กลับไปหน้าค้นหา

นายส่ง ป้านสะอาด

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 131 หมู 1 ตำบล : โพพระ อำเภอ : เมืองเพชรบุรี จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

นายส่ง  ป้านสะอาด  เป็นผู้ความรู้เรื่องงานช่างปูนปั้น  ซึ่งเป็นช่างประเภทหนึ่ง ในจำพวกช่างสิบหมู่ โดยมีคนในหมู่บ้านสนใจเข้ามาช่วยงานช่าง และเรียนรู้งานอย่างต่อเนื่อง วิชาซ่างนายส่ง  ป้านสะอาด ได้รับการถ่ายทอดจากสกุลช่างเมืองเพชร ซึ่งนับวันหาคนทำได้ยาก จนมีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ ทั้งในและนอกหมู่บ้าน นอกจากนี้นายส่ง  ป้านสะอาด เป็นผู้มีจิตอาสา มีความเอื้ออารี และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนเป็นแบบอย่างของคนในหมู่บ้าน


ความสำเร็จ :

ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง หมั่นขยันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาส่งเสริม 


ความชำนาญ : ศิลปะปูนปั้น


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นายส่ง  ป้านสะอาด  เป็นผู้ความรู้เรื่องงานช่างปูนปั้น  ซึ่งเป็นช่างประเภทหนึ่ง ในจำพวกช่างสิบหมู่ โดยมีคนในหมู่บ้านสนใจเข้ามาช่วยงานช่าง และเรียนรู้งานอย่างต่อเนื่อง วิชาซ่างนายส่ง  ป้านสะอาด ได้รับการถ่ายทอดจากสกุลช่างเมืองเพชร ซึ่งนับวันหาคนทำได้ยาก จนมีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ ทั้งในและนอกหมู่บ้าน นอกจากนี้นายส่ง  ป้านสะอาด เป็นผู้มีจิตอาสา มีความเอื้ออารี และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนเป็นแบบอย่างของคนในหมู่บ้าน

  • การทำปูนปั้นโดยการใช้มือปั้น มีวิธีการดังนี้



              ปูนที่นำมาการทำปูนปั้นในสมัยก่อนที่ยังไม่มีปูนขาว จะใช้อิฐที่ทำจากดิน(อิฐมอญ)เอามาเผาแล้วตำให้ละเอียด แต่ปัจจุบันหากลวดลายที่ปั้นอยู่บนที่สูงจากพื้นดินมากๆ จะใช้ปูนขาวหากลวดลายที่จะปั้นนั้นอยู่ใกล้พื้นหรือไม่สูงเกินกว่าคนจะเอื้อมถึงจะใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจากปูนซีเมนต์จะมีความทนทานมากกว่าปูนขาว



              1. การเตรียมส่วนผสมปูน ปูนที่จะนำมาปั้นในสมัยก่อนได้มาจากการนำหนังสัตว์ต้มจนเละ แล้วเอามาตำผสมปูนเพื่อให้เหนียว ซึ่งจะมีความคงทนมากส่วนการเตรียมปูนในปัจจุบัน เริ่มจากการนำทรายไปร่อนในตะแกรงเพื่อให้ได้ ทรายที่ละเอียด นำทราย 1 ส่วน ปูนขาว 9 ส่วน และน้ำมันละหุ่ง 1 ส่วน (หรือน้ำมันอื่น น้ำมัน ตังอิ๊วจะดีกว่าคือจะมีความแห้ง ความทน แต่ราคาแพงกว่าน้ำมันละหุ่ง ใช้น้ำผสมไม่ได้เพราะปูนจะไม่เหนียว )



              2. เททรายและปูนขาวลงในครกกระเดื่องหรือครกมอง แล้วเทน้ำมันละหุ่งลงไป ใช้ไม้คนให้เข้ากัน (หากใช้กระดาษสาร่วมด้วย จะนำกระดาษสามาแช่น้ำจนอิ่มตัว จากนั้นเอามาฉีกเป็นชิ้นๆ ใส่ลงไปในครกด้วย) เพื่อป้องกันไม่ให้ปูนที่ตำกระเด็นออกจากครก จะใช้กระป๋องปูนเจาะรูที่ก้นกระป๋องครอบลงไปบนปากครก จากนั้นจึงเริ่มตำ



    เมื่อเริ่มตำไปได้ประมาณ 10 นาที ปูนที่อยู่ในครกจะเริ่มขึ้นมารวมกันที่ปากครกจะยกกระป๋องขึ้นแล้วใช้ไม้เขี่ยให้ปูนที่อยู่บริเวณปากครกตกลงไปในครก แล้วเอากระป๋องครอบลงไปใหม่ แล้วตำต่อไป ทำเช่นนี้เรื่อยไป ปูนจะเริ่มเกาะตัว



              3. หลังจากตำประมาณ 1 ชั่วโมง จับปูนดูว่านิ่มพอจะบิดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้หรือไม่ถ้าบิดแล้วมีรอยแตกต้องตำต่อไป จนกว่าจะเหนียวคล้ายดินน้ำมัน จึงจะใช้ได้ คือสามารถปั้นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ได้โดยไม่มีรอยแตกหรือหัก ปูนที่ตำแล้วนี้ถ้าไม่ใช้ให้หมดทันที สามารถเก็บไว้ได้ 2 วัน หลังจากนั้นปูนจะแข็งนำมาปั้นไม่ได้



              4. วาดรูปหรือกะเค้าโครงของสิ่งที่จะนำปูนปั้นไปติด



              5. ใช้เกรียงปาดกาวเคม๊อกซิ่นไปบนโครงปูนที่เตรียมไว้ แล้วหยิบปูนที่จะใช้ปั้นออกมาเป็นก้อนตามแต่ขนาดของสิ่งที่จะปั้น ใช้มือกลิ้งปูนไปมาเป็นแท่ง แล้วใช้มือบีบหรือกดให้เป็นรูปทรงต่างๆ ทีละชิ้น เช่น ถ้าจะปั้นใบไม้ก็จะทำเป็นแผ่นบางๆ หรืออาจจะปั้นเป็นก้อนกลมๆ ฯลฯ ส่วนไหนต้องการความอ่อนช้อยงดงามก็ใช้มือบิด แล้วจึงนำแต่ละส่วนไปติดกันโดยใช้มือกดเบาๆ ส่วนไหนต้องการให้แบนก็ลงน้ำหนักมือค่อนข้างมาก หากจะทำร่องหรือเส้นบนปูนปั้นก็ใช้ไม้เล็กขีดเป็นเส้นตามต้องการ

  • ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง หมั่นขยันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาส่งเสริม 

  • -
  • -
  • -