กลับไปหน้าค้นหา

นางสุนันท์ ทองรอด

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 27/1 หมู 5 ตำบล : เขากระปุก อำเภอ : ท่ายาง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

แรกเริ่มเลี้ยงหมูหลุม เนื่องจากเศษอาหาร เศษผักที่เหลือจากครัวเรือน เห็นว่าไม่รู้จะเอาไปทำอะไร จะทิ้งไปก็เสียประโยชน์  จึงนำไปเป็นอาหารหมู เป็นการลดต้นทุนการซื้ออาหาร และก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงยึดเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับครอบครัว เมื่อเลี้ยงแล้วได้ผลดีจึงขยายผลสู่เพื่อนบ้าน


ความสำเร็จ :

การขยัน พอประมาณ   


ความชำนาญ : หมูหลุม


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • แรกเริ่มเลี้ยงหมูหลุม เนื่องจากเศษอาหาร เศษผักที่เหลือจากครัวเรือน เห็นว่าไม่รู้จะเอาไปทำอะไร จะทิ้งไปก็เสียประโยชน์  จึงนำไปเป็นอาหารหมู เป็นการลดต้นทุนการซื้ออาหาร และก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงยึดเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับครอบครัว เมื่อเลี้ยงแล้วได้ผลดีจึงขยายผลสู่เพื่อนบ้าน

  • โรงเรือนหมูหลุม



    ๑. ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น โครงไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคา ลักษณะของคอกต้องมีลักษณะโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรให้อากาศภายนอกเข้าไปในโรงเรือนมาก แล้วระบายออกไปทางด้านบน



    ๒. ขนาดคอกคำนวณจากอัตราส่วน สุกร ๑ ตัว ต่อพื้นที่ ๑.๒ ตารางเมตร (ขนาด ๒x๓ เมตร เลี้ยงได้ ๕ ตัว) สำหรับขนาดคอกสามารถยืดหยุ่นได้ตามพื้นที่ 



    การเตรียมพื้นคอก (หลุม)



    ๑. ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก ๔๐ เซนติเมตร



    ๒. ก่อกำแพงอิฐบล็อกหรือใส่แผ่นไม้ กั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุม   สูงจากพื้นประมาณ ๑ ฟุต



    ๓. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย แกลบ มูลสัตว์แห้ง รำข้าว ดิน เกลือ ผสมสารจุลินทรีย์ อี.เอ็ม ๒ ช้อนโตะ ละลายน้ำ ๑๐ ลิตร รดให้ทั่วพอชุม ชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา ๑ ฝ่ามือ



    ๔. ทิ้งไว ๗ วัน จึงนำหมูลงเลี้ยง



    การจัดการเลี้ยงดู



    ๑. การเลี้ยงในระยะ ๑ เดือนแรก อาหารเป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด ผสมกับรำข้าว ในอัตราส่วน อาหาร ๑ สวน รำ ๓ สวน ให้กินเป็นเวลา เช้า กลางวัน เย็น โดยอัตราส่วนนี้ให้อยู่ในระยะ ๑๕ วันแรกที่เลี้ยง หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จรูปลง จนถึงครบ ๑ เดือน ไม่ต้องใช้อาหารสำเร็จรูปต่อไป   



    ๒. การเลี้ยงระยะเดือนที่สองจนถึงจำหน่าย ใช้อาหารผสมพวกรำ ปลายข้าว และให้พืชผักสีเขียว          ๑ ใน ๓ ของอาหารที่ให้ เช่น หญ้าสด ต้นกล้วย มะละกอ วัชพืชที่หมูชอบ เศษผักหรือผักต่างๆ ในท้องถิ่น



    ๓. น้ำดื่มให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร อัตรา ๒ ช้อนโต๊ะต่อน้ำ ๑๐ ลิตร



    ๔. ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่นเหม็น และทำให้เกิดกลิ่นหอมจูงใจให้หมูขุดคุ้ยเป็นการกลับหน้าดิน ช่วยให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท เกิดจุลินทรีย์มากมาย



    ๕. หากขี้เลื่อยหรือแกลบยุบตัวลงให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม ส่วนระยะการเลี้ยงนับแต่วันที่เริ่มนำสุกรลงเลี้ยงจนถึงจำหน่าย ใช้ระยะเวลาประมาณ ๔-๕ เดือน ไดน้ำหนักประมาณ ตัวละ ๘๐-๑๐๐ กก.

  • การขยัน พอประมาณ   

  • -ควรรดน้ำหมักชีวภาพที่บริเวณพื้นคอกเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นและแมลงวัน วันละ 1 ครั้ง



    -ควรผสมน้ำหมักชีวภาพในอาหารสัตว์และน้ำทุกครั้งที่ให้อาหารหรือน้ำ

  • -
  • 10  ปี ในการเลี้ยงหมูหลุม