กลับไปหน้าค้นหา

นางใกล้รุ่ง แก้วเจริญ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 48/2 หมู 3 ตำบล : มดแดง อำเภอ : ศรีประจันต์ จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ข้าพเจ้า  ประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น การทำนา เป็นอาชีพหลัก  มีทั้งข้าวหอมปทุม , กข ๑๑, และข้าวไรท์เบอรี่  ผลผลิตที่ได้ส่งจำหน่ายและบริโภคเอง จึงหันมาใช้สารชีวภาพ คือ บิวเวอร์เรีย  มาสลับกับการใช้สารเคมี ซึ่งลดปริมาณการใช้สารเคมีเกินครึ่ง  ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ลดค่าใช้จ่าย ต้นกล้าแข็งแรง  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


ความสำเร็จ :

สารชีวภาพ (เชื้อบิวเวอร์เรีย)  ใช้ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ใช้ได้ผลดีระยะตัวอ่อน เพลี้ยไฟในกล้วยไม้ ไรแดง และแมลงบั่ว  เป็นการลดรายจ่าย และต้นทุนในการผลิต ทำให้ต้นกล้าแข็งแรงต้นต่อโรค  ถ้าใช้ตามระยะเวลาที่กำหนด สารเคมีไม่ต้องใช้ในนาข้าวได้เลย  ปัจจุบันปลูกข้าวไว้บริโภคเอง เพราะปลอดภัยไร้สารเคมี  


ความชำนาญ : การผลิตสารชีวภาพ (บิวเวอร์เรีย)


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ข้าพเจ้า  ประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น การทำนา เป็นอาชีพหลัก  มีทั้งข้าวหอมปทุม , กข ๑๑, และข้าวไรท์เบอรี่  ผลผลิตที่ได้ส่งจำหน่ายและบริโภคเอง จึงหันมาใช้สารชีวภาพ คือ บิวเวอร์เรีย  มาสลับกับการใช้สารเคมี ซึ่งลดปริมาณการใช้สารเคมีเกินครึ่ง  ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ลดค่าใช้จ่าย ต้นกล้าแข็งแรง  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • เชื้อราบิวเวอเรีย  ( Beauveria )  เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงได้หลายชนิด โดยเฉพาะเพลี้ย



    กระโดดสีน้ำตาลและหนอนศัตรูพืช  โดยเชื้อราจะสร้างเส้นใยและสปอร์สีขาว



    การผลิตขยายเชื้อราบิวเวอเรีย



    วัสดุอุปกรณ์



    1. เมล็ดข้าวโพด



    2. หม้อนึ่งความดัน หรือหม้อนึ่งลูกทุ่ง



    3. ถุงพลาสติกก้นจีบชนิดทนความร้อน



    4. คอขวดพลาสติก



    5. สำลี



    6. หัวเชื้อราบิวเวอเรียบริสุทธิ์



    7. ตู้ปลอดเชื้อ



    8. อลูมิเนียมฟอยด์ / กระดาษใช้แล้ว



    9. ยางวง



    10. ตะเกียงแอลกอฮอล์



    11. แอลกอฮอล์ 95 % และ 70 %



    12. เข็มเขี่ยเชื้อ



     



    ขั้นตอนการผลิต



    1. แช่เมล็ดข้าวโพดในน้ำ ประมาณ 12 ชั่วโมง



    2. นำเมล็ดข้าวโพดมาผึ่งแดด พอหมาด ๆ



    3. กรอกเมล็ดข้าวโพด ใส่ถุงพลาสติกก้นจีบชนิดทนร้อน ประมาณ 0.5 กิโลกรัม ใส่คอขวด



    จุกด้วยสำลีให้แน่น ปิดทับด้วยอลูมิเนียมฟอยด์ หรือกระดาษรัดด้วย  ยางวง



    4. นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดันที่อุณหภูมิ       121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อ



    ตารางนิ้ว    นาน  25-30 นาที  ถ้าเป็นหม้อนึ่งลูกทุ่งจะใช้เวลาประมาณ   2 ชั่วโมง ดับไฟปล่อยไว้ให้เย็นอีกประมาณ 30 นาที  จึงเปิดฝาหม้อนึ่งออก



    5. นำข้าวโพดออกจากหม้อนึ่งวางไว้ให้อุ่น ๆ เพื่อนำไปเขี่ยเชื้อ



    6. ก่อนการเขี่ยเชื้อควรทำความสะอาดร่างกาย ล้างมือและแขนให้สะอาด แล้วเช็ดด้วย



    แอลกอฮอล์ 95 %



    7. ทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อโดยเช็ดด้วยแอลกอฮอล์  95 %  เปิดแสงอุลตราไวโอเลต



    (แสงยูวี) ฆ่าเชื้อนาน 15 นาที



    8. นำถุงเมล็ดข้าวโพด พร้อมอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน เช่น ตะเกียง เข็มเขี่ยเชื้อ ไฟแช็ค



    แก้วบรรจุแอลกอฮอล์ ใส่ตู้เขี่ยเชื้อ เปิดแสงอุลตร้าไวโอเลต (ยูวี)   ฆ่าเชื้อนาน 15 นาที



    9. ปิดแสงยูวี เปิดไฟปกติเพื่อเตรียมเขี่ยเชื้อ



                        ¶ วงจรการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย ¶



     



    การใช้เชื้อราบิวเวอเรียควบคุมศัตรูพืช



    1.  เชื้อราบิวเวอเรีย 1–2 กิโลกรัม / น้ำ 20  ลิตร  โดยแบ่งน้ำออกเป็น 2  ส่วน



    2.  นำน้ำส่วนที่ 1 จำนวน 5 ลิตร ผสมกับเชื้อราบิวเวอเรียจำนวน 1–2 กิโลกรัม ทำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเม็ดข้าวโพดแล้วกรองด้วยผ้าบาง ๆ 



    3.  นำน้ำส่วนที่ 2 จำนวน 15 ลิตร ผสมกับสารจับใบคนให้เข้ากัน



    4.  นำน้ำที่ได้จากข้อ 2 และข้อ 3 มาผสมกันและคนให้เข้ากัน



    5.  นำไปฉีดพ่นในแปลงที่พบเพลี้ยหรือหนอน  โดยให้ฉีดพ่นในช่วงที่มีความชื้นสูง (ช่วงเวลาเย็นที่มีแสงแดดอ่อน ๆ หรือตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น)



    6.  ควรปรับหัวฉีดให้พ่นฝอยละเอียดจะฉีดได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น



    7.  สามารถตรวจสอบผลการควบคุมศัตรูพืชได้หลังจากใช้เชื้อราบิวเวอเรียไปแล้ว 1–3 วัน

  • สารชีวภาพ (เชื้อบิวเวอร์เรีย)  ใช้ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ใช้ได้ผลดีระยะตัวอ่อน เพลี้ยไฟในกล้วยไม้ ไรแดง และแมลงบั่ว  เป็นการลดรายจ่าย และต้นทุนในการผลิต ทำให้ต้นกล้าแข็งแรงต้นต่อโรค  ถ้าใช้ตามระยะเวลาที่กำหนด สารเคมีไม่ต้องใช้ในนาข้าวได้เลย  ปัจจุบันปลูกข้าวไว้บริโภคเอง เพราะปลอดภัยไร้สารเคมี  

  • -
  • -
  • -