กลับไปหน้าค้นหา

นางมาลา แซ่ลี้

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 93 หมู 8 ตำบล : ท่าตะคร้อ อำเภอ : หนองหญ้าปล้อง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

นางมาลา  แซ่ลี้   เป็นเกษตรกรที่ได้ทดลองปลูกมาหลายชนิด  เรียนรู้วิธีการ เทคนิคที่หลากหลายลองผิดลองถูกกับการปลูกพืชผักมาจำนวนมากจนมาทดลองเพาะต้นกล้าผักหวานป่า  ผักหวานป่าเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง  ผักหวานป่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผักจะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็นสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย พบว่าผักหวานป่าเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อนแก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหารมีรสหวานกรอบช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำและระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้ ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่าทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวานต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนในแก้น้ำดีพิการและแก้ปวดมดลูก           เมื่อผักหวานป่ามีสรรพคุณมาก  จึงได้ศึกษาการเพาะผักหวานป่าอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ  มีความรู้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจได้  อีกทั้งยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอด้วย


ความสำเร็จ :

การคิดค้นลองผิดลองถูก และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่าง ๆ  เพื่อปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น  มีความอดทน


ความชำนาญ : การปลูกผักหวาน


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นางมาลา  แซ่ลี้   เป็นเกษตรกรที่ได้ทดลองปลูกมาหลายชนิด  เรียนรู้วิธีการ เทคนิคที่หลากหลายลองผิดลองถูกกับการปลูกพืชผักมาจำนวนมากจนมาทดลองเพาะต้นกล้าผักหวานป่า  ผักหวานป่าเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง  ผักหวานป่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผักจะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็นสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย พบว่าผักหวานป่าเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อนแก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหารมีรสหวานกรอบช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำและระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้ ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่าทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวานต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนในแก้น้ำดีพิการและแก้ปวดมดลูก           เมื่อผักหวานป่ามีสรรพคุณมาก  จึงได้ศึกษาการเพาะผักหวานป่าอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ  มีความรู้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจได้  อีกทั้งยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอด้วย

  • การขยายพันธุ์ผักหวานป่า สามารถทำได้ 4 วิธีคือ



                                 1. การเพาะเมล็ด



                                 2. การตอนกิ่ง



                                 3. การชำไหล(ราก)



                                 4. การสกัดราก



                       การเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ได้ผลและนิยมที่สุด



                       1. เก็บหรือซื้อผลผักหวานป่าที่สุกแล้วเปลือกจะมีสีเหลืองสด นำมาหมักไว้ประมาณ 3 - 4 วัน  โดยใส่กระสอบปุ๋ยเข่งหรือภาชะนะอื่น ๆ  ที่ระบายอากาศได้ดี เพื่อให้ผลผักหวานป่าเน่า จะได้แยกเนื้อกับเมล็ดออกจากกันได้ง่ายๆ



                       2. เมื่อผลผักหวานเริ่มเน่าสังเกตดูว่าจะมีราสีขาวขึ้นนำมาเอาเนื้อของผลผักหวานป่าออก โดยใช้มือขยี้แต่ต้องใส่ถุงมือยางเพราะยางของผลผักหวานอาจจะระคายเคืองผิวได้ ขยี้และใช้น้ำล้างจนหมดเมือกเหลือแต่เมล็ดต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้เมล็ดผักหวานช้ำอาจจะเสียหายข้างในแต่มองไม่เห็นจะมีผลต่อการงอกของเมล็ด



                       3. คัดเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าโดยการนำไปล้างน้ำ สังเกตถ้าเมล็ดไหนลอยน้ำให้คัดทิ้ง



                       4. นำเมล็ดผักหวานป่าที่ล้างสะอาดแล้วไปตากลมในที่ร่ม(ห้ามตากแดดเป็นอันขาด)  บนพื้นปูนในห้องน้ำ สังกะสีหรือใช้กระสอบป่านปูรองพื้นก็ได้แต่ถ้าปูบนพื้นดินต้องระวังปลวกกินกระสอบด้วยโดยเกลี่ยให้มีความสูงที่ซ้อนกันไม่เกิน 3 เมล็ด  ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน   จากนั้นใช้กระสอบป่านปูทับเมล็ดผักหวานป่าอีกทีหนึ่งแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น หรือจะเพาะเมล็ดผักหวานป่าในทรายก่อสร้างก็ได้ โดยนำทรายใส่ในกระบะแล้วนำเมล็ดผักหวานป่าลงเพาะในทราย รดน้ำให้ชุ่มเช้า-เย็น



                        5. ประมาณ 3 – 5 วัน  เมล็ดผักหวานป่าเริ่มมีรอยปริเป็นร่องขสีขาวๆและอีกประมาณ 1 -2 วัน  (รวม 7 วัน)  จะมีรากเริ่มงอกออกมาให้นำลงถุงเพาะชำที่เตรียมไว้ในเรือนเพาะชำประมาณเดือนที่ 2  จึงจะเริ่มเห็นใบของต้นกล้าผักหวานป่าเพราะในเดือนแรกรากจะลงดินก่อนรดน้ำ วันละ1-2 ครั้ง ประมาณ 4-5 เดือน ก็นำลงแปลงปลูกได้แต่ก่อนนำต้นกล้าลงแปลงปลูกจริงควรเปิดหลังคาเรือนเพาะชำหรือนำต้นกล้า ออกรับแสงที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติและลดการให้น้ำตามสัก 3-4 วัน  ตามสมควรเพื่อให้ต้นกล้ามีอัตราการรอดในแปลงปลูกสูงขึ้น

  • การคิดค้นลองผิดลองถูก และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่าง ๆ  เพื่อปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น  มีความอดทน

  • -
  • -
  • -