กลับไปหน้าค้นหา

นางสุธิตา สุขวดี สมิธ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 9 หมู 5 ตำบล : วังหว้า อำเภอ : ศรีประจันต์ จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ข้าพเจ้า ประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น การทำนา  การปลูกเผือก  การปลูกแห้ว  การปลูกตะไคร้  พืชผักเศรษฐกิจ (คะน้า  ถั่วฝักยาว พริก)  และพืชผักสวนครัว  ผลผลิตที่ได้จำหน่ายและไว้บริโภคเอง   จึงหันมาใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ  เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต  ลดค่าใช้จ่าย  ลดการใช้สารเคมี  และบำรุงดินเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


ความสำเร็จ :

น้ำหมักชีวภาพ   มีธาตุอาหารสำคัญ  ทั้งไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย  เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืช  เป็นการลดต้นทุนในการผลิต  เป็นปุ๋ยบำรุงดิน รักษาสิ่งแวดล้อม  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น



นอกจากนี้  หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้  3  เดือนแล้วออกมา   จะเรียกส่วนนี้ว่า  "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ"  เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง   แล้วหมักไว้  2  เดือน   จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน  จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ  และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น


ความชำนาญ : การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ข้าพเจ้า ประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น การทำนา  การปลูกเผือก  การปลูกแห้ว  การปลูกตะไคร้  พืชผักเศรษฐกิจ (คะน้า  ถั่วฝักยาว พริก)  และพืชผักสวนครัว  ผลผลิตที่ได้จำหน่ายและไว้บริโภคเอง   จึงหันมาใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ  เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต  ลดค่าใช้จ่าย  ลดการใช้สารเคมี  และบำรุงดินเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • “ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ” มีสรรพคุณจากส่วนผสมต่าง ๆ นำมาพัฒนาเข้ากับยุคสมัย ให้ทันกับศัตรูพืช



    เพลี้ย  แมลง  ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  และพัฒนาทำปุ๋ยชีวภาพ   โดยหาวัตถุดิบใกล้ตัว นำมาทดลองใช้ และผู้ใดสนใจก็แบ่ง และสอนให้ทำเอง 



     



              ส่วนผสม :  เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์  อย่างหอยเชอรี่   อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ   โดยสับเป็นชิ้นเล็ก  3  ส่วน, กากน้ำตาล  1  ส่วน    (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง  หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน





              วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย



             ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

             ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

             ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

  • น้ำหมักชีวภาพ   มีธาตุอาหารสำคัญ  ทั้งไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย  เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืช  เป็นการลดต้นทุนในการผลิต  เป็นปุ๋ยบำรุงดิน รักษาสิ่งแวดล้อม  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น



    นอกจากนี้  หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้  3  เดือนแล้วออกมา   จะเรียกส่วนนี้ว่า  "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ"  เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง   แล้วหมักไว้  2  เดือน   จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน  จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ  และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

  • -
  • -
  • -