กลับไปหน้าค้นหา

นายจำเนียร ผูกศิริ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 10 หมู 1 ตำบล : ท่าตะคร้อ อำเภอ : หนองหญ้าปล้อง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

การปลูกสับปะรด  ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควรของบ้านวังซอ   นายจำเนียร  ผูกศิริ ได้ศึกษาข้อมูลด้านการปลูกสับปะรดจากผู้ที่มีความชำนาญ  เรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ   แล้วนำความรู้ที่ได้มาปลูกสับปะรด  พัฒนาการปลูกมาเรื่อยๆ  จนประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ


ความสำเร็จ :

การคิดค้นลองผิดลองถูก และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่าง ๆ  เพื่อปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น  มีความอดทน


ความชำนาญ : การปลูกสับปะรด


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • การปลูกสับปะรด  ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควรของบ้านวังซอ   นายจำเนียร  ผูกศิริ ได้ศึกษาข้อมูลด้านการปลูกสับปะรดจากผู้ที่มีความชำนาญ  เรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ   แล้วนำความรู้ที่ได้มาปลูกสับปะรด  พัฒนาการปลูกมาเรื่อยๆ  จนประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ

  • การเตรียมดิน



                       1. พื้นที่เคยปลูกสับปะรด ให้ไถสับใบและต้น ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 เดือน แล้วไถกลบ



                       2. ไถ  1 ครั้ง  ตากดิน 7 – 10 วัน  พรวน 1 – 2 ครั้ง  ยกแปลงสูง 15 เซนติเมตร แล้วทำแนว ปลูกสับปะรด



                       3. ถ้าพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์  ต้องทำร่องระบายน้ำรอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน



                       4. วิเคราะห์ดินก่อนปลูก และปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละแหล่งปลูก โดยเฉพาะการจัดการอินทรีย์วัตถุในดิน



                       วิธีการปลูก



                       การปลูกด้วยหน่อ



                       1. คัดหน่อให้มีขนาดเดียวกันสำหรับปลูกในแต่ละแปลงเพื่อเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน



                       2. หน่อที่ใช้ปลูกมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (300 – 500 กรัม) ขนาดกลาง (500 – 700 กรัม) และขนาดใหญ่ (700 – 900 กรัม )



                       3. ไม่ควรใช้หน่อพันธุ์ที่หักจากต้นแล้วเก็บไว้นานเกินไป



                       4. สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 8 – 12 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อที่ใช้ปลูก



                       การปลูกด้วยจุก



                       1. ปลูกด้วยจุกที่มีขนาดตั้งแต่ 180 กรัม



                       2. สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 10 – 14 เดือน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาปลูก การปลูกและระยะปลูก



                       3. ชุบหน่อพันธุ์หรือจุกก่อนปลูกด้วยสารป้องกันโรครากเน่าหรือต้นเน่า โดยเฉพาะ การปลูก ช่วงฤดูฝน



                       4. ปลูกแถวคู่ ระยะปลูก 30 x 05 (80 – 90 เซนติเมตร) ปลูกได้ประมาณ 7,500 – 8,500 ต้นต่อไร่ แต่ไม่ควรเกิน 12,000 ต้นต่อไร่



                       การดูแลรักษา



                       การใส่ปุ๋ย



                       1. สับปะรดต้องการธาตุอาหารหลัก (N P และ K ) ในแต่ละฤดูการผลิต



                       2. ไนโตรเจน 6 – 9 กรัม N ต่อต้น หรือยูเรีย อัตรา 116 – 169 กิโลกรัมต่อไร่



                       3. ฟอสฟอรัส 2 – 4 กรัม P2 O5 ต่อต้น หรือทริพเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต อัตรา 38 - 76 กิโลกรัมต่อไร่



                       4. โพแทสเซียม 8-12 กรัม K2 O ต่อต้นหรือโพแทสเซียมคลอไรด์ 113-170กิโลกรัมต่อไร่



                       การให้ปุ๋ยต้นปลูก ให้เลือกวิธี 1 หรือ 2



                       1. วิธีการให้ปุ๋ยทางกาบใบ



                       ให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16 - 20 - 0 และให้ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่างของต้น ด้วยปุ๋ยเคมีสัดส่วน 2 :1 :3 หรือ 3 : 1 : 4 เช่น สูตร 12 - 6 - 15 หรือ 12 - 4 - 18 หรือ 13 - 13 - 21 ให้ 2 ครั้งๆ ละ 10 - 15 กรัมต่อต้น ครั้งแรกหลังปลูก 1 - 3 เดือน ครั้งต่อมาห่างกัน 2-3 เดือน หากไม่ได้ให้ปุ๋ยรองพื้นจะให้ปุ๋ยทางกาบใบล่างของต้นก็ได้แต่เพิ่มจำนวนเป็น 3 ครั้ง เมื่อสับปะรดมีใบสีเขียวซีดจาง เนื่องจากได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ให้พ่นปุ๋ยทางใบเสริมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 23-0-30 ผสมน้ำเข้มข้น 5 % อัตรา 75 มิลลิลิตรต่อต้น จำนวน 3 ครั้ง คือระยะก่อนบังคับดอก 30 วัน 5 วัน และหลังบังคับดอก 20 วัน



                       2. วิธีการให้ปุ๋ยทางดินร่วมกับการพ่นทางใบ



                       ให้ปุ๋ยรองพื้นและ/หรือการให้ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่างของต้น 1 ครั้ง อัตรา 10-15 กรัมต่อต้น หลังปลูก 1-3 เดือน ตามข้อ 1 พ่นทางใบเดือนละ 1 ครั้ง จนต้นได้ขนาดที่จะบังคับดอก ด้วยปุ๋ยเคมีประกอบด้วย



                       - แอมโมเนียมซัลเฟต 30 กิโลกรัม           - เหล็กซัลเฟต 3 กิโลกรัม



                       - โพแทสเซียมคลอไรด์ 10 กิโลกรัม         - สังกะสีซัลเฟต 0.5 กิโลกรัม



                       - แมกนีเซียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม              - บอแรกซ์ 0.1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1,000 ลิตร                                                                พ่นในพื้นที่ 1 ไร่



                       การให้ปุ๋ยต้นตอ



                       1. หลังเก็บเกี่ยวให้ใช้มีดตัดต้นและใบแล้วเร่งการเจริญเติบโตของหน่อด้วยการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต บริเวณกาบใบล่าง ของต้นตอเดิม อัตรา 7-15 กรัมต่อต้น



                       2. ให้ปุ๋ยทางกาบใบ ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-6-15 หรือ 13 -13 - 21 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อต้น จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังจากเลือกหน่อที่จะไว้ตอแล้ว และครั้งต่อมาอีก 4 เดือน



                       3. เมื่อสับปะรดมีใบสีเขียวซีดจาง เนื่องจากได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ให้หยอดหรือพ่นด้วยปุ๋ยเคมีจำนวน 3 ครั้ง เช่นเดียวกับการให้ปุ๋ยต้นปลูก



                       การให้น้ำ



                       ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ ถ้ามีปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอตลอดฤดูฝน ในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำต้นสับปะรดที่กำลังเจริญเติบโตสัปดาห์ละ 1-2 ลิตรต่อต้น หลังใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย ถ้าไม่มีฝนต้องให้น้ำเพื่อให้ต้นสับปะรดใช้ปุ๋ยให้หมดควรให้น้ำก่อนและหลังการออกดอกหยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 15-30 วัน



     



                       การบังคับดอก



                    ในแปลงเดียวกัน    ควรบังคับดอกพร้อมกันบังคับดอกหลังการให้ปุ๋ยทางกาบใบแล้ว  2 เดือน หรือหลังการพ่นปุ๋ยทางใบ 1 เดือน บังคับดอกเมื่อต้นสับปะรดมีน้ำหนักต้นปลูกประมาณ2.5-2.8 กิโลกรัม   และน้ำหนักต้นตอประมาณ 1.8-2.0 กิโลกรัม  ด้วยสารผสมของแอทธิฟอน (39.5 %)  อัตรา 8 มิลลิลิตร กับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 300 กรัม และน้ำ 20 ลิตร อัตรา 60-75  มิลลิลิตรต่อต้น หรือใส่ถ่านแก๊ส อัตรา 1-2 กรัมต่อต้น ในขณะมีน้ำอยู่ในยอดทั้ง 2 วิธี บังคับ 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วันทำการบังคับดอกในช่วงเย็นหรือกลางคืน หากมีฝนตกภายใน 2 ชั่วโมง หลัง     หยอดสารบังคับดอก ควรหยอดซ้ำภายใน 2 -3 วัน



                       การเก็บเกี่ยว



                       ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม  สับปะรดสำหรับโรงงาน



                       - เก็บเกี่ยวผลสับปะรดที่มีความสุกแก่ตามมาตรฐาน



                       - ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิดเร่งให้สับปะรดสุกก่อนกำหนด



                       ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม  สับปะรดสำหรับบริโภคสด



                       - เก็บเกี่ยวเมื่อตาสับปะรดเริ่มเปิด 2-3 ตา หรือผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์



                       วิธีการเก็บเกี่ยว



                       - สับปะรดสำหรับส่งโรงงานให้ใช้มือหักผลออกจากต้นโดยไม่ต้องเหลือก้าน แล้วหักจุกออกสับปะรดสำหรับบริโภคสด ใช้มีดตัดให้เหลือก้านยาวติดผลประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่ต้องหักจุกออก  

  • การคิดค้นลองผิดลองถูก และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่าง ๆ  เพื่อปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น  มีความอดทน

  • -
  • -
  • -