กลับไปหน้าค้นหา

นายชูชีพ ผ่องดี

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 267 หมู 5 ตำบล : ท่าไม้รวก อำเภอ : ท่ายาง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ข้าพเจ้ามีความรู้ ทักษะ ด้านการปลูกพริก ซึ่งได้รับการเรียนรู้ มาจากพ่อแม่ และมีการศึกษาเพิ่มเติมการหนังสือต่างๆ สามารถความรู้มาปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ  และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนทั่วไปได้


ความสำเร็จ :

1. ความตั้งใจในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว



2. ลดต้นทุนด้านอาหารในภาคครัวเรือน



3. มีองค์ความรู้ในการปลูกพริก



4. มีน้ำภาคการเกษตรที่เพียงพอ


ความชำนาญ : การปลูกพริก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ข้าพเจ้ามีความรู้ ทักษะ ด้านการปลูกพริก ซึ่งได้รับการเรียนรู้ มาจากพ่อแม่ และมีการศึกษาเพิ่มเติมการหนังสือต่างๆ สามารถความรู้มาปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ  และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนทั่วไปได้

  • การปลูก



                       การเพาะกล้า



                                 การปลูกพริกจำเป็นต้องเลือกพันธุ์พริกที่ต้องกับความต้องการบริโภคหรือตามความต้องการของตลาด ซึ่งอาจต้องพิจารณาความนิยม และราคาเป็นสำคัญ เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกหวาน เป็นต้น



                       การเพาะเป็นขั้นแรกของการเริ่มปลูก ซึ่งจำเป็นต้องเพาะกล้าในแปลงเพาะหรือกะบะเพาะชำเพื่อให้ได้ต้นกล้าอ่อนก่อนย้ายออกปลูกในแปลงปลูก โดยนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำไว้ 1 คืน และวางในร่ม 1-2 วัน พร้อมทำการเพาะตามขั้นตอน ดังนี้



                                 – เตรียมดินเพาะหรือแปลงเพาะด้วยการผสมดินกับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น มูลสัตว์ แกลบ ขี้เถ้าแกลบ ขุยมะพร้าว เป็นต้น ในอัตราส่วนระหว่าดินกับวัสดุ 2:1



                                 – แปลงเพาะอาจเตรียมในแปลงดินที่ว่าง โดยการยกร่องแปลงสูง 20-30 เซนติเมตร หากเพาะในแปลงให้คลุกดินกับวัสดุในแปลง แต่หากเพาะในกะบะให้เตรียมด้านนอกก่อน



                                 – การเพาะในแปลงให้หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตรา 30 กรัม/ตารางเมตร



                                 – การเพาะในกะบะเพาะให้หยอดเมล็ดพันธุ์ 3-4 เมล็ด/หลุม ขึ้นอยู่กับขนาดหลุมกะบะ พร้อมโรยดินกลบเล็กน้อย เมื่อกล้าโต 5-10 เซนติเมตร ให้ถอนเหลือหลุมละต้น



                                 – หลังการหว่านหรือหยอดเมล็ดให้รดน้ำให้ชุ่ม และรดน้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง



                       การเตรียมดิน



                       แปลงที่ใช้ปลูกควรไม่เสี่ยงต่อน้ำท่วม และสามารถระบายน้ำได้ดีหากฝนตก ซึ่งให้เตรียมแปลง ดังนี้



                                 – หากเป็นแปลงใหม่ ควรไถตากดินพร้อมกำจัดวัชพืช นาน 1 สัปดาห์



                                 – ทำการหว่านปุ๋ยคอกในอัตรา 2-3 ตัน/ไร่ หากดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาว 100-200 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมไถกลบยกร่องแปลงสูง 20-30 เซนติเมตร กว้าง 40-60 เซนติเมตร



                                 – แปลงกว้างขนาด 30-50 สำหรับปลูกแถวเดี่ยว แปลงกว้าง 80-100 สำหรับปลูกแถวคู่ ขึ้นอยู่กับทรงพุ่มของแต่ละพันธุ์



                                 – ปรับระดับแปลง พร้อมกำจัดวัชพืช และตากดินพร้อม 2-3 วัน



                       วิธีการปลูก



                       เมื่อต้นกล้ามีอายุ 30-40 วัน สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีใบจริง 5-7 ใบ และให้งดน้ำต้นกล้า 2-3 วันก่อนย้อยปลูก โดยมีขั้นตอนปลูก ดังนี้



                                 – ขุดหลุมในระยะห่างระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับทรงพุ่มของแต่ละพันธุ์



                                 – นำกล้าที่ถอนเตรียมไว้ลงหลุมปลูก พร้อมกลบดินให้แน่นพอประมาณ



                                 – รดน้ำให้ชุ่ม และรดทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง



    สวนพริก



                       การดูแลรักษา



                                 – เมื่อกล้าตั้งต้นได้ประมาณ 1-2 อาทิตย์ ให้คลุมแปลงรอบโคนต้นพริกทั้งหมดด้วยผ้าพลาสติกหรือฟางข้าว



                                 – การให้น้ำควรให้ทุกวันในระยะแรก 1-2 ครั้ง และวันเว้นวันในช่วงผลแก่



                                 – การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่ ทุก 3 เดือน ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 14-14-21 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ และระยะออกดอกให้ใส่สูตร 12-12-24 อัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่



                                 – การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดทุกๆ 1 เดือน โดยเฉพาะบริเวณรอบโคนต้น



                       การเก็บผลผลิต



                                 การเก็บผลพริกจะเริ่มเก็บเมื่อพริกเริ่มเปลี่ยนสี ขึ้นกับสายพันธุ์ที่ปลูก โดยทั่วไปพริกจะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 2-3 เดือน หลังย้ายปลูกในแปลง

  • 1. ความตั้งใจในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว



    2. ลดต้นทุนด้านอาหารในภาคครัวเรือน



    3. มีองค์ความรู้ในการปลูกพริก



    4. มีน้ำภาคการเกษตรที่เพียงพอ

  • -
  • -
  • -