กลับไปหน้าค้นหา

นายสุทธิเขตร์ สุขสะอาด

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 247 หมู 2 ตำบล : ท่าตะคร้อ อำเภอ : หนองหญ้าปล้อง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

การเลี้ยงหมูในปัจจุบันนับว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงต้องซื้ออาหารสำเร็จ หรือวัตถุดิบต่างๆ มาผสมเป็นอาหารของหมู ในราคาค่อนข้างสูง เพราะส่วนผสมส่วนใหญ่นั้นไม่ได้นำมาจากภายในท้องถิ่น นอกจากต้นทุนการผลิตที่สูงมากแล้ว การเลี้ยงหมูยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็นรบกวนที่มีค่อนข้างมาก น้ำที่ไหลออกจากคอกหมูไม่สะอาด การเลี้ยงทั่วไปหมูอยู่บนพื้นแข็ง ทำให้อยู่ไม่สบายตัว ซึ่งนี่เองจึงเป็นส่วนที่ผู้เลี้ยงไม่ควรที่จะต้องเสียรายจ่ายไปเลยแม้แต่น้อย



                   นายสุทธิเขตร์  สุขสะอาด  ปราชญ์ชุมชนเป็นเกษตรกรซึ่งมีความรู้ด้านช่างไม้  ได้ทดลองเลี้ยงหมูต้นทุนต่ำ  และได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต นับว่าเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำการเกษตร ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และเลี้ยงหมูแบบต้นทุนต่ำ อีกด้วย


ความสำเร็จ :

มีการศึกษาหาความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่างๆ เพื่อปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น


ความชำนาญ : การเลี้ยงหมู


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • การเลี้ยงหมูในปัจจุบันนับว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงต้องซื้ออาหารสำเร็จ หรือวัตถุดิบต่างๆ มาผสมเป็นอาหารของหมู ในราคาค่อนข้างสูง เพราะส่วนผสมส่วนใหญ่นั้นไม่ได้นำมาจากภายในท้องถิ่น นอกจากต้นทุนการผลิตที่สูงมากแล้ว การเลี้ยงหมูยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็นรบกวนที่มีค่อนข้างมาก น้ำที่ไหลออกจากคอกหมูไม่สะอาด การเลี้ยงทั่วไปหมูอยู่บนพื้นแข็ง ทำให้อยู่ไม่สบายตัว ซึ่งนี่เองจึงเป็นส่วนที่ผู้เลี้ยงไม่ควรที่จะต้องเสียรายจ่ายไปเลยแม้แต่น้อย



                       นายสุทธิเขตร์  สุขสะอาด  ปราชญ์ชุมชนเป็นเกษตรกรซึ่งมีความรู้ด้านช่างไม้  ได้ทดลองเลี้ยงหมูต้นทุนต่ำ  และได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต นับว่าเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำการเกษตร ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และเลี้ยงหมูแบบต้นทุนต่ำ อีกด้วย

  • 1. สถานที่และพื้นที่ต่อตัว



                                 - การเตรียมคอกหรือโรงเรือนก่อนรับเข้าเลี้ยง   พ่นล้างทำความสะอาดทุกซอกทุกมุม  เตรียมอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน



                                 - พื้นที่ต่อตัวที่ใช้เลี้ยง การเลี้ยงหมูในช่วงรุ่น – ขุน อายุเริ่มต้น 10 สัปดาห์



                       2. น้ำ



                                 - คุณภาพน้ำ ต้องตรวจเช็คดูน้ำที่จะให้แก่หมูต้องมีคุณภาพและความสะอาดอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม



                                 - อัตราไหลของน้ำและปริมาณน้ำจากก๊อกน้ำ ควรจะอยู่ที่ 1-2 ลิตรต่อนาที



    หมูกินและเล่นผ่อนคลายความเครียดจากการย้ายและการรวมคอก



                       3.อาหาร



                                 - ควรเลือกให้อาหารที่มีคุณค่าทางพลังงาน โปรตีน กรดอะมิโน ไวตามิน แร่ธาตุครบตามความต้องการของหมูในช่วงรุ่นและขุน  อาหารต้องสดใหม่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค เชื้อรา



                       4.อากาศและสภาพแวดล้อม



                                 - เลือกอุณหภูมิเหมาะสม มีอากาศบริสุทธิ์ถ่ายเทได้สะดวก จัดสภาพแวดล้อมไม่ให้อับทึบขัดขวางทางลม



                       5. การจัดการรับหมูเข้าเลี้ยงในโรงเรือนหมูรุ่น – ขุน  ดำเนินการ ต่อไปนี้



                                 1) ช่วงเวลาในการย้ายเข้าเลี้ยง ให้เลือกช่วงเวลาที่อากาศเย็นสบาย เช่น เวลาในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น



                                 2) สถานที่และพื้นที่ต่อตัว แนะนำให้จัดการตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อการจัดการเรื่องสถานที่



                                 3) การจัดขนาด ควรมีการจัดขนาดให้ไล่เลี่ยกันในแต่ละคอกในช่วงการรับเข้าใหม่



                                 4) น้ำ ต้องมีกินและเล่นอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรกของการรับเข้าเลี้ยง



                                 5) อาหาร ต้องมีกินตลอดเวลาและหมูสามารถเข้ามากินได้ทั่วถึงทุกตัว



                                 6) อากาศและสภาพแวดล้อม-จัดการให้มีอากาศบริสุทธิ์หรือลมพัดถ่ายเทเข้าในโรงเรือนได้สะดวก-ป้องกันไม่ให้ลมเข้ากระทบตัวหมูโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสัปดาห์แรกหลังรับเข้า-ใช้อุปกรณ์พัดลมเสริม หากสภาพอากาศร้อนชื้นให้ใช้อุปกรณ์ เช่น พัดลมเป่าช่วยให้เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศและความร้อนชื้นออกจากโรงเรือน ก็จะช่วยบรรเทาไปได้มาก



                                 การเลี้ยงหมูที่มีอัตราการเจริญเติบโตดีมีน้ำหนักมาตรฐาน คือ ที่อายุ 24 สัปดาห์ น้ำหนักควรจะได้ประมาณ 95 กิโลกรัม สุขภาพและคุณภาพซากอยู่ในเกณฑ์ดีตามพันธุกรรม

  • มีการศึกษาหาความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่างๆ เพื่อปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

  • -
  • -
  • -