กลับไปหน้าค้นหา

นายชวนชื่น บุญเดช

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 161 หมู 4 ตำบล : บ้านช้าง อำเภอ : สองพี่น้อง จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปริญญาตรี
ประวัติ :

มีอาชีพเลี้ยงกุ้ง  ต้องใช้นำ้หมักปรับสภาพน้ำอยู่ตลอดเวลา  ซื้อตามท้องตลาดมีราคาสูง  จึงคิดทำขึันเอง


ความสำเร็จ :

มองเห็นและให้ความสำคัญเรื่องงการลดต้นทุนการผลลิต



 


ความชำนาญ : น้ำหมักชีวภาพ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • มีอาชีพเลี้ยงกุ้ง  ต้องใช้นำ้หมักปรับสภาพน้ำอยู่ตลอดเวลา  ซื้อตามท้องตลาดมีราคาสูง  จึงคิดทำขึันเอง

  •  ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

              วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

               ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

               ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

              ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืช ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้

              นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ" เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

  • มองเห็นและให้ความสำคัญเรื่องงการลดต้นทุนการผลลิต



     

  • ข้อระวังในการใช้  ต้องใช้ตามปริมาณที่กำหนด หากเหลือควรเก็บในตู้เย้น

  • มีผลกำไรมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิต

  • 2 ปี