กลับไปหน้าค้นหา

นายสำราญ บุญมา

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 62 หมู 7 ตำบล : เขากระปุก อำเภอ : ท่ายาง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

ข้าวหลาม เป็นอาหารพื้นบ้านที่ทำกินทำขายทั่วไป เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งได้เรียนรู้จากบรรพบุรุษมาเป็นเวลานาน เพื่อสืบทอดมรดกภูมิปัญญาการเผาข้าวหลาม และสามารถสร้างรายได้เป็นอาชีพหลักซึ่งมีรายได้ดี ทำให้ฐานะความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น


ความสำเร็จ :

          การใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต เลือกสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สะอาดปลอดภัย                                   


ความชำนาญ : ข้าวหลาม


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ข้าวหลาม เป็นอาหารพื้นบ้านที่ทำกินทำขายทั่วไป เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งได้เรียนรู้จากบรรพบุรุษมาเป็นเวลานาน เพื่อสืบทอดมรดกภูมิปัญญาการเผาข้าวหลาม และสามารถสร้างรายได้เป็นอาชีพหลักซึ่งมีรายได้ดี ทำให้ฐานะความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

  • ส่วนผสม



    ข้าวเหนียว       ๖        กิโลกรัม          มะพร้าว   ๗      ลูก



    น้ำตาลทราย     ๔        กิโลกรัม          ถั่วดำ      ๑      ถ้วย



    เกลือป่น           ๒        ช้อนโต๊ะ



    วิธีทำ



    -แช่ข้าวเหนียว ๖ ชั่วโมง นำข้าวเหนียวที่แช่ไว้มาเคล้ากับถั่วดำ แล้วนำไปใส่ในกระบอกข้าวหลาม



    -คั้นกะทิให้ได้ ๑ ลิตร แล้วใส่น้ำตาลทราย เกลือป่น คนให้เข้ากัน แล้วนำไปหยอดในกระบอกข้าวหลาม



    -นำไปเรียงที่เตาเผา ใช้เวลาเผานาน ๒ ชั่วโมง สุกแล้วนำไปขาย



                 เทคนิค/เคล็ดลับในการทำข้าวหลาม



    - การใส่ข้าวลงในกระบอกไม้ไผ่ ควรจะกระแทกกระบอกเบาๆ เพื่อให้ข้าวเกาะอยู่รวมกันและแน่นเต็มกระบอก



    ใส่กะทิลงไปในกระบอกข้าวหลามที่ละน้อย เพื่อไล่ฟองอากาศออกมาให้หมด จนกระทั่วน้ำกะทิท่วมข้าว และ ควรทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง เพื่อให้ข้าวได้ดูดซับน้ำกะทิไว้ เพื่อให้ได้ข้าวหลามที่มีรสชาติอร่อย

  •           การใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต เลือกสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สะอาดปลอดภัย                                   

  • 1. ข้าวเหนียวที่ใช้ต้องเป็นข้าวเหนียวเม็ดยาว ใช้ข้าวเหนียวที่หุงแล้วมีความอ่อนนุ่มไม่แข็งเช่นข้าวเหนียวตราดอกบัว ข้าวเหนียวเขี้ยวงู



    2.มะพร้าวที่ใช้ต้องเป็นมะพร้าวที่มีความมัน เช่นมะพร้าวใต้เกาะสมุยแต่มีราคาแพงแต่จะทำให้ข้าวหลามหอมและมันกำลังดี



    3.ไม้ไผ่ที่ใช้เผาข้าวหลามต้องเป็นไม้ไผ่ที่อ่อนหรือปานกลางไม่เป็นไม้ไผ่แก่



    4.การเผาข้าวหลามไม่ใช้ไฟแรงต้องใช้ไฟครุเพราะจะได้อุณหภูมิสม่ำเสมอและกลับข้าวหลามเป็นระยะ

  • -
  • 15 ปี ในการทำข้าวหลาม