กลับไปหน้าค้นหา

นายอรุณ ทัศนาลัย

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 83/1 หมู 8 ตำบล : ท่ายาง อำเภอ : ท่ายาง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

บ้านนาขึงหนัง หมู่ที่ 8 ตำบล มาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็น หมู่บ้านเกษตรกรรม อาชีพส่วนใหญ่ การปลูกมะนาว กล้วย  และปลูกผักสวนครัว ต้องพึ่งพายากำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง ปุ๋ยและสารเคมี ต่างๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงมาก อีกทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมี ก็เข้ามามีบทบาทค่อนข้างเยอะเกษตรกรส่วนใหญ่เลยเริ่มไม่ค่อยรู้จักความพอเพียง เพราะมุ่งเห็นแต่ผลกำไร ต้องการให้ได้ผลผลิตมาก ลืมมองย้อนถึงต้นทุนที่สูงตามไปด้วย  หลังจากที่ ได้เข้าร่วมอบรมและเป็นสมาชิก   ในหลายๆ โครงการกับทางสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชน  ทำให้ได้รับความรู้ต่างๆ มากมาย จึงนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ วิธีการทำปุ๋ยหมักให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ เพื่อเป็นการลดต้นทุน ลดรายจ่ายและสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมขน ต่อไป


ความสำเร็จ :

ความร่วมแรงร่วมใจ การรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม 


ความชำนาญ : การทำน้ำหมัก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • บ้านนาขึงหนัง หมู่ที่ 8 ตำบล มาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็น หมู่บ้านเกษตรกรรม อาชีพส่วนใหญ่ การปลูกมะนาว กล้วย  และปลูกผักสวนครัว ต้องพึ่งพายากำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง ปุ๋ยและสารเคมี ต่างๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงมาก อีกทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมี ก็เข้ามามีบทบาทค่อนข้างเยอะเกษตรกรส่วนใหญ่เลยเริ่มไม่ค่อยรู้จักความพอเพียง เพราะมุ่งเห็นแต่ผลกำไร ต้องการให้ได้ผลผลิตมาก ลืมมองย้อนถึงต้นทุนที่สูงตามไปด้วย  หลังจากที่ ได้เข้าร่วมอบรมและเป็นสมาชิก   ในหลายๆ โครงการกับทางสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชน  ทำให้ได้รับความรู้ต่างๆ มากมาย จึงนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ วิธีการทำปุ๋ยหมักให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ เพื่อเป็นการลดต้นทุน ลดรายจ่ายและสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมขน ต่อไป

  •     เอาทุกอย่างนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กพอประมาณคลุกให้เข้ากันใส่ในภาชนะที่เราเตรียมไว้แล้วใช้ พ.ด.2 แช่น้ำไว้ประมาณ 5 นาที น้ำที่แช่ พ.ด.2 ใช้น้ำ ๑๐ ลิตร แล้วเทลงไปในภาชนะที่ใส่ผลไม้แล้วเติมน้ำพอท่วม ปิดฝาไว้และให้หมั่นคนทุกวัน 30-40 วัน นำมาฉีดพ่นในแปลงมันสำปะหลังได้ทุก ๆ 10-15 วัน/ครั้ง ใช้ในอัตรา         3-4 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร วัชพืชฉีดพ่นกับพื้นดินก็ได้                                                            .           เทคนิค หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้



    เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี



    1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติกหรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป



    2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่างๆขึ้นเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทนเป็นต้น



    3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น

  • ความร่วมแรงร่วมใจ การรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม 

  • 1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้



               2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที



               3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก     

  • -
  • 10 ปี ในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ