กลับไปหน้าค้นหา

นายประสาท เอี่ยมเทศ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 16 หมู 1 ตำบล : บางจาก อำเภอ : เมืองเพชรบุรี จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

บ้านเรือนไทยแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณ ทั้งช่างปลูกบ้านและช่างออกแบบ ที่ปลูกบ้านเพื่อประโยชน์ใช้สอย และแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัย เป็นแบบบ้านที่สวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ หนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภาคภูมิใจของคนไทย 


ความสำเร็จ : -
ความชำนาญ : การสร้างบ้านเรือนไทย


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • บ้านเรือนไทยแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณ ทั้งช่างปลูกบ้านและช่างออกแบบ ที่ปลูกบ้านเพื่อประโยชน์ใช้สอย และแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัย เป็นแบบบ้านที่สวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ หนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภาคภูมิใจของคนไทย 


    • ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ฤดูฝนมีน้ำหลาก และประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงมักนิยมสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ บ้านเรือนไทยส่วนใหญ่จึงมีลักษณะและเอกลักษณะเฉพาะ ดังนี้



    เรือนใต้ถุนสูง 



    เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เพราะในปลายฤดูฝนจะมีน้ำหลากจากทางเหนือ มาท่วมพื้นที่ลุ่มในภาคกลาง หากมีลมพายุก็สามารถพัดผ่านใต้ถุนเรือนไปได้ หรือถ้าอากาศร้อนอบอ้าว อากาศจากภายนอกก็จะพัดผ่านถ่ายเทระบายความร้อนได้สะดวก อีกทั้งรอบๆ ตัวเรือนยังมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันฝนสาด และแสงแดดร้อน การสร้างบ้านสมัยก่อนยังคำนึงเรื่องทิศทางการระบายลม และระบายความร้อน โดยลมประจำที่พัดผ่าน เรียกว่า ลมว่าว หรือลมตะเภา พัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ การวางตัวเรือนจึงต้องหันทางทิศใต้ หรือทิศเหนือ เพื่อให้ลมพัดผ่านเย็นสบาย ด้วยเหตุนี้เจ้าของเรือน จึงมักใช้ใต้ทุนเป็นที่พักผ่อนและทำกิจกรรมยามว่างต่างๆ เช่น ใช้เป็นสถานที่ทอผ้า ตำข้าว ผูกอู่เลี้ยงลูก หรือเก็บของ



    มีชานบ้านเปิดโล่งกลางบ้าน 



    จะเห็นได้ว่าเรือนไทยส่วนใหญ่มักจะมีชานบ้านโล่งตรงกลาง เพื่อนั่งทำงาน รับรองแขก หรือเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในครอบครัว เนื่องจากคนไทยมักอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่  เมื่อลูกหลานแต่งงาน และต้องการขยายพื้นที่ ก็สามารถสร้างเรือนเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้ชานบ้านเป็นตัวเชื่อม สามารถปรับเปลี่ยนต่อเติมได้เหมาะกับประโยชน์ใช้สอย สภาพภูมิศาสตร์ และสภาพชีวิตสังคมเกษตรกรรม



    หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว 



    หลังคาเรือนไทยเป็นทรงจั่วสูง แบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครง นิยมนำแฝก หรือกระเบื้องดินเผามาเป็นวัสดุมุงหลังคา ซึ่งต้องมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก เพื่อให้น้ำฝนไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคาทรงสูงนี้สามารถกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ห้องได้ จะช่วยถ่ายเทความร้อนได้ดี อากาศร้อนจะลอยไปอยู่ในช่วงหลังคา ทำให้อากาศข้างล่างเย็นสบาย



    ห้องระเบียงชานกว้าง 



    จะเห็นว่าเรือนไทยโดยทั่วไป จะมีพื้นที่ชานค่อนข้างกว้างมาก ซึ่งมีปริมาณถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด ยิ่งถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วย พื้นที่ภายนอกจะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 ของตัวบ้าน ส่วนที่อาศัยหลับนอนและมีฝากั้นเป็นห้อง มีพื้นที่เพียงร้อยละ 40 เท่านั้น สาเหตุที่พื้นที่ภายนอกมีปริมาณมาก ก็เพราะดินฟ้าอากาศที่ร้อนอบอ้าว พื้นที่เรือนส่วนใหญ่จึงต้องสร้างให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก



    เรือนไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท   ด้วยการใช้หลักการใช้การใช้วัสดุในการก่อสร้างเป็นตัวแปร   ดังนั้นจึงสามารถจำแนกประเภทของเรือนไทยเป็นเรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องสับ และเรือนเครื่องก่อ



    เรือนเครื่องผูก นั้นเป็นการใช้ไม้ไผ่หรือไม้ขนาดเล็กนำมาประกอบยึดด้วยเชือกเข้าด้วยกันเป็น โครงสร้าง ตัวเรือน  โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตะปูยึดเป็นที่พักอาศัยแบบง่ายๆ

                       เรือนเครื่องก่อ เป็นการสร้างอาคารให้มีความคงทนถาวร มีอายุการใช้งานได้นานโดยการก่ออิฐถือปูนโดยจะเป็นการสร้างและออกแบบอาคาร เพื่อทางศาสนาและพระราชวังเป็นหลัก



    เรือนเครื่องสับ เป็น รูปแบบของเรือนไทยที่ยกฐานะของตัวเอง เป็นการพัฒนาการก่อสร้างจากเรือนเครื่องผูก ด้วยการใช้ไม้จริง และการนำเอาเทคโนโลยีการแปรรูปของไม้ เช่น การใช้มี ขวาน เลื่อย สิ่ว กบ ค้อน มาปรับแต่งไม้ ถากไม้ให้เป็นรอยสับ รูเจาะ เป็นร่อง เข้าเดือย และเข้าลิ้น แล้วนำไม้ที่แปรแล้วมาประกอบเป็นตัวเรือน



    ช่องแมวลอด   เป็นช่องระหว่างชนเรือนกับพื้นเรือน เป็นช่องที่นำลมจากใต้ถุนบ้านเข้ามาสู่ชานบ้าน ทำให้บริเวณชานบ้านเย็นสบาย และเมื่อยกพื้นสูงขึ้นเป็นช่องแมวลอดแล้วระดับความสูงนั้นก็พอดีกับการนั่ง ได้อย่างสบาย



              ชายคาบ้านเรือนไทยนั้น จะทอดยาวเพื่อเป็นการบังแดดและลดอุณหภูมิอีกระดับหนึ่งก่อนการเข้าไปในห้องนอน



                       ฝาบ้าน  เรือนไทยเองนั้นมีฝาบ้านหลากชิดแล้วแต่ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ต่างกัน เช่นฝาสำรวม ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้กระบอกที่สานกันเป็นโครงสร้างแล้วกรุด้วยแฝกทำให้ อาการถ่ายเทได้สะดวก เหมาะที่จะใช้กับเรือนครัวเพื่อระบายควัน



              ฝาไหล   เป็นการนำฝาไม้ตีเว้นช่องสลับกัน 2 ฝา วางอยู่บนรางไม้ เมื่อเลื่อนมาเหลื่อมกันก็จะเป็นฝาผนังทึบ   เมื่อเลื่อนฝาออกมาซ้อนกันก็จะทำให้เกิดเป็นช่องว่างทำให้ลมและแสงเค้ามาใน ตัวเรือนได้



                       ฝาเกล็ด เป็นฝาไม้กระดานมาตีปิดเป็นแนวนอนกับไม้โครงคร่าว  โดยวางให้ไม้กระดานเหลื่อมกันเป็นลำดับคล้ายเกล็ดปลา บ้านในสมัยปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ด้วย การเว้นช่องระหว่างบานไม้คล้ายกระจกบานเกล็ด ทำเป็นหน้าต่างไม้บานเกล็ด สามารถให้ลมไหลผ่านได้ และเป็นการบังสายตาจากภายนอก

  • -
  • -
  • -
  • -