กลับไปหน้าค้นหา

นายสำรวย ชมเสือ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 109 หมู 4 ตำบล : ท่าตะคร้อ อำเภอ : หนองหญ้าปล้อง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

นายสำรวย  ชมเสือ   เป็นเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดอาชีพการมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่  ตั้งแต่เกิดมาก็ได้เรียนรู้วิธีการ เทคนิคที่หลากหลายลองผิดลองถูกและนำมาประยุกต์ใช้   อีกทั้งได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ  ได้วางแผนการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท  ต่อมาได้ลองเปลี่ยนอาชีพมาทำการปลูกสับปะรดและประสบความสำเร็จสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว  ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจจะปลูกสับปะรดได้


ความสำเร็จ :

มีความอดทนและพยายาม


ความชำนาญ : การปลูกสับปะรด


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นายสำรวย  ชมเสือ   เป็นเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดอาชีพการมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่  ตั้งแต่เกิดมาก็ได้เรียนรู้วิธีการ เทคนิคที่หลากหลายลองผิดลองถูกและนำมาประยุกต์ใช้   อีกทั้งได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ  ได้วางแผนการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท  ต่อมาได้ลองเปลี่ยนอาชีพมาทำการปลูกสับปะรดและประสบความสำเร็จสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว  ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจจะปลูกสับปะรดได้

  • 1. พื้นที่เคยปลูกสับปะรด ให้ไถสับใบและต้น ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 เดือน แล้วไถกลบ



                       2. ไถ  1 ครั้ง  ตากดิน 7 – 10 วัน  พรวน 1 – 2 ครั้ง  ยกแปลงสูง 15 เซนติเมตร แล้วทำแนว ปลูกสับปะรด



                       3. ถ้าพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์  ต้องทำร่องระบายน้ำรอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน



                       4. วิเคราะห์ดินก่อนปลูก และปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละแหล่งปลูก โดยเฉพาะการจัดการอินทรีย์วัตถุในดิน



                       5. คัดหน่อให้มีขนาดเดียวกันสำหรับปลูก  ไม่ควรใช้หน่อพันธุ์ที่หักจากต้นแล้วเก็บไว้นานเกินไปในแต่ละแปลงเพื่อเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน   หน่อที่ใช้ปลูกมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (300 – 500 กรัม) ขนาดกลาง (500 – 700 กรัม) และขนาดใหญ่ (700 – 900 กรัม )



                       6. สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 8 – 12 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อที่ใช้ปลูก



                       7. สับปะรดต้องการธาตุอาหารหลัก (N P และ K ) ในแต่ละฤดูการผลิต  ไนโตรเจน 6 – 9 กรัม N ต่อต้น หรือยูเรีย อัตรา 116 – 169 กิโลกรัมต่อไร่  ฟอสฟอรัส 2 – 4 กรัม  P2 O5 ต่อต้น หรือ



    ทริพเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต อัตรา 38 - 76 กิโลกรัมต่อไร่   โพแทสเซียม 8-12 กรัม K2 O ต่อต้นหรือโพแทสเซียมคลอไรด์ 113-170กิโลกรัมต่อไร่



                       8. วิธีการให้ปุ๋ยทางกาบใบ  ให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16 - 20 - 0 และให้ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่างของต้น ด้วยปุ๋ยเคมีสัดส่วน 2 :1 :3 หรือ 3 : 1 : 4 เช่น สูตร 12 - 6 - 15 หรือ 12 - 4 - 18 หรือ 13 - 13 - 21 ให้ 2 ครั้งๆ ละ 10 - 15 กรัมต่อต้น ครั้งแรกหลังปลูก 1 - 3 เดือน ครั้งต่อมาห่างกัน 2-3 เดือน หากไม่ได้ให้ปุ๋ยรองพื้นจะให้ปุ๋ยทางกาบใบล่างของต้นก็ได้แต่เพิ่มจำนวนเป็น 3 ครั้ง เมื่อสับปะรดมีใบสีเขียวซีดจาง เนื่องจากได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ให้พ่นปุ๋ยทางใบเสริมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 23-0-30 ผสมน้ำเข้มข้น 5 % อัตรา 75 มิลลิลิตรต่อต้น จำนวน 3 ครั้ง คือระยะก่อนบังคับดอก 30 วัน 5 วัน และหลังบังคับดอก 20 วัน



                       วิธีการให้ปุ๋ยทางดินร่วมกับการพ่นทางใบ  ให้ปุ๋ยรองพื้นและ/หรือการให้ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่างของต้น 1 ครั้ง อัตรา 10-15 กรัมต่อต้น หลังปลูก 1-3 เดือน ตามข้อ 1 พ่นทางใบเดือนละ 1 ครั้ง จนต้นได้ขนาดที่จะบังคับดอก ด้วยปุ๋ยเคมีประกอบด้วย



                       - แอมโมเนียมซัลเฟต 30 กิโลกรัม          - เหล็กซัลเฟต 3 กิโลกรัม



                       - โพแทสเซียมคลอไรด์ 10 กิโลกรัม         - สังกะสีซัลเฟต 0.5 กิโลกรัม



                       - แมกนีเซียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม             - บอแรกซ์ 0.1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1,000 ลิตร                                                                พ่นในพื้นที่ 1 ไร่



                        9. หลังเก็บเกี่ยวให้ใช้มีดตัดต้นและใบแล้วเร่งการเจริญเติบโตของหน่อด้วยการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต บริเวณกาบใบล่าง ของต้นตอเดิม อัตรา 7-15 กรัมต่อต้น



                       10. การให้น้ำ  ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ ถ้ามีปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอตลอดฤดูฝน ในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง   ควรให้น้ำต้นสับปะรดที่กำลังเจริญเติบโตสัปดาห์ละ 1-2 ลิตรต่อต้น  หลังใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย ถ้าไม่มีฝนต้องให้น้ำเพื่อให้ต้นสับปะรดใช้ปุ๋ยให้หมดควรให้น้ำก่อนและหลังการออกดอกหยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 15-30 วัน



                       11. ในแปลงเดียวกันควรบังคับดอกพร้อมกันบังคับดอกหลังการให้ปุ๋ยทางกาบใบแล้ว 2 เดือน หรือหลังการพ่นปุ๋ยทางใบ 1 เดือน บังคับดอกเมื่อต้นสับปะรดมีน้ำหนักต้นปลูกประมาณ2.5-2.8 กิโลกรัม   และน้ำหนักต้นตอประมาณ 1.8-2.0 กิโลกรัม  ด้วยสารผสมของแอทธิฟอน (39.5 %)  อัตรา 8 มิลลิลิตร กับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 300 กรัม และน้ำ 20 ลิตร อัตรา 60-75  มิลลิลิตรต่อต้น หรือใส่ถ่านแก๊ส อัตรา 1-2 กรัมต่อต้น ในขณะมีน้ำอยู่ในยอดทั้ง 2 วิธี บังคับ 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วันทำการบังคับดอกในช่วงเย็นหรือกลางคืน หากมีฝนตกภายใน 2 ชั่วโมง หลัง    หยอดสารบังคับดอก ควรหยอดซ้ำภายใน 2 -3 วัน



                       12. การเก็บเกี่ยว สับปะรดสำหรับส่งโรงงานให้ใช้มือหักผลออกจากต้นโดยไม่ต้องเหลือก้าน แล้วหักจุกออกสับปะรดสำหรับบริโภคสด ใช้มีดตัดให้เหลือก้านยาวติดผลประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่ต้องหักจุกออก    



             

  • มีความอดทนและพยายาม

  • -
  • -
  • -