กลับไปหน้าค้นหา

นายเสน่ห์ แตงเลี้ยง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 67 หมู 2 ตำบล : บ้านช้าง อำเภอ : สองพี่น้อง จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

มีความสนใจจึงงศึกษาหาความรู้พบว่าเป็นที่ต้องการของตลาด


ความสำเร็จ :

ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา


ความชำนาญ : ปลูกมะละกอ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • มีความสนใจจึงงศึกษาหาความรู้พบว่าเป็นที่ต้องการของตลาด

  • การเตรียมแปลงปลูก

    1.ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7

    2.วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลักโดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร

    3.ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม.และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับ

    4.ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ ประมาณ 1 พลั่วหรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมา และใส่ร๊อกฟอสเฟตลงไปอีก 100 กรัม ถ้าไม่มีร๊อกฟอสเฟตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่แทนจำ นวน20 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนแกงต่อหลุม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม

    5.ก่อนปลูก หาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทำ เครื่องหมายที่ตำ แหน่ง 0.00, 0.50เมตร และ 1 เมตร เป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกด้าน 



    วิธีการปลูก 

            ให้นำ ต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำ แหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่น โดยเฉพาะรอบ ๆ โคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดนํ้าให้ชุ่มถ้าเกษตรกรปลูกมะละกอช่วงต้นฤดูฝน จะช่วยประหยัดทุนและแรงงานในการให้นํ้า โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ จะต้องให้นํ้ากับต้นกล้ามะละกอจนตั้งตัวได้ โดยรดนํ้า 2-3 วันต่อครั้ง และที่สำ คัญคือช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลเป็นช่วงที่ต้องการนํ้ามาก การขาดนํ้าจะทำ ให้ดอกร่วง ผลร่วง ผลไม่สมบูรณ์ การให้นํ้ากับต้นมะละกออย่างสมํ่าเสมอ จึงทำให้มะละกอมีผลผลิตสูง โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกในที่ดอน หรือในเขตจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา

  • การเลือกพื้นที่ปลูกมะละกอ 

            มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายนํ้าดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบนํ้าขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรง ไม่ได้ควรทำ แนวไม้กันลมโดยรอบด้วยมะละกอจะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่มใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำ ให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำ จัดศัตรูของมะละกอระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 4 x 3 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร แหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผิวมะละกอบาง ทำ ให้เกิดการชอกชํ้าในการขนส่งได้ง่ายกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ

  • -

  • ปลูกมาเป็นระยะเวลา 5 ปี