ โดยการคัดเลือกจุดที่มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอปราศจากโรคแมลงและวัชพืช และควรเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เอง 2-3 ครั้ง

    4. อัตราเมล็ดพันธุ์ต่อไร่เป็นไปตามลักษณะประจำพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ใช้ 15 กก./ไร่ ชัยนาท 1 ใช้ 20 กก./ไร่ ข่าวมะลิ 105 ใช้ 10 กก./ไร่ พิษณุโลก 1,3,5, ใช้ 25-30 กก./ไร่

    5. การใช้ปุ๋ย ใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น 3 ครั้ง/เดือน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักแห้งในช่วงเตรียมดิน

    6. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว

      1. วัชพืช ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรฆ่าวัชพืช โดยการฉีดพ่นช่วงระยะฉีดพ่นในนาข้าวจะต้องมีน้ำถึงจะเห็นผล อัตราการใช้ 4 ซ้อนแกง/น้ำ 1 ปิ๊ป

      2. แมลง มีการตรวจแปลงเพื่อติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในนาข้าวทุกวัน เช้า เย็น สังเกต ความผิดปกติของข้าวและดุและสุขภาพข้าวให้แข็งแรงเสมอ

      3. หอยเชอรี่ ใช้ฝักคูนแห้ง บดละเอียด ช่วงที่ทำเทือก 20 กก./ไร่ และใช้มะกรูด ยอดสะเดา      ยอดยูคา ต้มเอาน้ำมาผสมแล้วลาดลงในนา ปริมาณ 3 ลิต/ไร่



  •           : ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและขยายผลหมู่บ้านใกล้เคียง และควบคุม บริหารจัดการจุดคอขวดใน       ด้านต่างๆ ดังนี้




    1. การใช้ปุ๋ย

    2. การปรับปรุงบำรุงดิน

    3. การใช้สารเคมี

    4. การควบคุมวัชพืช

    5. การคัดเมล็ดพันธุ์

  • -
  • -
  • -