กลับไปหน้าค้นหา

นายประสาท นวลจันทร์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 30/1 หมู 7 ตำบล : วังไคร้ อำเภอ : ท่ายาง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ข้าพเจ้ามีความรู้ ทักษะ ด้านการปลูกกระหล่ำดอก ซึ่งได้รับการเรียนรู้ มาจากพ่อแม่ และมีการศึกษาเพิ่มเติมการหนังสือต่างๆ สามารถความรู้มาปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ  และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนทั่วไปได้


ความสำเร็จ :

1. ความตั้งใจในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว



2. มีองค์ความรู้ในการเลี้ยงปลูกกะหล่ำดอก


ความชำนาญ : การปลูกกระหล่ำดอก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ข้าพเจ้ามีความรู้ ทักษะ ด้านการปลูกกระหล่ำดอก ซึ่งได้รับการเรียนรู้ มาจากพ่อแม่ และมีการศึกษาเพิ่มเติมการหนังสือต่างๆ สามารถความรู้มาปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ  และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนทั่วไปได้

  • การเตรียมปลูกกะหล่ำดอก



                                 กะหล่ำดอกค่อนข้างเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ค่อนข้างเหนียว แต่ต้องมีการเตรียมดินที่ดีพอและสามารถระบายน้ำได้ ดินทีค่อนข้างเหนี่ยวจะทำให้หัวแน่น น้ำหนักดี ซึ่งทำให้ผลผลิตสูง เนื่องจากดินเหนียวจะอุ้มน้ำได้ดี ทำให้กะหล่ำดอกเจริญเติบโตได้ดี สม่ำเสมอตลอด หากเป็นดินร่วนจะมีผลกระทบกระเทือนเนื่องจากทำให้ขาดน้ำที่เพียงพอ อาจทำให้ดอกหลวม น้ำหนักไม่ดี



                                 ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ใช้ปลูกควรมีสมบูรณ์ปานกลาง หากดินดีมากเกินไปจะทำให้กะหล่ำดอกเจริญทางใบมาก ดอกจะเล็กลง หากดินไม่ดีก็จะทำให้โตช้า หรืออาจทำให้หัวไม่โตเต็มที่ และกะหล่ำดอกนั้นต้องการน้ำตลอดในช่วงของการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในต้องสร้างดอก จะขาดน้ำไม่ได้เลย



                                 ความเป็นกรดด่างของดินจะต้องอยู่ที่ประมาณ 6.0-6.8 และจะต้องได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตที่ดีอยู่ที่ประมาณ 15.5-18.3 องซาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้มีใบขึ้นแซมดอกออกมา ซึ่งจะทำให้ดอกไม่แน่น หากปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ควรให้อุณหภูมิอยู่ที่ระดับ 14-20 องศาเซลเซียส และหากการปลูกในระยะแรกอุณหภูมิต่ำใกล้ 0 องศาเซลเซียส จะทำให้ตาของยอดเสียและจะทำให้กะหล่ำดอกไม่ยอมสร้างดอกขึ้นมา



                       การปลูกและการดูแลกะหล่ำดอก



                                 เริ่มต้นโดยการเตรียมดินโดยมีหลักเกณฑ์ในการเตรียมดินเหมือนกับกะหล่ำปลี แต่ควรให้มีหน้าดินลึกกว่ากะหล่ำปลีเล็กน้อย หากเป็นพื้นที่ลุ่มควรยกร่องและปลูกบนสันร่อง กะหล่ำดอกพันธุ์เบาจะทนความเค็มของดินได้ไม่ดี



                                 การปลูกมักทำโดยการย้ายกล้า และจะต้องทำด้วยความระมัดระวังมาก เมื่อกล้าในแปลงอายุประมาณ 6 สัปดาห์ ควรทำการย้ายกล้าไปปลูกให้หมด ไม่ควรทิ้งกล้าให้อายุมากกว่านี้ ส่วนอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ในแปลงกล้าแต่ละแปลงควรอยู่ที่ประมาณ 35-45 กรัม ต่อขนาดพื้นที่ 3-4 ตารางเมตร



                                 สำหรับระยะห่างของกล้าที่นำไปปลูกในแปลงแต่ละแปลงควรเว้นระยะห่างประมาณ 50-75 เซนติเมตร ส่วนการเพาะกล้า การย้ายกล้า และการปลูกก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกกะหล่ำปลี หลังจากปลูกควรให้น้ำให้ดินชื้นเสมอ อาจใช้ฟางคลุมเพื่อลดการระเหยของน้ำจากหน้าดินก็ดี ความต้องการปุ๋ย กะหล่ำดอกต้องการปุ๋ยไนโตรเจนและพบว่าในรูปของ แอมโมเนียมไนเตรดและยูเรีย จะเพิ่มผลผลิตได้ดี ปริมาณของไนโตรเจนต้องการประมาณ 32.5 กิโลกรัม / ไร่ ส่วนฟอสฟอรัสต้องการประมาณ 13 กิโลกรัม / ไร่ และโปแตสเซียมประมาณ 41.1 กิโลกรัม / ไร่ ซึ่งถ้าให้ปุ๋ยเพียงพอในระดับนี้จะทำให้ได้ผลผลิตประมาณ 8,100 กิโลกรัม / ไร่ เลยทีเดียว หากใช้ปุ๋ยผสมก็มักนิยมใช้สูตร 13:13:21 หรือ 14:14:21 ในอัตราประมาณ 50-100 กิโลกรัม / ไร่ โดยใส่ร่วมกับปุ๋ยยูเรียด้วย การใส่แบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกตอนเตรียมดินก่อนปลูกและเมื่อหลังจากย้ายกล้าได้ 15 วัน โดยโรยข้างๆ แถวของกะหล่ำดอก และพรวนดินกลบ การพรวนดินจะช่วยกำจัดวัชพืชในระยะแรกด้วย แต่ต้องระวังมิให้รากได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก



                       การคลุมดอก เมื่อกะหล่ำดอกเริ่มมีดอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตรแล้ว ต้องรวบในบนๆ ห่อดอกหลวมๆ แล้วใช้เชือกมัดไว้ประมาณ 3-7 วัน ก็จะตัดดอกได้ สาเหตุที่ต้องทำดังนี้เพื่อให้ดอกกะหล่ำไม่ถูกแสงแดดและจะทำให้มีสีขาว เป็นที่ต้องการของตลาด หากปล่อยให้ดอกกะหล่ำโดนแสงแดด จะมีสีเหลือง ในปัจจุบันมีกะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะใบห่อดอก ซึ่งจะทำให้ลดแรงงานในการคลุมดอกได้มาก



             



              การเก็บเกี่ยวกะหล่ำดอก



                       การเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวในตอนที่ดอกโตเป็นก้อนแน่น เพราะหากเก็บล่าช้ากว่านั้น จะทำให้ดอกยืดตัวและหลวม สำหรับพันธุ์เบาจะให้ดอกขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร พันธุ์หนักหากสมบูรณ์ดีจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 30 เซนติเมตร การตัดจากแปลงให้ใช้มีดตัดลำต้นโดยให้มีใบหุ้มดอกมาด้วยสัก 3 ใบ เพื่อห่อหุ้มกันกระทบกระเทือนดอกในขณะขนส่งดอกจะได้ไม่ช้ำ การบรรจุมักบรรจุลงในเข่งไม้ไผ่ หากดอกกะหล่ำไม่มีใบหุ้มติดมา จะบรรลุลงในกล่องกระดาษที่รองด้วยกระดาษฝอย เพื่อป้องกันดอกช้ำเสียหาย



                       หลังจากเก็บเกี่ยวควรส่งตลาดโดยเร็ว เนื่องจากดอกกะหล่ำมักมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนสีจากสีขาวนวลเป็นเหลืองซีด หรือเหลืองคล้ำ นอกจากนั้นอาจมีการหลวมตัวของดอก และการสูญเสียเสียน้ำหนักด้วย

  • 1. ความตั้งใจในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว



    2. มีองค์ความรู้ในการเลี้ยงปลูกกะหล่ำดอก

  • -
  • -
  • -