กลับไปหน้าค้นหา

นายธีระพงษ์ แซ่วื่อ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 158 หมู 15 ตำบล : นาบัว อำเภอ : นครไทย จังหวัด: พิษณุโลก
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาดูงาน และการอบรม  


ความสำเร็จ :

  1. ความพยายามในการลดต้นทุน ควบคุมวัตถุดิบสูญเสีย และเพิ่มระบบบริหารจัดการ

  2. การสร้างโอกาสในการขยายตลาด หาช่องทางจัดจำหน่าย ศึกษาความต้องการของตลาด และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  3. ขยัน อดทน มุ่งมั่น ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง


ความชำนาญ : ปลูกขิง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาดูงาน และการอบรม  

  •           ขั้นตอนที่    พันธุ์ขิงที่ดีมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าได้พันธุ์ขิงที่ดีก็แสดงว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว เกษตรกรผู้ที่ปลูกขิงจะปลูกไว้ทำพันธุ์เองก็ได้หรือหาจากแหลงอื่นๆ เช่น สำหรับเกษตรกรในอย่างผมนั้นจะไปหาทางภาคเหนือ เพราะไม่ค่อยใช้สารเคมีเท่าไหร่ พันธุ์ขิงที่ดีสังเกตโดย ไม่ขึ้นรา ไม่ชื้นเน่า หัวขิงไม่แตก           หัวไม่บอด หัวไม่ขาว



    ขั้นตอนที่ 2  เตรียมที่ดินขั้นตอนนี้ต้องเลือกดินที่มีคุณภาพ ซึ่งไม่เคยปลูกขิงมาก่อนก็จะดีที่สุด เพราะไม่มีเชื่อรา หรือเชื่อเน่าตกค้างอยู่ เมื่อปลูกแล้วจะทำให้เห็นผลในระยะยาวได้ จะเริ่มต้นด้วยการการถางหญ้าที่รก และทำการไถกลบทิ้งไว้ประมาณ 15 วันเพื่อเป็นการฆ่าเชื่อราที่อยู่ในดิน ต่อจากนั้นทำการตีดินให้มีความระเอียด เพื่อให้เหมาะแก่การยกร่องขิงต่อไป



    ขั้นตอนที่    ทำการยกร่องขิง โดยใช้จอบยกร่องขิงให้ห่างกันประมาณหนึ่งฟุตต่อหนึ่งร่อง ขั้นตอนนี้อาจจะยากหน่อยสำหรับเกษตรกรที่ทำคนเดียว การจ้างคนงานมาทำในขั้นตอนนี้ก็เป็นการย่นระยะเวลาได้ ทั้งหมดเพื่อเป็นการจ้างงานให้เกินขึ้นด้วย



    ขั้นตอนที่  ขั้นตอนของการปลูก สิ่งที่ต้องทำ คือ ตัดแม่ขิงให้เสร็จ ในที่นี้ดัดแม่ขิงให้แต่ละแง่งมีตาของขิงอยู่ 2-3 ตาในแง่งนั้น เพราะขิงจะทำการแตกตามมาก่อนแล้วขยายแง่งต่อไป แล้วใส่ถุงไว้พร้อมที่จะนำไปปลูก วิธีปลูกมีดังนี้

    1 ใส่ขี่ไก่  เป็นการใส่ขี้ไก่ไปในร่องที่ได้ทำการขุนแล้ว เพราะขี้ไก่จะเป็นอาหารให้กับขิงเป็นอันดับแรง

    2 ใส่แม่ขิง ไม่ควรใส่แม่ขิงห่างกันเกินไป และไม่ควรใส่ให้ชิดกันเกินไป เพราะขิงหนึ่งต้นนั้นจะแตกแง่งเยอะ

    3 กลบดินที่ขุด กลบดินไม่น้อย และไม่มากเกินไป

    4 คลุมด้วยหญ้าคา เพื่อกันแดดที่ร้อน



    ขั้นตอนที่ 5   การดูแลหญ้า ต้องทำการดูแลหญ้าเพื่อไม่ให้เกิดหญ้ารกในแปลงขิง การที่หญ้ารกจะทำให้ขิงเติบโตชามาก เพราะหญ้าจะแย่งอาหารและแสงแดดของขิงหมด การดูและหญ้าที่ดีนั้นควรเริ่มตั้งแต่เห็นต้นขิงแตกยอดเหนือดินขึ้นมา หรือจะใช้วิธีสารเคมีในการคลุมหญ้าก็ได้ แต่สำหรับท่านที่ต้องการทำขิงออแกนิกค์นั้นไม่ควรใช้เป็นอันขาด ควรใช้แรงงานมากกว่า



    ขั้นตอนที่ 6 ใส่ปุ๋ยสูตรครั้งที่ 1 ปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้สูตร15-15-15 หรือ 16-8-8 ก็ขึ้นอยู่กับเกษตรกรท่านนั้นๆ เพราะปุ๋ยสูตรแต่ละอย่างให้ประโยชน์ต่างกันให้กับขิง แต่ที่สำคัญนั้นเราต้องดูที่ต้นขิงเป็นหลัก สิ่งที่ต้องการแน่ะนำคือ ครั้งที่ 1 นี้ควรใช้สูตร 15-15-15 เพราะเป็นสูตรกลางๆ ที่ใช้กับ ใบ ก้าน และ ราก ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2  ส่วนมากแล้วปุ๋ยครั้งนี้จะใส่ในเดือนกรกฎาคม เพราะต้องการที่จะแร่งให้ขิงเริ่มที่จะลงหัวควรเป็นสูตร 13-13-21 แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับเกษตรกรที่จะสะดวกในการใช้



    ขั้นตอนที่ 7 การพรวนดินให้กับขิงเพื่อขิงจะได้ทำการเปลี่ยนราก และหาสารอาหารได้ทั่วถึงมากขึ้นขันตอนนี้จะทำก็ต่อเมื่อยอดขิงเริ่มมีใบเลี้ยงโพล่ออกจากดิน และมีแง่ง 3 แง่งเหมือนหางแมลงป่อง จะทำการใส่ปุ๋ยพร้อมกับพรวนดินให้กับขิงด้วย เกษตรกรจะเร่งทำในต้นเดือนมิถุนายน และทำการดูแลหญ้าไม่ให้รกในแปลงขิงควบคู่ไปด้วย

    ขั้นตอนที่ 8   ขั้นของการเก็บเกี่ยวผลผลิตของขิงนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ซึ่งมีทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศด้วยที่ขิงไทยจะส่งออกไปขาย เช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ บรูไน ซึ่งมีอยู่ 4 ระดับ

    1 ขิงอ่อน อยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เป็นขิงที่ส่งขายในประเทศเป็นหลัก หรือเรียกว่าตลาดในประเทศ

    2 ขิงโรงงาน อยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม เป็นขิงที่ส่งเข้าโรงงานแปรรูป

    3 ขิงดอกแดง อยู่ระหว่างเดือนตุลาคม เป็นขิงที่เข้าห้องเย็นเพื่อเก็บเป็นสต็อกสินค้าไว้ จะได้ขายในช่วงที่ไม่มีขิง และส่งต่างประเทศ

    4 ขิงแก่ อยู่ระหว่างเดือนมกราคม เป็นขิงที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์ต่อไป


    1. ความพยายามในการลดต้นทุน ควบคุมวัตถุดิบสูญเสีย และเพิ่มระบบบริหารจัดการ

    2. การสร้างโอกาสในการขยายตลาด หาช่องทางจัดจำหน่าย ศึกษาความต้องการของตลาด และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

    3. ขยัน อดทน มุ่งมั่น ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

  • -
  • -
  • -