กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวณัฏฐฎา อาทรวิริยกุล

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ เลขที่ 154 หมู 12 ตำบล : หินเหล็กไฟ อำเภอ : หัวหิน จังหวัด: ประจวบคีรีขันธ์
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปริญญาตรี
ประวัติ :

ประชาชนในหมู่บ้านสามพันนามส่วนใหญ่  ประกอบอาชีพหลักด้านการทำเกษตรกรรม - ทำไร่สับปะรด  เมื่อว่างเว้นจากการเพาะปลูก  ประชากรวัยแรงงานจะออกไปทำงานรับจ้างทั่วไป  บางส่วนจะไม่มีงานทำก่อให้เกิดการว่างงานแฝงในครัวเรือน  จากการฝึกอบรมและศึกษาดูงานการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 



แกนนำหมู่บ้านจึงได้เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะความรู้ในการเพาะเห็ดโคนน้อย  และถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับแก่ตัวแทนครัวเรือน  เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพเสริม  และเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนอีกช่องทางหนึ่ง


ความสำเร็จ :

1. วัสดุในการเพาะนอกจากฟางแห้งแล้ว  สามารถใช้ต้นข้าวโพด  ทะลายปาล์มน้ำมัน  ผักตบชวา  ต้นและใบกล้วย  ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  และก้อนเชื้อฟางที่เก็บหมดแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง



2. ในช่วงเช้าดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก  และโตขึ้นในช่วงบ่ายจึงเหมาะแก่การเก็บเกี่ยวผลผลิต  หากปล่อยไว้จนถึงเย็นดอกเห็ดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  ไม่สามารถนำมารับประทานได้


ความชำนาญ : การเพาะเห็ดโคนน้อย


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ประชาชนในหมู่บ้านสามพันนามส่วนใหญ่  ประกอบอาชีพหลักด้านการทำเกษตรกรรม - ทำไร่สับปะรด  เมื่อว่างเว้นจากการเพาะปลูก  ประชากรวัยแรงงานจะออกไปทำงานรับจ้างทั่วไป  บางส่วนจะไม่มีงานทำก่อให้เกิดการว่างงานแฝงในครัวเรือน  จากการฝึกอบรมและศึกษาดูงานการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 



    แกนนำหมู่บ้านจึงได้เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะความรู้ในการเพาะเห็ดโคนน้อย  และถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับแก่ตัวแทนครัวเรือน  เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพเสริม  และเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนอีกช่องทางหนึ่ง

  • ขั้นตอนการเพาะเห็ดโคนน้อย



    1. เติมน้ำเปล่า , ปุ๋ยยูเรีย , ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรด , กากน้ำตาล , รำละเอียด  ในถังน้ำมันให้เดือด  ใส่ฟางแห้งต้มให้นิ่มแล้วตักขึ้นผึ่งให้เย็น



    2. นำก้อนเชื้อเห็ดมายีให้ร่วน  คลุกผสมกับแป้งข้าวเหนียวหรือยีสต์  และรำละเอียด



    3. เรียงฟางที่ต้มแล้วลงในตะกร้าพลาสติคให้เป็นชั้น ๆ  



       - ชั้นที่  1  ใส่ฟางหนาประมาณ  3-5  เซนติเมตร  กดให้แน่น  โรยเชื้อเห็ดที่      เตรียมไว้ให้ทั่วผิวหน้า



        - ชั้นที่  2-4  ใส่ฟางหนาประมาณ  5-10  เซนติเมตร  กดให้แน่น  โรยเชื้อเห็ด เฉพาะบริเวณริมขอบชิดข้างตะกร้าเพาะโดยรอบ



         - ชั้นที่  5  โรยเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าแล้วทับด้วยฟางหนาประมาณ  3-5  เซนติเมตร  กดให้แน่น  ใช้เชือกฟางมัดให้เป็นก้อน  นำออกจากตะกร้าแม่พิมพ์



    4. เรียงก้อนเชื้อเห็ดในโรงบ่ม  รดด้วยน้ำต้มฟางหรือน้ำเปล่าให้เปียก  ปิดโรงเรือนเพื่อรักษาความร้อนและความชื้น  ระยะเวลา  5-7  วัน



    5. ก้อนเชื้อเห็ดจะเริ่มให้ผลผลิต  ในวันที่  5-6  โดยทะยอยเก็บเห็ดได้ทุกวัน  และสามารถเก็บเห็ดโคนน้อยได้ประมาณ  10-15  วัน 



    6. เก็บดอกเห็ดโคนน้อยมาตัดแต่งทำความสะอาด  และเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิเย็นประมาณ  8-10  องศา

  • 1. วัสดุในการเพาะนอกจากฟางแห้งแล้ว  สามารถใช้ต้นข้าวโพด  ทะลายปาล์มน้ำมัน  ผักตบชวา  ต้นและใบกล้วย  ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  และก้อนเชื้อฟางที่เก็บหมดแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง



    2. ในช่วงเช้าดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก  และโตขึ้นในช่วงบ่ายจึงเหมาะแก่การเก็บเกี่ยวผลผลิต  หากปล่อยไว้จนถึงเย็นดอกเห็ดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  ไม่สามารถนำมารับประทานได้

  • 1. เห็ดโคนน้อยเป็นเห็ดที่ขึ้นง่ายและมีคุณค่าทางอาหารสูง  แต่มีวงจรชีวิตที่สั้น  ประมาณ  24-36  ชั่วโมง 



    2. แม้ว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเห็ดโคนน้อยสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในที่มีอุณหภูมิสูง  เมื่อตกแต่งทำความสะอาดแล้วควรรีบนำไปจำหน่าย  หรือเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ

  • -
  • -